Acoustic Camera เทคโนโลยีที่ใช้ในการระบุตำแหน่งที่มีเสียง Acoustic location

เทคโนโลยีที่ช่วยระบุหาตำแหน่งของการเกิดเสียงที่ช่วยให้เราเข้าถึงตำแหน่งหรือระบุจุดที่ต้องการทราบตำแหน่งของเสียงได้อย่างแม่นยำ

ช่วยในการระบุตำแหน่งของเสียง

ในพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ มีแหล่งกำเนิดเสียมากมาย หรือบริเวณที่เป็นสภาพแวดล้อมเป็นป่าเขา การระบุตำแหน่งของการเกิดเสียงเป็นไปได้ยากมาก ทาง Norsonic จึงได้มีการพัฒนาระบบ Array microphones โดยใช้หลักการ Acoustic Beampattern ในการระบุหาตำแหน่งเสียงที่เกิดขึ้น และซ้อนทับเข้ากับระบบภาพ โดยเมื่อเสียงตกกระทบไมโครโฟนจำนวน 128 ตัว ระบบประมวลผลสัญญาญจะแสดงเป็นภาพในรูปแบบ Real-time ขึ้นมาทันที

ตัวอย่างการตรวจหาตำแหน่งของแหล่งกำเนิดเสียงที่อยู่ภายในบริเวณที่ลุ่มหุบเขาที่มีระยะห่างออกไป 3 กิโลเมตร

เสียงที่เกิดขึ้นเป็นเสียงที่เกิดเพียงช่วงสั้นๆ ณ จุดที่ส่งกล้อง Acoustic Camera ซึ่งยากต่อการสั่งเกตุและการได้ยิน แต่ด้วยเทคโนโลยีของ Norsonic เราสามารถ Playback เพื่อฟังและดูจุดที่เกิดเสียงได้จากการบันทึกของตัว Acoustic Camera อีกทั้งเรายังสามารถฟังเสียงเฉพาะแหล่งกำเนิดนั้นโดยที่ทำการคัดเสียงที่ไม่ต้องการฟังออกไปด้วยระบบที่เรียกว่า Virtual Microphone

ตัวอย่างการคัดเสียงอื่นๆ ที่ไม่ต้องการได้ยิน เพื่อดูแหล่งกำเนิดเสียงอื่น ที่รองลงมา ทำให้เราเห็นตำแหน่งที่เราต้องการศึกษา เช่น กรณีที่มีเสียงรบกวนอื่นๆ อยู่ใกล้กับเราเช่น เสียงจากสัตว์ หรือนกที่ร้องอยู่พุ่มไม้ ที่อยู่ใกล้กับตัวกล้อง เราสามารถคัดเสียงนั้นออกเพื่อดูเสียงที่ต้องการศึกษาจริงๆได้ โดยใช้ Function Eraser ของระบบ Software ที่ดูได้แบบ Real-time ดังภาพตัวอย่าง

ในต่างประเทศนอกจากการใช้งานในเชิงเครื่องจักร หรือเสียงด้านสิ่งแวดล้อม ยังได้มีการนำ Acoustic Camera มาใช้ในงานกู้ภัย ค้นหาผู้คนสูญหายหรือ คนหลงป่า หาหน่วยลักลอบขนของหรือตัดไม้ในป่า หรือศึกษาติดตามสัตว์ป่าเชิงงานวิจัยด้าน Bio Acoustics

Applications

  • ระบุแหล่งกำเนิดเสียงที่ทำให้เกิดการรบกวน เช่น พื้นที่ก่อสร้าง อุปกรณ์ภายในงานอุตสาหกรรม
  • เสียงรบกวนจากสภาวะแวดล้อมในชุมชนเมือง
  • ระบุตำแหน่งที่กำเนิดเสียงในพื้นที่ที่ยากต่อการเข้าถึง เช่น หอกลั่น หอระบายความร้อน
  • ตรวจสอบประสิทธิภาพของการใช้มาตรการลดเสียงรบกวน
  • ใช้ในการหาแหล่งกำเนิดเสียงที่ผิดปกติในอุตสาหกรรมยานยนต์ ระบบราง อุตสาหกรรมการบิน
  • ใช้ในการตรวจสอบการไม่แน่นสนิทของผนังประตู หรือพาติชั่น Sound leaked
  • ตรวจหาผู้คน หรือสัตว์ป่า เครื่องจักรกำเนิดเสียง โดยใช้การตรวจจับตำแหน่งเสียง

ข้อดีคือ

  • ติดตั้งอุปกรณ์ง่าย สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว เพียง 2 นาทีสามารถทำงานได้เลย (ระบบ Array microphones แบบอื่นๆ ใช้เวลาหลายชั่วโมงในการ Setup)
  • Array microphones จำนวน 128 microphones ตัว ซึ่งเป็นจำนวณมาก และมีความแม่นยำในการระบุตำแหน่งสูงมาก (จำนวนไมโครโฟนเยอะการระบุตำแหน่งสามารถทำให้แม่นยำ)
  • ทำงานได้โดยคนเพียงคนเดียว พร้อม Software ที่แสดงผล Real time วิเคราะห์หน้างานได้ทันที ไม่ต้องนำข้อมูลไปประมวลผลเพื่อซ้อนข้อมูลภาพกับเสียงอีก
  • สามารถบันทึกข้อมูล และนำมาวิเคราะห์ย้อนหลังได้อย่างละเอียด ทั้งตำแหน่งของเสียงที่เกิด ระดับเสียง ความถี่เสียง และตัดเสียงรบกวนอื่นๆ ที่ไม่ต้องการออกได้ทั้งแบบ Real time และการนำมาวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลัง Post processing
  • Software ที่ง่ายต่อการใช้งาน และการแสดงผลที่เข้าใจง่าย โดยที่ผู้งานไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ในระบบ Digital Signal Processing ก็สามารถทำงานได้
  • การฝึกอบรมใช้งาน และการดูแล Support จากทีมงานวิศวกรของบริษัทตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย ซึ่งได้รับการถ่ายทอดความรู้โดยตรงจากผู้ผลิต
Webmaster

Recent Posts

ซาวด์สเคป คืออะไร

ซาวด์สเคป หรือ ทัศนียภาพทางเสียง หมายถึงการสร้างการรับรู้ ความรู้สึกของสถานที่หรือสภาพแวดล้อมผ่านเสียงต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในพื้นที่นั้น อันที่จริงมันคือเรื่องที่กว้างมากๆ ซึ่งรวมไปถึงเสียงใต้น้ำที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิต เสียงในบรรยากาศ ซึ่งอาจประกอบไปด้วยเสียงของธรรมชาติ เช่น เสียงฝนตก นกร้อง ลมพัด หรือเสียงที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ…

2 months ago

มลพิษทางเสียงทำลายชีวิตคอนโด

มลพิษทางเสียงทำลายชีวิตคอนโดปัจจุบัน ภาคอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก ปัจจัยหลักในการเลือกซื้อคอนโดฯที่ตอบโจทย์ มักเป็นเรื่องของทำเลที่ตั้ง วิวทิวทัศน์ ดีไซน์การตกแต่ง หรือสิ่งอำนวยความสะดวกและส่วนกลาง หารู้ไม่ว่า มีอยู่อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันและมักถูกมองข้ามก่อนการซื้อหรือลงทุนห้องชุดเสมอ นั่นคือ เรื่องของการกันเสียงรบกวนไม่ว่าคอนโดฯ จะอยู่ภายในใจกลางเมืองและสะดวกสบายแค่ไหน ก็คงหนีไม่พ้นความรำคาญจากเสียงจราจรหรือจากเพื่อนบ้านในประเทศไทย ยังไม่มีกฎหมายโดยตรงกับการควบคุมเสียงรบกวนภายในห้องชุดอาคาร จึงยากที่จะมั่นใจว่าเราจะไม่ได้รับเสียงรบกวนจากห้องรอบๆ…

5 months ago

ซอฟต์แวร์ทำแผนที่เสียง Noise contour

ทำไมต้องทำ แผนที่เสียง, Noise contour, Noise mapping ในงานในด้านอาชีวอนามัย เกี่ยวกับเสียงในการประกอบอาชีพ หรืองานด้านสุขศาสตร์ควบคุม หรืองานด้านมลพิษทางเสียง การทำ Noise contour มีประโยชน์อย่างมากในการจัดการด้านเสียงรบกวน และในปัจจุบันการทำ…

6 months ago

วิธีการการวัดค่าการดูดซับเสียงของผิววัสดุ Sonocat

วิธีการการวัดค่าการดูดซับเสียงของผิววัสดุIn-situ sound absorption measurementsในการวัดค่าสัมประสิทธิ์การดูดกลืนคลื่นเสียง (Sound absorption coefficient) หรือวัดค่า NRC, SAA นั้น มีมาตรฐานการทดสอบโดยใช้วิธีการ Impedance tube หรือทดสอบได้ใน…

7 months ago

ทางเลือกใหม่สำหรับการสอบเทียบและทดสอบเครื่องมือ SPEKTRA

“การสอบเทียบเครื่องมือวัดนั้นทำอย่างไร?” “การทดสอบระบบและเครื่องมือวัดต่าง ๆ ยุ่งยากหรือไม่?” หากคุณมีคำถามเหล่านี้อยู่ SPEKTRA พร้อมให้ทางออกในการสอบเทียบและทดสอบเครื่องมืออย่างชาญฉลาด! พวกเราจะอยู่เคียงข้างคุณตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้น นอกจากอุปกรณ์ของคุณจะได้รับการสอบเทียบอย่างถูกต้องและได้ใบรับรองแล้ว หากคุณเป็นผู้ผลิตเครื่องมือวัดที่ได้ทำการสอบเทียบกับ SPEKTRA แล้วได้นำสินค้าออกสู่ตลาด ลูกค้าที่ซื้ออุปกรณ์ของคุณยังสามารถนำมาทำการสอบเทียบกับ SPEKTRA ได้อีกด้วย…

7 months ago

วิธีการวัดเสียงรบกวน

การวัดเสียงรบกวน อะไรคือเสียงรบกวน มาทำความเข้าใจกับคำว่า “ เสียงรบกวน ” และมีการประเมินค่าระดับการรบกวนของเสียงได้อย่างไร เสียงต้องดังเท่าไหร่เราถึงจะเรียกว่าเป็นเสียงรบกวนในบทความนี้จะสรุปให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น ถ้าเราลองค้นหาคำว่า มาตรฐานเสียงรบกวน หรือการวัดระดับเสียงรบกวน ก็จะพบกับแนวทาง หรือกฎหมายอยู่ 2 ฉบับประกาศคณะกรรมการ…

7 months ago

This website uses cookies.