วิธีการวัดเสียงรบกวน

การวัดเสียงรบกวน

อะไรคือเสียงรบกวน

มาทำความเข้าใจกับคำว่า “ เสียงรบกวน ” และมีการประเมินค่าระดับการรบกวนของเสียงได้อย่างไร เสียงต้องดังเท่าไหร่เราถึงจะเรียกว่าเป็นเสียงรบกวนในบทความนี้จะสรุปให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น ถ้าเราลองค้นหาคำว่า มาตรฐานเสียงรบกวน หรือการวัดระดับเสียงรบกวน ก็จะพบกับแนวทาง หรือกฎหมายอยู่ 2 ฉบับ

ประกาศคณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 29 (พ.ศ. 2550) เรื่อง ค่าระดับเสียงรบกวน ลงวันที่ 29 มิถุนายน 2550 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนพิเศษ 98 ง วันที่ 16 สิงหาคม 2550)

ประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เรื่อง วิธีการตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐาน ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน การตรวจวัดและคำนวณระดับเสียงขณะมีการรบกวน การคำนวณค่าระดับการรบกวน และแบบบันทึกการตรวจวัดเสียงรบกวน พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 21 กันยายน 2565 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 266 ง วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565)  

ก็จะพบกับคำจำกัดความมากมายและสมการการคำนวณระดับเสียงรบกวนที่ดูยุ่งยากและมีเงื่อนไขสลับซับซ้อน ในการประเมินค่าระดับการรบกวน

ค่าระดับเสียงเท่าไหร่ถึงจะเรียกว่า ระดับเสียงรบกวน ?

ถ้าหาเราอ่านตามเอกสารของประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 29 เราจะเห็นว่า ให้ระดับเสียงรบกวนเท่ากับ 10 เดซิเบลเอ

หลักการของเรื่องเสียงรบกวนมันมีอยู่ว่า

ให้เอาระดับเสียงขณะมีการรบกวน ลบด้วย ระดับเสียงพื้นฐาน ถ้ามีค่าเกิน 10 dBA แสดงว่าเป็นเสียงรบกวน

ก็คือว่าให้ทำการตรวจวัดระดับเสียง ณ จุดที่เราได้รับการรบกวนจากเสียงนั้น เช่น เราใช้ชีวิตอยู่ในบ้านในห้องนอน และรู้สึกว่าได้รับการรบกวน ขณะที่เราใช้ชีวิตในห้องนอน ก็ให้ทำการตรวจวัดระดับเสียงขณะมีการรบกวนที่บริเวณห้องนอน และทำการวัดค่าระดับเสียงพื้นฐานตอนที่ยังไม่เกิดการรบกวน ณ จุดเดียวกันกับตอนที่มีเสียงรบกวน

ระดับเสียงพื้นฐาน

ก็คือระดับเสียงขณะที่ยังไม่เกิดการรบกวนใดๆ หรือสภาวะระดับเสียงที่เราใช้ชีวิตตามปกติ แต่ว่าโดยวิธีการวัดค่าระดับเสียงพื้นฐานนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในการประเมินระดับการรบกวน เพราะว่ามันได้มีรายละเอียดยิบย่อยอย่างนึงในข้อมูลเชิงสถิติที่เรียกว่าระดับ เปอร์เซนไทล์ ที่ 90 หรือ L90 ของเสียงขณะไม่มีการรบกวน ซึ่งต้องนำค่า L90 นี้มาประเมินด้วย

มาถึงจุดนี้ เราต้องมีข้อมูลอยู่จำนวน 3 ชุดข้อมูลในการประเมินเสียงรบกวนคือ

  1. ค่าระดับเสียงที่มีการรบกวน
  2. ค่าระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน
  3. ค่าเปอร์เซนไทล์ ที่ 90 ของระดับเสียงขณะที่ไม่มีการรบกวน L90

จากข้อมูล 3 ชุดนี้ ก็เกือบจะประเมินการรบกวนได้แล้ว แต่ยังมีปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างนึงที่ขาดไม่ได้เลยดังต่อไปนี้คือ

  1. ช่วงเวลาของการเกิดเสียงรบกวน กลางวัน 06:00 – 22:00 ยามวิกาล 22:00 – 06:00 ถ้ายามวิกาลให้บวกไป 3 dBA
  2. สถานที่ที่ต้องการความเงียบสงบ เช่น ศาสนสถาน โรงเรียน โรงพยาบาล ห้องสมุด ให้บวกไป 3 dBA
  3. ลักษณะของเสียง แหลมดัง กระแทก เสียงที่ทำให้เกิดความสั่นสะเทือน ให้บวกไป 5 dBA

บวกเข้าไปในช่วงที่มีการคำนวณขณะมีการรบกวน

จากที่บอกว่าจะพยามให้เข้าใจง่าย แต่เริ่มซับซ้อนขึ้นมาอีก แต่ความซับซ้อนยังไม่จบแค่นี้ ยังมีเรื่องของช่วงเวลาการเกิดเสียงอีก 2 กรณีคือ

  1. เสียงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนานกว่า 1 ชั่วโมง
  2. เสียงที่เกิดต่อเนื่องแต่ไม่ถึง 1 ชั่วโมง
  3. เสียงที่เกิดขึ้นเป็นช่วงๆน้อยกว่า 1 ชั่วโมง

เครื่องมือวัดระดับเสียงที่สามารถวัดค่าระดับเสียงรบกวนได้

ในประกาศฉบับปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2565 ระบุไว้ชัดเจนว่าเครื่องมือวัดเสียงที่จะสามารถวัดและประเมินค่าระดับการรบกวนจะต้องเป็นเครื่องวัดเสียงตามมาตรฐาน IEC61672-1 ที่มีระดับความแม่นยำ Class1 และต้องมีอุปกรณ์กำเนิดเสียงอ้างอิงที่เรียกว่า Sound calibrator ระดับ Class1 ร่วมด้วย และเครื่องมือวัดที่ใช้จะต้องมีการสอบเทียบตามรอบที่กำหนด โดยห้องปฏิบัติการสอบเทียบที่ได้มาตรฐาน หรือสามารถสอบย้อนกลับทางมาตรวิทยาไปยังหน่วยงานในระดับนานาชาติได้

ในการลงมือปฏิบัติตอยวัดเสียงผู้ตรวจวัดเสียงต้องสอบถามถึง ช่วงเวลาที่เกิดการรบกวน ลักษณะเสียงที่เกิดขึ้นว่าเป็นเสียงเกิดขึ้นแบบไหนเวลานานเท่าไร โดยในการเก็บตัวอย่างตามระยะเวลาของเสียงที่เกิดขึ้นก็จะสามรถแบ่งได้อีก ดังนี้

เสียงที่เกิดขึ้นต่อเนื่องนานากกว่า 1 ชั่วโมง ให้เก็บเก็บข้อมูล 1 ชั่วโมง

เสียงที่เกิดขึ้นต่อเนื่องไม่ถึง 1 ชั่วโมง ให้เก็บข้อมูลตั้งแต่เริ่มจนจบ

เสียงที่เกิดขึ้นเป็นช่วง แต่ไม่ถึง 1 ชั่วโมง เกิดหลายๆช่วง ให้เก็บข้อมูลตอนที่เกิดเสียง และนำมาเฉลี่ย

การตั้งเครื่องมือวัดเสียง ควรจะตั้ง ณ จุดที่ผู้ร้องเรียนได้รับการรบกวน หรือตั้งไมโครโฟนสูง 1.2-1.5 เมตร หากเป็นภายในอาคารในรัศมี 1 เมตร ห่างจากผนัง และภายนอกอาคารรัศมี 3.5 เมตร ห่างจากกำแพงหรือสิ่งที่จะทำให้เกิดการสะท้อน

วิธีการวัดเสียงรบกวน

จะเห็นได้ว่าการประเมินค่าระดับการรบกวนมีรายละเอียดอย่างมากมายเพื่อให้การประเมินนั้นมีความถูกต้องและเป็นธรรมที่สุดทั้งฝั่งผู้ที่ได้รับผลกระทบและฝั่งผู้กำเนิดเสียง เพราะฉนั้นบุคคลที่จะทำการวัดต้องศึกษาในขั้นตอนวิธีการอย่างมีความเข้าใจ และด้วยในกฎหมายปัจจุบันที่มีการกำหนดเรื่องเครื่องมือวัดที่มีความแม่นยำสูง จึงทำให้บุคคลทั่วไปไม่สามารถจัดหาเครื่องมือมาวัดเองได้อันเนื่องมาจากราคาเครื่องมือที่สูงมาก และส่วนใหญ่เครื่องมือวัดในระดับความแม่นยำสูงจะมีใช้ในหน่วยงานของรัฐ หรือจำเป็นต้องจ้างบริษัทผู้เชี่ยวชาญในการเข้าตรวจวัด

บทความเผยแพร่โดย Geonoise (THAILAND) Co.,Ltd.

แหล่งที่มา: https://www.geonoise.co.th/2023/10/30/การวัดเสียงรบกวน/