ชาวบ้านสุดทน ข้างบ้านส่งเสียงดังรบกวน 0

   เรื่องราวร้องทุกข์นี้เป็นเรื่องราวที่ใครหลายๆ คนคงเคยเจอกับเหตุการณ์ที่ว่า ข้างบ้านก่อความวุ่นวาย ทำให้ได้รับความเดือดร้อน เหมือนกับผู้ร้องที่แจ้งเรื่องราวสุดปวดหัวมายังลุงแจ่มว่า “ผมอาศัยอยู่ในหมู่บ้านร่มสุข ข้างบ้านก่อเหตุส่งเสียงดังรบกวน แต่ไม่ใช่ลักษณะเสียงดังนะครับ แต่เป็นลักษณะคลื่นเสียง ที่รบกวนมากๆ ทำให้ปวดหัวและอื้ออึง 
หลังจากแจ้งเจ้าหน้าที่เขตไปตรวจสอบและแจ้งกลับมาว่าเป็นเสียงของแอร์ ซึ่งถ้าหากเป็นเสียงความร้อนของแอร์จริงก็สามารถปรับได้และจากนั้นก็เปลี่ยนมาเปิดทางหลังบ้านแทน ซึ่งทางบ้านผมเองก็คอยระมัดระวังตัวไม่เปิดจากทางหน้าบ้าน แต่คือห้องนอนผมอยู่ติดกับข้างบ้านและข้างบ้านก็เปิดเครื่องอะไรไม่รู้เสียงดังมาก ทำให้เกิดคลื่นเสียงมารบกวนมากๆ เวลานอน 

          เคยร้องเรียนไปที่ด้านศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร หรือ 1555 แล้วที่เขตก็จะมีการลงมาตรวจสอบ เคยเจรจากับข้างบ้านแล้วก็ไม่เป็นผล และแจ้งทางกทม.ไปแล้ว มีเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบแล้วก็ส่งหลักฐานกลับมาแจ้งเราว่าไม่มีอะไรเลย จึงเกิดความสงสัยว่าจะเป็นการทายผลฟุตบอล เพราะในช่วงใกล้หวยออก การแข่งขันฟุตบอล วอลเลย์บอล คือเสียงจะดังมากเป็นพิเศษ ร้องเรียนไปยังเขตและเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีการมาตรวจ เคยแจ้งไปที่กองอำนวยการรักษาความมั่งคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เคยแจ้งผมมาว่าบ้านเลขที่ 431/38 มีเครื่องซักผ้า 5 เครื่อง แต่บ้านนี้ไม่ได้ทำกิจการซักผ้า ผมก็ถามเขาว่ามันไม่ผิดปกติหรือมีเครื่องซักผ้า 5 เครื่อง ทั้งที่บ้านนี้ไม่มีการรับซักผ้าแต่อย่างใด 
จึงสงสัยว่าเจ้าหน้าที่อาจจะปฏิบัติหน้าที่ไม่โปร่งใส ถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีการแก้ไขแต่อย่างใด พอรู้ว่าเราเป็นคนแจ้งก็ยิ่งเกิดเสียงดังมากขึ้นไปอีก  อยากเปิดตอนไหนก็ได้ ตอนนี้เดือดร้อนมากเพราะปัญหานี้เกิดขึ้นมานานแล้ว ที่บ้านก็มีผู้สูงอายุมีผู้ป่วยที่ต้องพักฟื้น และเกรงว่าจะไม่ปลอดภัย อยากให้ช่วยแก้ไขปัญหาหน่อยเพราะเดือดร้อนมากจริงๆ ไม่มีทางออกแล้ว”
เอ
 

ตอบ
          ร.ต.ท.ชาญณรงค์ องค์อาจ รองสว.ป. ปฏิบัติหน้าที่วิทยุสื่อสาร สถานีตำรวจนครบาลบางโพงพาง ชี้แจงว่า ในกรณีที่มีผู้ที่เดือดร้อนแจ้งความเดือดร้องเรื่องข้างบ้านเสียงดัง ในกรณีนี้จะเป็นการแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือ โดยจะมีการแจ้งเหตุเข้าใน 2 ช่องทาง คือการมาแจ้งเรื่องราวที่สน. เองเลย กับอีกช่องทางคือการโทรศัพท์มาแจ้งที่เบอร์ 191  และเจ้าหน้าที่ก็จะรับเรื่องร้องเรียนไว้ และติดต่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบและจะตรวจสอบข้อมูลของพื้นที่ว่าเป็นเขตพื้นที่ของส่วนไหน และจะเร่งดำเนินการประสานงานไปถึงตำรวจสายตรวจที่อยู่ในพื้นที่เข้าตรวจสอบถึงเรื่องราวดังกล่าว 

          โดยบางกรณีที่มีการกระทบกระทั่งกันระหว่างสองฝ่าย ตำรวจสายตรวจก็จะดำเนินคดีตามความเป็นจริง และจะดำเนินการคดี จับ ปรับ กับผู้ที่กระทำความผิด ในส่วนของการรับเรื่องการแจ้งเหตุเข้ามาเกี่ยวกับกรณีคล้ายกันนี้ไม่สามารถกำหนดยอดในแต่ละวันได้เพราะเป็นเหตุไม่ตายตัว แต่ปกติก็มีแจ้งเข้ามาเกือบทุกวัน และได้ส่งสายตรวจเข้าไปตรวจสอบเรียบร้อยทุกครั้ง

          ด้านศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร ชี้แจงว่า ในส่วนของศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร 1555 จะมีการรับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชนที่แจ้งเข้ามาเกี่ยวกับเรื่องราวที่ต้องการร้องทุกข์หรือร้องเรียน และศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานครจะเป็นฝ่ายดำเนินการประสานงานไปถึงหน่วยงานเขตที่มีหน้าที่รับผิดชอบบริเวณที่มีประชาชนแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์เข้ามา และทางเขตพื้นที่รับผิดชอบก็จะเข้าไปดำเนินการตรวจสอบ และเมื่อมีการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาในส่วนนั้นแล้ว เขตก็จะส่งหนังสือชี้แจงมายังศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร และศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานครก็จะดำเนินการประสานและแจ้งความคืบหน้าให้ผู้ร้องได้รับทราบต่อไป

ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/knowledge/394552 ด้วยค่ะ

ค่าฝุ่นกรุงเทพฯ ดีขึ้น หลายเขตอากาศดีมาก 0

ค่าฝุ่นละออง กรุงเทพฯ เริ่มดีขึ้น เกินมาตรฐานเขตเดียว ที่ทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ มีผลกระทบต่อสุขภาพ

วันที่ 26 ธันวาคม 2562 กรมควบคุมมลพิษ รายงานสภาพอากาศ เมื่อเวลา 08.00 น. ระบุว่าสถานการณ์คุณภาพอากาศ พื้นที่ทั่วประเทศ พบว่า คุณภาพดีมาก ถึงมีผลกระทบต่อสุขภาพ

มลพิษทางอากาศที่ตรวจพบเกินมาตรฐานได้แก่ ฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ตรวจพบค่าระหว่าง 15 – 75 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (µg/m3) เกินมาตรฐานที่บริเวณ เกินมาตรฐานที่บริเวณ ต.บ้านเหนือ อ.เมือง กาญจนบุรี, ต.ในเมือง อ.เมือง ขอนแก่น, ต.แม่ปะ อ.แม่สอด ตาก, ต.ในเมือง อ.เมือง นครราชสีมา, ต.ปากน้ำโพ อ.เมือง นครสวรรค์, ต.ท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ ปราจีนบุรี, ต.บ้านต๋อม อ.เมือง พะเยา, ต.พระบาท อ.เมือง ลำปาง, ต.สบป้าด อ.แม่เมาะ ลำปาง, ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ ลำปาง, ต.บ้านกลาง อ.เมือง ลำพูน, ต.หน้าพระลาน อ.เฉลิมพระเกียรติ สระบุรี, ต.ปากเพรียว อ.เมือง สระบุรี, ต.สนามชัย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี, ต.นาจักร อ.เมือง แพร่

ฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ตรวจพบค่าระหว่าง 30 – 207 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (µg/m3) เกินมาตรฐานที่บริเวณ เกินมาตรฐานที่บริเวณ ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา ชลบุรี, ต.ปากน้ำโพ อ.เมือง นครสวรรค์, ต.หน้าพระลาน อ.เฉลิมพระเกียรติ สระบุรี

ส่วนในกรุงเทพฯ พบว่า สภาพอากาศมีตั้งแต่ระดับ คุณภาพปานกลาง ไปจนถึงคุณภาพดีมาก ซึ่งในเขตที่อากาศคุณภาพดีมาก คือ เขตพระโขนง, เขตจอมทอง, เขตบางแค, ริมถนนรัชดาภิเษก-ท่าพระ เขตธนบุรี

ขอขอบคุณสาระดีๆจาก https://www.thairath.co.th/news/society/1733868 ด้วยค่ะ

อันตรายจากการฟังเพลงเสียงดัง ที่ไม่ได้มีแค่ “หูตึง” 0

ระหว่างเดินทาง ระหว่างทำงาน ระหว่างออกกำลังกาย หรือระหว่างทำกิจกรรมยามว่างต่างๆ การฟังเพลงผ่านหูฟังเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คนสมัยนี้ขาดไม่ได้ วันไหนไม่ได้หยิบมาจากบ้านคงจะหงุดหงิดน่าดู เพราะคนไทยชอบฟังเพลง ฟังกันได้ทุกวัน ทุกที่ ทุกเวลา
แต่การใช้หูฟังฟังเพลงอย่างไม่ระมัดระวัง หรือแม้กระทั่งการใช้สมอลทอล์คคุยโทรศัพท์นานๆ อาจทำให้คุณกลายเป็นคน “หูตึง” ได้อย่างไม่ทันตั้งตัว
อันตรายจากการใช้หูฟัง
– หูตึงเร็วขึ้น แทนที่จะรอให้แก่ตัวลงแล้วค่อยหูตึง คนไทยเริ่มหูตึง หรือเริ่มฟังไม่ค่อยได้ยินในอายุที่น้อยลงเรื่อยๆ
– ทำให้เราไม่ระมัดระวังตัวเอง เพราะเราไม่ได้ยินเสียงรอบข้าง จึงเป็นช่องโหว่ที่โจรอาจจะเข้ามาขโมย หรือทำร้าย หรือหากใส่หูฟังขณะวิ่ง เดินริมถนน อาจมีเหตุอันตราย เช่น รถพุ่งเข้ามาเฉียดชน โดยที่เราอาจจะหนีไม่ทันเพราะไม่ได้ยิน

 
ใช้หูฟังแบบไหน เสี่ยงหูตึงที่สุด
ปัจจุบันมีหูฟังหลายประเภทให้เลือกใช้ ประเภท in-ear หรือแบบที่มีจุกเข้าไปอุดในรูหู เป็นที่นิยมที่สุด เพราะทำให้ได้ยินเสียงชัดเจน ไม่มีเสียงรบกวน แต่การใช้หูฟังประเภทนี้ก็อาจทำให้มีความเสี่ยงที่จะหูตึงได้ง่ายกว่าหูฟังประเภทอื่นๆ รวมไปถึงอันตรายภายนอกจากการที่ไม่ได้ยินเสียงรอบข้างอีกด้วย
อันตรายจากการฟังเพลงเสียงดัง
จริงๆ แล้วอาจจะไม่ใช่เพลงก็ได้ อาจจะเป็นเสียงอื่นๆ แต่ส่วนใหญ่การที่เราจะทนฟังเสียงดังๆ เป็นระยะเวลานานๆ เพลงก็เป็นส่วนสำคัญที่อาจทำร้ายสุขภาพของเราได้
นอกจากหูตึงแล้ว ยังมีอันตรายอีกหลายอย่างที่เกิดขึ้นจากการฟังเสียงดังๆ นานๆ เช่น ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นไม่ปกติ ซึ่งกำลังมีผู้ป่วยทั่วโลกที่เข้ารับการรักษาอาการผิดปกติเหล่านี้จากการใช้หูฟังนับล้านคน อีกทั้งในประเทศเบลเยี่ยมมีผู้ป่วยรายหนึ่งที่มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ปอดแฟ่บเนื่องจากเนื้อปอดไม่สามารถขยายได้เหมือนปกติ จนอาจส่งผลให้ถุงลมในปอดแตก และเสียชีวิตเลยทีเดียว



ระดับความดังของเสียงต่างๆ
(ระดับปลอดภัยคือ ไม่เกิน 85 เดซิเบล)
– การจราจรบนนถนน = ไม่เกิน 85 เดซิเบล
– เลื่อยไฟฟ้า = 90 เดซิเบล
 – เจ็ทสกี = 100 เดซิเบล
– คอนเสิร์ต หรือสถานที่เที่ยวกลางคืน = 105-120 เดซิเบล
– เปิดวิทยุดังๆ ในรถยนต์ = อาจมากถึง 120 เดซิเบลได้
– เสียงกระสุนปืน เมื่อยืนห่างจากจุดลั่นไกราว 2-3 ฟุต = 140 เดซิเบล ซึ่งเป็นระดับที่ทำให้เกิดอาการปวดหูในบางคนได้
 
ดังนั้น การใช้หูฟังแต่พอดี เลือกเปิดเสียงไม่ดังเกิน 85 เดซิเบล หรือเปิดเสียงดังไม่เกิน 70% ของระดับเสียงในมือถือ หรือเครื่องเล่นเพลงที่ใช้ประจำ ทดสอบโดยเปิดฟังแล้วพอจะได้ยินเสียงรอบข้างบ้าง เลือกใช้หูฟังประเภท ear bud หรือครอบหูแบบที่ไม่ครอบทั้งใบหู หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่เสียงดังนานๆ หรือหากจำเป็นต้องทำงานในพื้นที่เสียงดัง ควรใช้ที่อุดหู เพื่อถนอมสุขภาพหู รวมไปถึงถนอมสุขภาพของตัวเองไปด้วย

ขอขอบคุณสาระดีๆจาก : https://www.sanook.com/health/7841/ ด้วยค่ะ

“เสียง” ปัญหาร้องทุกข์อันดับ 1 ทั่วประเทศ 0

สกว.เปิดงานวิจัยข้อร้องเรียนจากเหตุเดือดร้อนรำคาญพบ “เสียง” ติดอันดับ 1 ใน 3 ข้อร้องเรียนทั่วประเทศเฉลี่ยร้อยละ 40 แนะนำหากเป็นเสียงรบกวนฉุกเฉินเช่น กิจกรรมแข่งรถ งานเลี้ยงให้แจ้ง 191 ส่วนปัญหาเสียงรบกวนเรื้อรัง เช่น โรงงาน ร้านอาหาร แจ้งท้องถิ่น
ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆจาก https://news.thaipbs.or.th/content/275245 ด้วยค่ะ

มลพิษทางเสียงและเดซิเบล 0

มลพิษทางเสียงเป็นมลพิษที่แตกต่างจากมลพิษอื่นๆ เนื่องจากผลกระทบที่เกิดจะแพร่กระจายอยู่ในวงจำกัด เพราะเสียงเป็นการเคลื่อนที่ของพลังงานผ่านตัวกลางใดๆ โดยสามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ผ่านทางอวัยวะรับความรู้สึก เช่น หูและร่างกาย หากได้รับเสียงดังมากเกินขีดจำกัดของร่างกาย และอยู่ในรูปแบบหรือเวลาที่ไม่เหมาะสมก็จะส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ เช่น การทำลายอวัยวะรับการได้ยิน การทำให้เกิดความรำคาญ โรคเครียด หรืออาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคร้ายต่างๆ ได้
เสียงที่ดังเกินไปอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้นเพื่อควบคุมให้มีการใช้เสียงอย่างพอเหมาะ จึงมีการกำหนดมาตรฐานของเสียงขึ้นมาเพื่อตรวจสอบระดับของเสียง โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับดี ควรเป็นเสียงที่ดังไม่เกิน 55 เดซิเบลเอ ระดับปานกลาง ควรเป็นเสียงที่ดังระหว่าง 55 – 70 เดซิเบลเอ และระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ คือ เสียงที่มีความดังเกิน 70 เดซิเบลเอ
ทั้งนี้ในกิจวัตรประจำวันของคนเรามีความเกี่ยวข้องกับเสียงในระดับที่แตกต่างกันออกไป ผู้เชียวชาญด้านเสียงได้จัดลำดับแหล่งกำเนิดเสียง ระดับเสียง และผลกระทบที่มีต่อมนุษย์ โดยจำแนกตามกิจกรรมที่ทำไว้ว่า ในขณะที่เราอยู่กับป่าตามธรรมชาติจะมีเสียงดังประมาณ 0-20 เดซิเบลเอ ในห้องสมุดจะมีเสียงดังประมาณ 40 เดซิเบลเอ ที่ทำงานมีเสียงดังไม่เกิน 70 เดซิเบลเอ บนท้องถนนที่มีการจราจรติดขัดจะมีเสียงดังประมาณ 80 เดซิเบลเอ ผู้ที่ทำงานขุดเจาะถนน จะต้องทนกับเสียงที่ดังถึง 100 เดซิเบลเอ และเสียงจากเครื่องบินไอพ่น มีเสียงดังรบกวนถึง 140 เดซิเบลเอ
** เสียงดัง ถือเป็นอันตรายใกล้ตัวที่หลายๆ คนมักจะมองข้ามไป โดยเฉพาะคนที่ทำงานโรงงาน หรือทำงานอุตสาหกรรมที่ต้องได้ยินเสียงเครื่องจักรอยู่ตลอดเวลา มักจะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไม่ต้องสนใจก็ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว มลพิษทางเสียงนับเป็นสิ่งที่ต้องระวังเป็นอย่างมาก **
อยากให้ทุกคนได้ใส่ใจเรื่องอันตรายจากเสียงดังให้มากๆ ด้วยความห่วงใยจากบริษัท จีโอนอยซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด.
————————————————————————————
————————————————————————————
ขอบคุณสำหรับข้อมูลจาก : https://www.hiso.or.th/hiso/tonkit/tonkits_44.php ด้วยค่ะ 😊😊