Topic: เสียงและความรู้ทั่วไป

Acoustic Camera เทคโนโลยีที่ใช้ในการระบุตำแหน่งที่มีเสียง Acoustic location 0

เทคโนโลยีที่ช่วยระบุหาตำแหน่งของการเกิดเสียงที่ช่วยให้เราเข้าถึงตำแหน่งหรือระบุจุดที่ต้องการทราบตำแหน่งของเสียงได้อย่างแม่นยำ

ช่วยในการระบุตำแหน่งของเสียง

ในพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ มีแหล่งกำเนิดเสียมากมาย หรือบริเวณที่เป็นสภาพแวดล้อมเป็นป่าเขา การระบุตำแหน่งของการเกิดเสียงเป็นไปได้ยากมาก ทาง Norsonic จึงได้มีการพัฒนาระบบ Array microphones โดยใช้หลักการ Acoustic Beampattern ในการระบุหาตำแหน่งเสียงที่เกิดขึ้น และซ้อนทับเข้ากับระบบภาพ โดยเมื่อเสียงตกกระทบไมโครโฟนจำนวน 128 ตัว ระบบประมวลผลสัญญาญจะแสดงเป็นภาพในรูปแบบ Real-time ขึ้นมาทันที

ตัวอย่างการตรวจหาตำแหน่งของแหล่งกำเนิดเสียงที่อยู่ภายในบริเวณที่ลุ่มหุบเขาที่มีระยะห่างออกไป 3 กิโลเมตร

เสียงที่เกิดขึ้นเป็นเสียงที่เกิดเพียงช่วงสั้นๆ ณ จุดที่ส่งกล้อง Acoustic Camera ซึ่งยากต่อการสั่งเกตุและการได้ยิน แต่ด้วยเทคโนโลยีของ Norsonic เราสามารถ Playback เพื่อฟังและดูจุดที่เกิดเสียงได้จากการบันทึกของตัว Acoustic Camera อีกทั้งเรายังสามารถฟังเสียงเฉพาะแหล่งกำเนิดนั้นโดยที่ทำการคัดเสียงที่ไม่ต้องการฟังออกไปด้วยระบบที่เรียกว่า Virtual Microphone

ตัวอย่างการคัดเสียงอื่นๆ ที่ไม่ต้องการได้ยิน เพื่อดูแหล่งกำเนิดเสียงอื่น ที่รองลงมา ทำให้เราเห็นตำแหน่งที่เราต้องการศึกษา เช่น กรณีที่มีเสียงรบกวนอื่นๆ อยู่ใกล้กับเราเช่น เสียงจากสัตว์ หรือนกที่ร้องอยู่พุ่มไม้ ที่อยู่ใกล้กับตัวกล้อง เราสามารถคัดเสียงนั้นออกเพื่อดูเสียงที่ต้องการศึกษาจริงๆได้ โดยใช้ Function Eraser ของระบบ Software ที่ดูได้แบบ Real-time ดังภาพตัวอย่าง

ในต่างประเทศนอกจากการใช้งานในเชิงเครื่องจักร หรือเสียงด้านสิ่งแวดล้อม ยังได้มีการนำ Acoustic Camera มาใช้ในงานกู้ภัย ค้นหาผู้คนสูญหายหรือ คนหลงป่า หาหน่วยลักลอบขนของหรือตัดไม้ในป่า หรือศึกษาติดตามสัตว์ป่าเชิงงานวิจัยด้าน Bio Acoustics

Applications

  • ระบุแหล่งกำเนิดเสียงที่ทำให้เกิดการรบกวน เช่น พื้นที่ก่อสร้าง อุปกรณ์ภายในงานอุตสาหกรรม
  • เสียงรบกวนจากสภาวะแวดล้อมในชุมชนเมือง
  • ระบุตำแหน่งที่กำเนิดเสียงในพื้นที่ที่ยากต่อการเข้าถึง เช่น หอกลั่น หอระบายความร้อน
  • ตรวจสอบประสิทธิภาพของการใช้มาตรการลดเสียงรบกวน
  • ใช้ในการหาแหล่งกำเนิดเสียงที่ผิดปกติในอุตสาหกรรมยานยนต์ ระบบราง อุตสาหกรรมการบิน
  • ใช้ในการตรวจสอบการไม่แน่นสนิทของผนังประตู หรือพาติชั่น Sound leaked
  • ตรวจหาผู้คน หรือสัตว์ป่า เครื่องจักรกำเนิดเสียง โดยใช้การตรวจจับตำแหน่งเสียง

ข้อดีคือ

  • ติดตั้งอุปกรณ์ง่าย สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว เพียง 2 นาทีสามารถทำงานได้เลย (ระบบ Array microphones แบบอื่นๆ ใช้เวลาหลายชั่วโมงในการ Setup)
  • Array microphones จำนวน 128 microphones ตัว ซึ่งเป็นจำนวณมาก และมีความแม่นยำในการระบุตำแหน่งสูงมาก (จำนวนไมโครโฟนเยอะการระบุตำแหน่งสามารถทำให้แม่นยำ)
  • ทำงานได้โดยคนเพียงคนเดียว พร้อม Software ที่แสดงผล Real time วิเคราะห์หน้างานได้ทันที ไม่ต้องนำข้อมูลไปประมวลผลเพื่อซ้อนข้อมูลภาพกับเสียงอีก
  • สามารถบันทึกข้อมูล และนำมาวิเคราะห์ย้อนหลังได้อย่างละเอียด ทั้งตำแหน่งของเสียงที่เกิด ระดับเสียง ความถี่เสียง และตัดเสียงรบกวนอื่นๆ ที่ไม่ต้องการออกได้ทั้งแบบ Real time และการนำมาวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลัง Post processing
  • Software ที่ง่ายต่อการใช้งาน และการแสดงผลที่เข้าใจง่าย โดยที่ผู้งานไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ในระบบ Digital Signal Processing ก็สามารถทำงานได้
  • การฝึกอบรมใช้งาน และการดูแล Support จากทีมงานวิศวกรของบริษัทตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย ซึ่งได้รับการถ่ายทอดความรู้โดยตรงจากผู้ผลิต

มลพิษทางเสียงทำลายชีวิตคอนโด 0

มลพิษทางเสียงทำลายชีวิตคอนโด

ปัจจุบัน ภาคอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก ปัจจัยหลักในการเลือกซื้อคอนโดฯที่ตอบโจทย์ มักเป็นเรื่องของทำเลที่ตั้ง วิวทิวทัศน์ ดีไซน์การตกแต่ง หรือสิ่งอำนวยความสะดวกและส่วนกลาง หารู้ไม่ว่า มีอยู่อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันและมักถูกมองข้ามก่อนการซื้อหรือลงทุนห้องชุดเสมอ นั่นคือ เรื่องของการกันเสียงรบกวน

ไม่ว่าคอนโดฯ จะอยู่ภายในใจกลางเมืองและสะดวกสบายแค่ไหน ก็คงหนีไม่พ้นความรำคาญจากเสียงจราจรหรือจากเพื่อนบ้าน

ในประเทศไทย ยังไม่มีกฎหมายโดยตรงกับการควบคุมเสียงรบกวนภายในห้องชุดอาคาร จึงยากที่จะมั่นใจว่าเราจะไม่ได้รับเสียงรบกวนจากห้องรอบๆ ได้จริง

หากสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบต้องถูกรบกวนด้วยเสียง เราจะพบเสียงรบกวนอยู่ 2 ลักษณะ คือ

แบบที่ 1: Airborne noise

ในคอนโดฯ มักพบในรูปแบบของเสียงบทสนทนาจากเพื่อนบ้านข้างห้อง เสียงเพลง เสียงทีวี เสียงพัดลมหรือแอร์ หรือจะเป็นเสียงกดชักโครกและเสียงอาบน้ำจากห้องข้างๆ นอกจากนี้ เสียงที่ดังมาจากด้านนอก เช่น เสียงจราจรจากถนนด้านล่าง เสียงจากโรงงาน เสียงจากการจัดแสดงงานกลางแจ้ง ก็เป็นประเภท airborne เช่นเดียวกัน

แบบที่ 2: Structural borne noise

เกิดจากการสั่นสะเทือนของโครงสร้าง ตัวอย่างง่ายๆ คือ เสียงที่เราได้ยินจากคนที่เดินไปมาชั้นบน เสียงจากการวางตุ้มน้ำหนักในยิม เสียงจากช่องชาร์ปของลิฟต์ หรือล่าสุดที่พบคือ เสียงจากการทำงานของระบบจอดรถอัตโนมัติ

ใบหูของมนุษย์ถูกออกแบบเพื่อดักจับรับเสียง ดังนั้น ในใจกลางเมืองที่คึกคักวุ่นวาย หากเราไม่ใส่ใจในเรื่องของเสียงรบกวน อาจส่งผลกระทบต่อการนอน สมาธิ และสุขภาพจิตในระยะยาวได้

ให้ความสำคัญกับการกันเสียงรบกวน

นอกจากเรื่องของตัวแบบดีไซน์อาคารแล้ว นักพัฒนาโครงการอสังหาฯควรคำนึงและรับผิดชอบถึงเรื่องการกันเสียงเข้าไปในช่วงการออกแบบและก่อสร้างคอนโดฯด้วย เนื่องจากการแข่งขันในตลาดสูง โครงการต่างๆ จึงต้องแข่งกันสร้างคอนโดฯให้ได้มากที่สุด โดยใช้งบน้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ แต่นั่นทำให้การกันเสียงรบกวนถูกละเลยไป

กำแพงคอนโดฯส่วนใหญ่ในปัจจุบันยังใช้คอนกรีตบล็อกมวลเบาหนา 10 – 12 cm ดังเช่นวัสดุในการสร้างกำแพงและพื้นเหมือนเมื่อสมัย 30 ปีก่อน ทำให้ผนังมีค่าประสิทธิภาพในการกันเสียง (STC: Sound Transmission Class) อยู่แค่ 40 dB

ในขณะเดียวกัน ฝั่งลูกบ้าน ผู้ซื้อหรือเช่าห้องชุด กลับตระหนักในเรื่องของเสียงรบกวนเพิ่มขึ้น เพราะต้องการรับความสะดวกสบายให้คุ้มค่ากับเม็ดเงินที่จ่ายไป

เมื่อเรื่องของเสียงรบกวนไม่ได้ถูกคำนึงตั้งแต่แรก นั่นทำให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง จนเกิดการร้องเรียนและต้องจ้างวานตรวจวัดเสียงรบกวน

เช็คให้ชัวร์ก่อนซื้อ

เราสามารถประเมินว่า โครงการคอนโดฯที่เราต้องการซื้อใส่ใจเรื่องการกันเสียงได้มากน้อยแค่ไหน โดยเริ่มจากการลองถามประเภทวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง เนื่องจากชนิดวัสดุที่ใช้สามารถบอกค่า STC ของกำแพงและผนังได้ และนักพัฒนาโครงการควรทำนายค่าการกันเสียงของอาคารตั้งแต่ขั้นตอนออกแบบ และจะดียิ่งกว่าถ้าในสัญญามีการระบุถึงเรื่องการลดเสียงรบกวน

หากเป็นไปได้ ให้ถามถึงผลรายงานทางเสียงเพื่อให้ได้ห้องที่มีค่าการกันเสียงตามที่ต้องการ

ค่า Sound Transmission Coefficient ที่แนะนำสำหรับคอนโดฯควรอยู่ที่ 50 dB ถึงจะเพียงพอต่อการกั้นเสียงจากห้องโดยรอบและรักษาความเป็นส่วนตัวภายในห้อง ยิ่งค่านี้สูงเท่าไหร่ ยิ่งกันเสียงได้ดี

ตัวอย่างเช่น โรงแรม 5 ดาวควรมีค่า STC ที่ 55 dB

บทสรุปการเดินหน้าด้านเสียงรบกวน

เนื่องจากโครงการคอนโดฯในกรุงเทพฯยังคงเกิดใหม่และพุ่งทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งฝั่งของผู้พัฒนาและผู้ซื้อควรให้ความสำคัญกับการป้องกันเสียงรบกวน มันไม่ใช่แค่เรื่องของการทำให้ที่อยู่อาศัยเงียบเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของการรักษาสุขภาพจิต การได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ไปจนถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยรวม

ผู้ที่คาดหวังเลือกซื้อคอนโดฯ ไม่ควรมองปัญหาทางเสียงเป็นเรื่องรอง เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ยูนิตของคุณจะเงียบสงัด หลีกหนีความวุ่นวายและเสียงพลุกพล่านในมหานครได้

ทางเราได้รับและติดตามคำร้องเรียนจากลูกบ้านคอนโดฯ เปิดใหม่อยู่เสมอ ในหลายๆ ครั้ง หลายท่านมักผิดหวังทุกข์ใจหลังได้ย้ายเข้าไปพักอาศัยแล้ว การแก้ไขปรับปรุงเสียงรบกวนภายหลังนั้นเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุ ยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า คงดีไม่น้อยถ้าเรื่องของเสียงรบกวนถูกพิจารณาตั้งแต่กระบวนการแรกเริ่มของการขึ้นคอนโดฯ

ซอฟต์แวร์ทำแผนที่เสียง Noise contour 0

ทำไมต้องทำ แผนที่เสียง, Noise contour, Noise mapping

ในงานในด้านอาชีวอนามัย เกี่ยวกับเสียงในการประกอบอาชีพ หรืองานด้านสุขศาสตร์ควบคุม หรืองานด้านมลพิษทางเสียง การทำ Noise contour มีประโยชน์อย่างมากในการจัดการด้านเสียงรบกวน และในปัจจุบันการทำ Noise contour ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปเพราะว่ามี Software ที่ออกแบบมาสำหรับงานเสียงโดยเฉพาะอย่าง SoundPLAN manda ผู้พัฒนา Software ทำแบบจำลองคณิตศาสตร์ทางเสียงมากนานกว่า 30 ปี และนอกจากทำ Noise contour ยังสามารถประเมินค่าระดับการรับสัมผัสเสียงสะสม Noise Dose  และคำนวณค่า TWA ที่ Exchange rate 3 ที่สอดคล้องกับกฎหมายไทย ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

งานที่ต้องมีการทำ Noise contour มีดังนี้

  • ดำเนินการตามมาตรการ EHIA
  • เป็นไปตำมหลักเกณฑ์ในการจัดทำ Noise contour ตามโครงการอนุรักษ์การได้ยิน
  • สถานประกอบการที่มีระดับเสียงดังเกินกว่า 85 dBA ตลอดระยะเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมง
  • การจำแนกพื้นที่เสียงดัง
  • การควบคุมเสียงและป้องกันเสียงดังได้อย่างถูกจุด
  • การติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์เสียง

ทำ Noise mapping ให้เป็นเรื่องง่าย

การกำหนดจุดตรวจวัดและ input ข้อมูลได้อย่างอิสระ และจำนวนจุดตรวจวัดเสียงได้อย่างไม่จำกัด จากข้อมูลการตรวจวัดระดับเสียงสู่ Software การกำหนดขอบเขตของโครงการได้อย่างอิสระและยืดหยุ่น และสามารถเลือก Parameter ได้หลากหลายสำหรับเสียงรบกวนในการทำแผนที่เสียง และการปรับแต่งภาพ Contour ในรูปแบบต่างๆแบบ Template พร้อมใช้งาน หรือสามารถกำหนดเองโดยผู้ใช้งาน

 

วิธีการทำ Noise contour คือ อันดับแรกต้องมีเครื่องวัดเสียง และ Sound calibrator

  1. เริ่มต้น กำหนดจุดตรวจวัดระดับเสียงลงใน Layout ของเรา
  2. ทำการตรวจวัดระดับเสียงและบันทึกค่า Leq dBA หรือพารามิเตอร์อื่นๆถ้าต้องการประเมิน
  3. นำค่าที่วัดได้มา Plot ลงใน SoundPLAN manda ตามจุดที่วัด เพื่อจัดทำ Noise contour

 

ขั้นตอนง่ายๆ โดย SoundPLAN manda

มาตรฐานที่เป็นสากล
มาตรฐานการยอมรับระดับเสียงที่สามารถทำงานได้ในช่วงเวลาต่าง ๆ สามารถเลือกได้ไม่ว่าจะเป็น NIOSH / ACGH / OSHA / MSHA หรือ European standard อื่น ในงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ที่มีการคำนวณปริมาณเสียงสะสมของคนทำงาน (%Dose) ค่าเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน TWA หรือการกำหนดค่า Exchange rate ตามมาตรฐานสากล รวมไปถึงระยะเวลาการทำงาน

หากสนใจเรื่องการทำ Noise contour อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ทาง Geonoise มีผู้เชี่ยวชาญทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม ด้าน Noise control engineer และด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม สามารถให้คำปรึกษาแนะนำตั้งแต่การวัดเสียงที่ถูกต้องจนถึงการทำ Noise contour โดย Software SoundPLAN manda

วิธีการการวัดค่าการดูดซับเสียงของผิววัสดุ Sonocat 0

วิธีการการวัดค่าการดูดซับเสียงของผิววัสดุ

In-situ sound absorption measurements

ในการวัดค่าสัมประสิทธิ์การดูดกลืนคลื่นเสียง (Sound absorption coefficient) หรือวัดค่า NRC, SAA นั้น มีมาตรฐานการทดสอบโดยใช้วิธีการ Impedance tube หรือทดสอบได้ใน Reverberation chamber ที่เป็นห้องเสียงสะท้อน นอกเหนือจากนั้นยีงมีวิธีการวัดค่า Sound absorption ในรูปแบบ In-situ คือการวัดค่าที่พื้นผิวของวัสดุโดยตรง โดยใช้ Array microphones แบบ Spherical แสกนไปยังพื้นผิวของวัสดุ โดยวิธีการ Local Plane Wave-method.

 

การวัดค่าสัมประสิทธิ์การดูกลืนคลื่นเสียงจะเป็นค่าอัตราส่วนระหว่าง Sound power incident ที่สัมพันธ์กับค่าการสะท้อนกลับของพื้นผิว โดย Array microphones แบบ Spherical จะสามารถระบุทิศทางของ Plane wave และทิศทางตรงกันข้ามของ Reflection plane wave

การวัดค่า Sound Absorption

วิธีการวัดแบบ In-Situ สามารถดำเนินการวัดกับพื้นผิวของวัสดุที่ ติดตั้งกับหน้างานไปแล้วได้โดยไม่ต้องนำวัสดุเข้ามาทดสอบในห้องปฏิบัติการ วิธีการคือนำแหล่งกำเนิดเสียง หรือลำโพงปล่อยคลื่นเสียง ในทิศทางตรงกันข้ามกับพื้นผิววัสดุทดสอบ แล้วใช้ระบบ Array microphones แบบ Spherical สแกนไปยังพื้นผิวของวัสดุที่ต้องการทดสอบค่า Sound absorption

โดยเครื่องมือวัด Sonocat ที่ถูกออกแบบมาโดยใช้ระบบ Array microphones แบบ Spherical สามารถวัดค่าการดูดกลืนคลื่นเสียงของพื้นผิววัตถุ โดยสมการดังต่อไปนี้

เมื่อ      α คือ ค่าสัมประสิทธิ์การดูดกลืนคลื่นเสียง

          Wac คือ ค่า Sound Power จากการพื้นผิวของวัสดุ

          Win คือ ค่า Sound Power จากทิศทางอื่นๆ ที่ทำการวัดในขณะเดียวกัน

ตัวเครื่องของ Sonocat ยังสามารถวัดค่า Sound Power ได้โดยใช้วิธีการ Intensity method ISO 9641-1 และ 9641-2

Software interface ที่สามารถวัดค่า SPL, Sound Power, Sound intensity
ตัวอย่าง Software ที่สามารถแสดงค่า Sound absorption coefficient และ ค่า Reflective ของพื้นผิววัสดุ

แหล่งที่มา: https://www.geonoise.co.th/sonocat-3d/

วิธีการวัดเสียงรบกวน 0

การวัดเสียงรบกวน

อะไรคือเสียงรบกวน

มาทำความเข้าใจกับคำว่า “ เสียงรบกวน ” และมีการประเมินค่าระดับการรบกวนของเสียงได้อย่างไร เสียงต้องดังเท่าไหร่เราถึงจะเรียกว่าเป็นเสียงรบกวนในบทความนี้จะสรุปให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น ถ้าเราลองค้นหาคำว่า มาตรฐานเสียงรบกวน หรือการวัดระดับเสียงรบกวน ก็จะพบกับแนวทาง หรือกฎหมายอยู่ 2 ฉบับ

ประกาศคณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 29 (พ.ศ. 2550) เรื่อง ค่าระดับเสียงรบกวน ลงวันที่ 29 มิถุนายน 2550 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนพิเศษ 98 ง วันที่ 16 สิงหาคม 2550)

ประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เรื่อง วิธีการตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐาน ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน การตรวจวัดและคำนวณระดับเสียงขณะมีการรบกวน การคำนวณค่าระดับการรบกวน และแบบบันทึกการตรวจวัดเสียงรบกวน พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 21 กันยายน 2565 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 266 ง วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565)  

ก็จะพบกับคำจำกัดความมากมายและสมการการคำนวณระดับเสียงรบกวนที่ดูยุ่งยากและมีเงื่อนไขสลับซับซ้อน ในการประเมินค่าระดับการรบกวน

ค่าระดับเสียงเท่าไหร่ถึงจะเรียกว่า ระดับเสียงรบกวน ?

ถ้าหาเราอ่านตามเอกสารของประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 29 เราจะเห็นว่า ให้ระดับเสียงรบกวนเท่ากับ 10 เดซิเบลเอ

หลักการของเรื่องเสียงรบกวนมันมีอยู่ว่า

ให้เอาระดับเสียงขณะมีการรบกวน ลบด้วย ระดับเสียงพื้นฐาน ถ้ามีค่าเกิน 10 dBA แสดงว่าเป็นเสียงรบกวน

ก็คือว่าให้ทำการตรวจวัดระดับเสียง ณ จุดที่เราได้รับการรบกวนจากเสียงนั้น เช่น เราใช้ชีวิตอยู่ในบ้านในห้องนอน และรู้สึกว่าได้รับการรบกวน ขณะที่เราใช้ชีวิตในห้องนอน ก็ให้ทำการตรวจวัดระดับเสียงขณะมีการรบกวนที่บริเวณห้องนอน และทำการวัดค่าระดับเสียงพื้นฐานตอนที่ยังไม่เกิดการรบกวน ณ จุดเดียวกันกับตอนที่มีเสียงรบกวน

ระดับเสียงพื้นฐาน

ก็คือระดับเสียงขณะที่ยังไม่เกิดการรบกวนใดๆ หรือสภาวะระดับเสียงที่เราใช้ชีวิตตามปกติ แต่ว่าโดยวิธีการวัดค่าระดับเสียงพื้นฐานนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในการประเมินระดับการรบกวน เพราะว่ามันได้มีรายละเอียดยิบย่อยอย่างนึงในข้อมูลเชิงสถิติที่เรียกว่าระดับ เปอร์เซนไทล์ ที่ 90 หรือ L90 ของเสียงขณะไม่มีการรบกวน ซึ่งต้องนำค่า L90 นี้มาประเมินด้วย

มาถึงจุดนี้ เราต้องมีข้อมูลอยู่จำนวน 3 ชุดข้อมูลในการประเมินเสียงรบกวนคือ

  1. ค่าระดับเสียงที่มีการรบกวน
  2. ค่าระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน
  3. ค่าเปอร์เซนไทล์ ที่ 90 ของระดับเสียงขณะที่ไม่มีการรบกวน L90

จากข้อมูล 3 ชุดนี้ ก็เกือบจะประเมินการรบกวนได้แล้ว แต่ยังมีปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างนึงที่ขาดไม่ได้เลยดังต่อไปนี้คือ

  1. ช่วงเวลาของการเกิดเสียงรบกวน กลางวัน 06:00 – 22:00 ยามวิกาล 22:00 – 06:00 ถ้ายามวิกาลให้บวกไป 3 dBA
  2. สถานที่ที่ต้องการความเงียบสงบ เช่น ศาสนสถาน โรงเรียน โรงพยาบาล ห้องสมุด ให้บวกไป 3 dBA
  3. ลักษณะของเสียง แหลมดัง กระแทก เสียงที่ทำให้เกิดความสั่นสะเทือน ให้บวกไป 5 dBA

บวกเข้าไปในช่วงที่มีการคำนวณขณะมีการรบกวน

จากที่บอกว่าจะพยามให้เข้าใจง่าย แต่เริ่มซับซ้อนขึ้นมาอีก แต่ความซับซ้อนยังไม่จบแค่นี้ ยังมีเรื่องของช่วงเวลาการเกิดเสียงอีก 2 กรณีคือ

  1. เสียงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนานกว่า 1 ชั่วโมง
  2. เสียงที่เกิดต่อเนื่องแต่ไม่ถึง 1 ชั่วโมง
  3. เสียงที่เกิดขึ้นเป็นช่วงๆน้อยกว่า 1 ชั่วโมง

เครื่องมือวัดระดับเสียงที่สามารถวัดค่าระดับเสียงรบกวนได้

ในประกาศฉบับปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2565 ระบุไว้ชัดเจนว่าเครื่องมือวัดเสียงที่จะสามารถวัดและประเมินค่าระดับการรบกวนจะต้องเป็นเครื่องวัดเสียงตามมาตรฐาน IEC61672-1 ที่มีระดับความแม่นยำ Class1 และต้องมีอุปกรณ์กำเนิดเสียงอ้างอิงที่เรียกว่า Sound calibrator ระดับ Class1 ร่วมด้วย และเครื่องมือวัดที่ใช้จะต้องมีการสอบเทียบตามรอบที่กำหนด โดยห้องปฏิบัติการสอบเทียบที่ได้มาตรฐาน หรือสามารถสอบย้อนกลับทางมาตรวิทยาไปยังหน่วยงานในระดับนานาชาติได้

ในการลงมือปฏิบัติตอยวัดเสียงผู้ตรวจวัดเสียงต้องสอบถามถึง ช่วงเวลาที่เกิดการรบกวน ลักษณะเสียงที่เกิดขึ้นว่าเป็นเสียงเกิดขึ้นแบบไหนเวลานานเท่าไร โดยในการเก็บตัวอย่างตามระยะเวลาของเสียงที่เกิดขึ้นก็จะสามรถแบ่งได้อีก ดังนี้

เสียงที่เกิดขึ้นต่อเนื่องนานากกว่า 1 ชั่วโมง ให้เก็บเก็บข้อมูล 1 ชั่วโมง

เสียงที่เกิดขึ้นต่อเนื่องไม่ถึง 1 ชั่วโมง ให้เก็บข้อมูลตั้งแต่เริ่มจนจบ

เสียงที่เกิดขึ้นเป็นช่วง แต่ไม่ถึง 1 ชั่วโมง เกิดหลายๆช่วง ให้เก็บข้อมูลตอนที่เกิดเสียง และนำมาเฉลี่ย

การตั้งเครื่องมือวัดเสียง ควรจะตั้ง ณ จุดที่ผู้ร้องเรียนได้รับการรบกวน หรือตั้งไมโครโฟนสูง 1.2-1.5 เมตร หากเป็นภายในอาคารในรัศมี 1 เมตร ห่างจากผนัง และภายนอกอาคารรัศมี 3.5 เมตร ห่างจากกำแพงหรือสิ่งที่จะทำให้เกิดการสะท้อน

จะเห็นได้ว่าการประเมินค่าระดับการรบกวนมีรายละเอียดอย่างมากมายเพื่อให้การประเมินนั้นมีความถูกต้องและเป็นธรรมที่สุดทั้งฝั่งผู้ที่ได้รับผลกระทบและฝั่งผู้กำเนิดเสียง เพราะฉนั้นบุคคลที่จะทำการวัดต้องศึกษาในขั้นตอนวิธีการอย่างมีความเข้าใจ และด้วยในกฎหมายปัจจุบันที่มีการกำหนดเรื่องเครื่องมือวัดที่มีความแม่นยำสูง จึงทำให้บุคคลทั่วไปไม่สามารถจัดหาเครื่องมือมาวัดเองได้อันเนื่องมาจากราคาเครื่องมือที่สูงมาก และส่วนใหญ่เครื่องมือวัดในระดับความแม่นยำสูงจะมีใช้ในหน่วยงานของรัฐ หรือจำเป็นต้องจ้างบริษัทผู้เชี่ยวชาญในการเข้าตรวจวัด

บทความเผยแพร่โดย Geonoise (THAILAND) Co.,Ltd.

แหล่งที่มา: https://www.geonoise.co.th/2023/10/30/การวัดเสียงรบกวน/