ไม่มีหมวดหมู่

Accelerometer calibration

Accelerometer calibration and mounting effect Transducer คือ อุปกรณ์ที่แปลงสัญญาณข้อมูลจากสัญญาณที่ตรวจจับได้ให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า หรือเมื่อมีการจำแนกหน้าที่หรือระบุการรับสัญญาณ เราอาจจะเรียกว่า Sensor ซึ่ง Transducer ที่นิยมแพร่หลายสำหรับใช้วัดค่า Vibration อย่างนึงก็คือ Accelerometer ซึ่งมีส่วนประกอบ ตามภาพ วิธีการติดตั้งหัววัด Transducer กับอุปกรณ์ เป็นอีกปัจจัยนึงที่ส่งผลลัพธ์ในการวัดแรงสั่นสะเทือน ซึ่งวัสดุในการ Mounting แต่ละประเภท จะมีการตอบสนองความถี่ หรือทำให้เกิด Resonance ที่แตกต่างกัน ตัวอย่างการ Mounting Sensor ในแบบต่างๆ ดังนั้นในการเลือกการ Mounting ที่เหมาะสม จะช่วยในเรื่องของความแม่นยำในการวัดได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการเชื่อมต่อระหว่าง Sensor กับวัตถุที่ต้องการทำการทดสอบ และพื้นผิวจะต้องเป็นพื้นผิวที่เรียบที่สุด ไม่ควรจะมีความยืดหยุ่นระหว่าง Sensor และผิวทดสอบ ในกรณีที่ต้องใช้วิธีการ Mounting แบบ Handheld ซึ่งวิธีนี้เหมาะกับการวัดในลักษณะที่เป็น Vibration survey หรือควรจะเลือกช่วงการใช้งานหรือใช้ Filter ที่ไม่เกิน […]

Accelerometer calibration Read More »

การดูดซับเสียงคืออะไร

การดูดซับเสียง การดูดซึมหมายถึงกระบวนการที่วัสดุ โครงสร้าง หรือวัตถุเข้ามา พลังงาน เมื่อไรที่ คลื่น ตรงข้ามกับ การสะท้อน  พลังงาน ส่วนหนึ่ง ของพลังงานที่ดูดซับจะถูกเปลี่ยนเป็น ความร้อน และส่วนหนึ่งถูกส่งผ่านวุตถุที่ดูดซับ พลังงานที่เปลี่ยนเป็นความร้อนได้รับการกล่าวขานว่า ‘สูญเสีย’ (เช่น สปริง แดมเปอร์ เป็นต้น) การดูดซับเสียงคืออะไร? เมื่อคลื่นเสียงสัมผัสกับพื้นผิวของวัสดุ ส่วนหนึ่งของคลื่นจะสะท้อนกลับ ส่วนหนึ่งจะแทรกซึม และส่วนที่เหลือจะดูดซับโดยตัววัสดุเอง สูตรดูดซับเสียง อัตราส่วนของพลังงานเสียงที่ดูดซับ (E) ต่อพลังงานเสียงที่ตกกระทบ (Eo) เรียกว่าสัมประสิทธิ์การดูดซับเสียง (α) อัตราส่วนนี้เป็นตัวบ่งชี้หลักที่ใช้ในการประเมินคุณสมบัติการดูดซับเสียงของวัสดุ สามารถใช้สูตรเพื่อแสดงสิ่งนี้ได้ α (สัมประสิทธิ์การดูดกลืน) =E (พลังงานเสียงที่ดูดซับ)/ Eo (พลังงานเสียงของเหตุการณ์) ในสูตรนี้: α คือสัมประสิทธิ์การดูดกลืนเสียง E คือพลังงานเสียงที่ดูดซับ (รวมถึงส่วนที่ซึมผ่าน) Eo เป็นพลังงานเสียงที่เกิดขึ้น โดยทั่วไป ค่าสัมประสิทธิ์การดูดกลืนเสียงของวัสดุจะอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 ยิ่งตัวเลขมีค่ามากเท่าใด คุณสมบัติในการดูดซับเสียงก็จะยิ่งดีขึ้นเท่านั้น

การดูดซับเสียงคืออะไร Read More »

Frequency Response Function (FRF) และความถี่ธรรมชาติ สำหรับโครงสร้าง Structural Analysis

Frequency Response Function (FRF) และความถี่ธรรมชาติ สำหรับโครงสร้าง Structural Analysis ในการวิเคราะห์การสั่นสะเทือน สำหรับโครงสร้างในการหาความถี่ธรรมชาติ (Natural Frequency) คือการสร้างแรงที่มากระทำต่อวัตถุ (Excitation) โดยใช้อุปกรณ์เครื่องเขย่า (Shaker) หรือใช้ค้อนที่มี Sensor ติดตั้งอยู่ภายใน หรือ Hammer instrument เป็นตัวให้แรง และจะต้องมี Sensor ที่รับข้อมูลขณะที่มีการส่งแรงผ่านมายังโครงสร้าง โดยที่นิยมใช้ เทคนิค Frequency Response Function (FRF) ในการหาความถี่ธรรมชาติ ในกระบวนการนี้สามารถเห็นถึงค่าของ Shape mode และในไปวิเคราะห์ Modal analysis เพื่อดูการเคลื่อนไหวในความถี่ที่ตอบสนองกับวัตถุ โดยอุปกรณ์ทั้งหมดทางวิศวกรอคูสติกส์ของ Geonoise ได้ใช้เครื่องเก็บข้อมูลของ m+p International รุ่น Vipilot โดยที่ Software ของ m+p Analyzer มีฟังก์ชั่น FRF และ

Frequency Response Function (FRF) และความถี่ธรรมชาติ สำหรับโครงสร้าง Structural Analysis Read More »

อะคูสติกในสถานพยาบาล

ความสำคัญของอะคูสติกในสถานพยาบาล อะคูสติกในสถานพยาบาล ความสำคัญของอะคูสติกในสถานพยาบาล เสียงรบกวนในลักษณะการดูแลสุขภาพมีผลต่อผู้ป่วย, ผู้ดูแล, และผู้มาเยี่ยม การรบกวนการนอนหลับ และความดันเลือดสูง ทั้ง 2 ตัวอย่างนี้ เกิดขึ้นในผู้ป่วย, ในผู้ดูแลบางคน, ความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ และความเหนื่อยหน่ายเป็นผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางเสียงที่ไม่ดี มีหลักฐานบางอย่างที่แสดงออกมาเป็นเสียงรบกวนในแง่ลบต่อผู้ป่วยทางสรีรวิทยา หรือต่อสุขภาพนั้นเอง ยกตัวอย่างในกรณีศึกษา ผู้ป่วยท่านหนึ่งอยู่ในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานานขึ้นหลังจากการผ่าตัดต้อกระจกในช่วงระยะเวลาหนึ่งเมื่อมีเสียงรบกวนระดับสูงเนื่องจากการก่อสร้าง และอีกหนึ่งตัวอย่างที่พบเจอได้เมื่อระดับเสียงรบกวนเพิ่มขึ้นกว่า 60 dBA  ผู้ป่วยจากการผ่าตัดจะมีการใช้ยามากขึ้น นอกจากจะมีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วย สภาพแวดล้อมทางเสียงที่ไม่ดีสามารถมีผลกระทบต่อการรับรู้ความเป็นส่วนตัว, ความสะดวกสบาย, ความปลอดภัย และ การรักษาความปลอดภัย สำหรับผู้ป่วยและครอบครัวของพวกเขา โดยทั่วไปผู้ป่วยพอใจมากขึ้นกับการดูแลของเจ้าหน้าที่เมื่ออยู่ภายใต้การดูแลในสภาพแวดล้อมเสียงที่ดี เสียงรบกวนยังคงมีผลที่ตามมาสำหรับผู้ดูแล ซึ่งเป็นสาเหตุในการกำเนิดความเครียดให้กับผู้ดูแล เหล่าพนักงานในโรงพยาบาล และอาจรบกวนความสามารถในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการศึกษาแสดงให้เห็นว่าความเครียดที่เกิดจากเสียงนั้นเกี่ยวข้องกับความเครียด และการรบกวนในเหล่าพยาบาล ในขณะที่การศึกษาอื่น ๆ พบว่ากรณีส่วนใหญ่ เสียงรบกวนไม่ได้ทำให้ประสิทธิภาพของวิสัญญีแพทย์ และศัลยแพทย์แย่ลงอย่างเห็นได้ชัด ผู้ตรวจสอบพบว่าเมื่อเสียงที่มากกว่า 77 dBA การสื่อสารด้วยคำพูดที่เป้นไปได้จะเพิ่มขึ้นเสียงของคนเดียว และในเวลาเดียวกัน การสื่อสารด้วยคำพูดจะลดลงถึง 23 เปอร์เซ็นต์   ประเด็นหลักของอะคูสติกที่ต้องการดูแลในโรงพยาบาล ประเด็นหลักที่ต้องการให้ความสนใจในสถานพยาบาลมีดังนี้ : ระดับเสียงรบกวน

อะคูสติกในสถานพยาบาล Read More »

บริการทดสอบเสียงและสั่นสะเทือนสำหรับระบบราง

บริการทดสอบเสียงและสั่นสะเทือนสำหรับระบบราง เสียงและสั่นสะเทือนสำหรับระบบรางรถไฟ Railway Noise and Vibration Geonoise Asia มีทีม Acoustic engineer ที่มีประสบการในการคำนวณ Simulation และงานตรวจวัดและทดสอบด้าน Acoustics and Vibrations สำหรับระบบราง โดยเครื่องมือที่ทันสมัย โดยเรามี Professional service ดังต่อไปนี้ Railway noise simulation (การคำนวณระดับเสียงรถไฟโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์) ในการประเมินผลกระทบทางเสียง หรือการออกแบบระบบควบคุมเสียงจากระบบรางที่ส่งผลต่อชุมชน การใช้แบบจำลองทางคณิตศาตร์ SoundPLAN เป็นอีกเครื่องมือนึงที่มีประสิทธิภาพ ทำให้เราสามารถคคากการณ์ได้และรู้ถึงแนวโน้มของเสียงที่ส่งผลกระทบมายังชุมชน โดยทางทีมวิศวกรของ Geonoise สามารถทำการคำนวณได้อย่างแม่นยำตามมาตรฐานสากล เช่น BUB:2018 – CNOSSOS-EU Rail:2015 – CoRN:1995 – FTA / FRA-HSGT: 2005 – Israeli Rail:2006 – Japan Narrow Gauge Railways:2008 –

บริการทดสอบเสียงและสั่นสะเทือนสำหรับระบบราง Read More »

เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือนเครื่องแรกของโลก

เครื่องมือวัดแรงสั่นสะเทือนที่อาจจะส่งผลกระทบต่ออาคาร เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือนเครื่องแรกของโลก เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือนเครื่องแรกของโลกถือกำเนิดขึ้นมาจากประเทศจีน สำหรับใช้ในการตรวจจับทิศทางที่เกิดแผ่นดินไหว โดยมีมังกรคาบลูกแก้วทั้งหมด 8 ทิศ ถ้าหากมังกรในทิศทางไหนที่คายลูกแก้วออกมาแสดงว่าเกิดแรงสั่นสะเทือนในทิศทางที่หัวมังกรได้หันไป แต่สำหรับปัจจุบันนี้ ในสภาวะเมืองที่มีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง และการรื้อถอนโครงการขนาดใหญ่ จำเป็นต้องมีเครื่องมือวัดแรงสั่นสะเทือนที่อาจจะส่งผลกระทบต่ออาคารข้างเคียง และเครื่องวัดแรงสั่นสะเทือนของ Profound VIBRA จากประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเชี่ยวชาญในด้านธรณีวิทยาในระดับชั้นนำของโลกได้มีเครื่องสำหรับ Vibration monitoring สามารถใช้งานได้ทั้งแบบเก็บข้อมูลแบบ Online และการแจ้งเตือนเมื่อมีระดับเสียงที่เกินค่ามาตรฐาน ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานของ ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 37 (พ.ศ. 2553)    เรื่อง กำหนดมาตรฐานความสั่นสะเทือนเพื่อป้องกันผลกระทบต่ออาคาร กำหนดเครื่องวัดความสั่นสะเทือนตามมาตรฐาน DIN 45669-1 การกำหนดค่ามาตรฐานความสั่นสะเทือนตาม DIN 4150-3 ประเภทของอาคาร 3 ประเภท ได้แก่ อาคารประเภทที่ 1 เช่น อาคารโรงงาน อาคารพาณิชย์ อาคารสาธารณะ อาคารขนาดใหญ่ เป็นต้น อาคารประเภทที่ 2 เช่น อาคารที่อยู่อาศัย อาคารชุด โรงพยาบาล สถานศึกษา

เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือนเครื่องแรกของโลก Read More »

กลไกการได้ยินและอันตรายของเสียงดัง

คนเราได้ยินเสียงจากคลื่นเสียง โดยคลื่นเสียงผ่านจากหูชั้นนอก เข้าไปสู่หูชั้นกลาง ผ่านกระดูกหู 3 ชิ้นและเข้าสู่หูชั้นใน บริเวณกระดูกหูชั้นกลางจะมีกล้ามเนื้อเกาะอยู่ ซึ่งเมื่อเสียงดังมากเกินไปผ่านเข้ามาจะมีกลไกป้องกันโดยกล้ามเนื้อจะหดตัวเพื่อช่วยลดระดับเสียงที่จะผ่านเข้าไปสู่หูชั้นใน หูชั้นในจะมีอวัยวะรูปก้นหอย (Cochlea) ซึ่งภายในบรรจุของเหลวไว้ และมีเซลล์ขน (Hair cell ) รับความรู้สึกสั่นสะเทือนและแปลงเป็นคลื่นประสาทส่งไปสมองเพื่อแปลความหมายเสียงที่ได้ยิน ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลจาก ทันโลกทันเหตุการณ์ (แพทยสภา) ด้วยค่ะ

กลไกการได้ยินและอันตรายของเสียงดัง Read More »