แผ่นซับเสียง (Absorption panel) 0

สวัสดีค่ะ วันนี้แอดมินมีสาระดีๆเกี่ยวกับแผ่นซับเสียงมาฝากให้ทุกท่านได้อ่านและศึกษากันนะคะ และแอดมินยังมีรูปภาพตัวอย่าง “ห้องไร้เสียงสะท้อน” ที่มีอยู่ในบริษัท จีโอนอยซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด. ให้ทุกท่านได้ดูกันด้วยนะคะ ว่าแล้วเราก็ไปดูกันเลยค่ะ 😊😊
“แผ่นซับเสียง” (Absorption panel)
หน้าที่ของแผ่นซับเสียงคือ ดูดกลืนคลื่นเสียงไว้ภายใน และคุณสมบัตินึงของแผ่นซับเสียงคือ มีคุณสมบัติที่เป็นรูพรุน ที่อากาศสามารถแทรกตัวผ่านเข้าไปได้ เมื่ออากาศแทรกตัวเข้าไปได้ คลื่นเสียงก็จะแทรกตัวเข้าไปได้เช่นกัน และเมื่อคลื่นเสียงแทรกตัวเข้าไปในวัสดุที่มีความพรุนคลื่นเสียงก็จะถูกวัสดุดูดกลืนไว้ และช่วยไม่ให้เสียงสะท้อนกลับออกมา ยิ่งวัสดุที่มีความพรุนสูงก็จะสามารถดูดกลืนคลื่นเสียงได้มากและการสะท้อนก็จะยิ่งต่ำ ถ้าหากเจาะลึกลงไปถึงคุณสมบัติเฉพาะของแผ่นซับเสียง อาจจะต้องดูถึงย่านความถี่ที่สามารถดูดกลืนคลื่นเสียงได้ ซึ่งประเภทของการดูดกลืนคลื่นเสียงของวัสดุคร่าวๆคือ ชนิดที่เป็นพวกฟองน้ำ (Cellular) เหมาะสำหรับการดูดกลืนคลื่นเสียงในช่วงความถี่สูง ชนิดเยื่อแผ่นหรือเส้นใย (Fibrous) เหมาะสำหรับดูดกลืนคลื่นเสียงในช่วงความถี่กลางถึงต่ำ วัสดุที่มีความพรุนในลักษณะที่เป็นเมล็ด (Granular) เหมาะสำหรับดูดกลืนคลื่นเสียงในช่วงความถี่กลางถึงต่ำ และมีวัสดุดูดกลืนคลื่นเสียงที่สามารถออกแบบความกว้างขนาดของช่องว่างได้ตามย่านความถี่ที่ต้องการการดูกลืนคลื่นเสียง
ทุกท่านสามารถศึกษาคุณสมบัติและประโยชน์ของแผ่นซับเสียงได้ที่ : http://wow.in.th/JmXF
หากท่านใดสนใจหรืออยากปรึกษาปัญหาด้านเสียงทางบริษัทมีผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงยินดีให้คำปรึกษา สามารถทักแชท แอดไลน์ : @geonoise Tel : 02-1214399 ค่ะ 😊😊
————————————————————————————
————————————————————————————
#Geonoise #GeonoiseThailand #Norsonic #เครื่องวัดความสั่นสะเทือน #VIBRA #ตรวจวัดเสียง #เสียงรบกวน #เครื่องวัดเสียง #จำหน่ายเครื่องวัดเสียง #รับปรึกษาปัญหาเรื่องเสียง #ควบคุมเสียง #เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือน #บริการสอบเทียบ #Calibration #NoiseAlarm #SoundPLAN #NoiseAtWork #Noisecontour #มลพิษทางเสียง #Acoustic #เครื่องวัดฝุ่น #Dustmate #หาแหล่งกำเนิดเสียง #วิเคราะห์เสียง #Measurement #Microphone #NoiseTraining
**รูปภาพ** ห้องซับเสียง ของ บริษัท จีโอนอยซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด.

สัมนาและแสดงเทคโนโลยี CBM Day 2020 “Creative Talents” 0

สวัสดีค่ะ วันนี้ทางบริษัทจีโอนอยซ์ มีข่าวสารมาอัพเดตให้ทุกท่านได้ทราบกันนะคะ ..
เดือนหน้าจะมีสัมนาและแสดงเทคโนโลยี CBM Day 2020 “Creative Talents” เตรียมพบกับสินค้าและเทคโนโลยี กล้องตรวจหาแหล่งกำเนิดเสียงและอุปกรณ์ Mobile Calibration สำหรับเครื่องมือวัดแรงสั่นสะเทือน จาก บริษัท จีโอนอยซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด. แล้วพบกันในงานค่ะ 😊😊

“มลพิษจากเสียงต่อสุขภาพกาย-จิต และการได้ยิน” 0


ผลกระทบของเสียงดังอาจเป็นเรื่องร้ายแรงมากกว่าหูอื้อหูตึง ดังที่หลายคนเคยมีประสบการณ์ แต่อาจเกิดหูดับไปทันที อาจทำให้แก้วหูทะลุถ้าเสียงดังรุนแรงกระแทกแก้วหูทันที

เสียงดังอาจทำให้เกิดอาการเวียนหัว บ้านหมุน เสียการทรงตัว เสียงดังอาจเป็นสาเหตุของเสียงรบกวนในหูที่หลายคนทนทุกข์ทรมาน

ยิ่งกว่านั้น การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงอึกทึกครึกโครม อาจมีผลกระทบไปถึงสุขภาพกาย เกิดการป่วยไข้ทางกาย ได้แก่ โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และสุขภาพจิต จิตไม่สงบ วิตกกังวล สับสน นอนไม่หลับ หรือเกิดภาวะก้าวร้าวในเด็ก…

ขอขอบคุณสาระดีๆจาก : https://www.doctor.or.th/article/detail/5820 ด้วยค่ะ 🙏🙏

การตรวจวัดระดับเสียงโดยทั่วไป มีรายละเอียดดังนี้ 0

1.การตรวจวัดค่าระดับเสียงสูงสุด ให้ใช้มาตรระดับเสียงตรวจวัดระดับเสียงในบริเวณที่มีคนอยู่หรืออาศัยอยู่
2.การตรวจวัดค่าระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ให้ใช้มาตรระดับเสียงตรวจวัดระดับเสียงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา 24 ชั่วโมงใดๆ
3.การตั้งไมโครโฟนของมาตรระดับเสียงที่บริเวณภายนอกอาคารให้ตั้งสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1.20 เมตร โดยในรัศมี 3.50 เมตร ตามแนวราบรอบไมโครโฟน ต้องไม่มีกำแพงหรือสิ่งอื่นใดที่มีคุณสมบัติในการสะท้อนเสียงกีดขวางอยู่
4.การตั้งไมโครโฟนของมาตรระดับเสียงที่บริเวณภายในอาคารให้ตั้งสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1.20 เมตร โดยในรัศมี 1.00 เมตร ตามแนวราบรอบไมโครโฟน ต้องไม่มีกำแพงสิ่งอื่นใดที่มีคุณสมบัติในการสะท้อนเสียงกีดขวางอยู่ และต้องห่างจากช่องหน้าต่างหรือช่องทางที่เปิดออกนอกอาคารอย่างน้อย 1.50 เมตร

ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลจาก : http://www.pcd.go.th/info_serv/reg_std_airsnd04.html ด้วยค่ะ

เสียงก้อง เกิดจากอะไร 0

เสียงเกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียง ดังนั้นถ้าวัตถุสั่นด้วยพลังงานมากแอมพลิจูดของการสั่นก็จะมาก ถ้าพลังงานที่ใช้ในการสั่นมีค่าน้อย แอมพลิจูดของการสั่นก็จะน้อย การสั่นของแหล่งกำเนิดจะถ่ายโอนพลังงานของการสั่นผ่านตัวกลางมายังผู้ฟัง
ในการได้ยินเสียงครั้งหนึ่งๆ จะมีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ ต้นกำเนิดเสียง ตัวกลาง และประสาทรับเสียงของผู้ฟัง ความรู้สึกในการได้ยินเสียงของมนุษย์โดยทั่วไปแยกออกเป็นลักษณะต่างๆ ดังนี้
1.ความรู้สึกดัง-ค่อยของเสียง ขึ้นอยู่กับ แอมพลิจูดและความเข้มเสียง2.ความรู้สึกทุ้ม-แหลมของเสียง ขึ้นอยู่กับความถี่ของเสียง3.ความไพเราะของเสียง ขึ้นอยู่กับคุณภาพเสียง
เมื่อเสียงจากแหล่งกำเนิดเคลื่อนที่ผ่านอากาศมาถึงหูเราคลื่นเสียงทำให้ลำอากาศในหูสั่นก็จะทำให้เยื่อแก้วหู (ซึ่งมีความไวมาก) สั่น การสั่นเพียงเล็กน้อยของเยื่อแก้วหูก็ส่งผลต่อไปยังประสาทรับรู้ในการได้ยินของคนเรา ซึ่งแสดงส่วนประกอบต่าง ๆ ของหู และการได้ยินของคน ขอบเขตความสามารถการได้ยินเสียงของหูมนุษย์ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มเสียง (0 – 120 เดซิเบล) และความถี่ของเสียง (20 – 20,000 Hz) เสียงมีคุณสมบัติเป็นคลื่นดังนั้น เมื่อเสียงเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งไปกระทบอีกตัวกลางหนึ่งซึ่งมีความหนาแน่นมากกว่า เสียงจะสะท้อนกลับหมด เช่น เสียงตะโกนไปกระทบผนังห้อง ทำให้เกิดการสะท้อนกลับมายังผู้จะโกน และ ได้ยินเสียงอีกครั้งหนึ่ง

————————————————————————————————————————————————————————
ขอบคุณสำหรับข้อมูลจาก : https://www.scimath.org/article-physics/item/7468-2017-09-08-03-10-17 ด้วยค่ะ 😊😊