ลักษณะของเสียงที่ได้ยิน แบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ 0

ลักษณะของเสียงที่ได้ยิน แบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ
.
1. เสียงดัง-ค่อย
• เสียงดัง-ค่อย ขึ้นอยู่กับแอมพลิจูดของคลื่นเสียง
• ถ้าคลื่นเสียงมีแอมพลิจูดมาก เสียงดังมาก
• ถ้าคลื่นเสียงมีแอมพลิจูดน้อย เสียงจะดังน้อย
.
2. เสียงแหลม-ทุ้ม
เสียงแหลม-ทุ้ม (หรือระดับเสียง) ขึ้นกับความถี่ของเสียง
ถ้าคลื่นเสียงมีความถี่สูง เสียงจะแหลม
ถ้าคลื่นเสียงมีความถี่ต่ำ เสียงจะทุ้ม
ความถี่ต่ำสุด และ ความถี่สูงสุดที่หูคนปกติได้ยิน = 20 ถึง 20,000 Hz
– คลื่นเสียงที่มีความถี่ต่ำกว่า ช่วงคลื่นที่เราได้ยิน เรียกว่า Infrasonic
– คลื่นเสียงที่มีความถี่สูงกว่า ช่วงคลื่นที่เราได้ยิน เรียกว่า Ultrasonic
การจัดระดับเสียง มีหลายวิธี เช่น
1. การแบ่งระดับเสียงดนตรีทางวิทยาศาสตร์
2. การแบ่งระดับเสียงของเครื่องดนตรีสากลที่นิยมในปัจจุบัน
เสียงคู่แปด (Octave)
เสียงคู่แปด คือ เสียงดนตรีในทางวิทยาศาสตร์คู่หนึ่งที่มีขนาดความถี่หนึ่งเป็น 2 เท่าของอีกขนาดความถี่หนึ่ง
.
3. คุณภาพของเสียง (Quality)
คุณภาพของเสียง หมายถึงเอกลักษณ์ของเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงต่างชนิดกัน ขึ้นอยู่กับจำนวนฮาร์มอนิกของเสียงจากแหล่งกำเนิดนั้น
เสียงดนตรีเป็นเสียงที่น่าฟัง จะน่าฟังหรือไม่ต้องประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
– ระดับเสียง
– ความดัง
– คุณภาพ
ระดับเสียง
ขึ้นอยู่กับความถี่ ความถี่สูงเสียงจะแหลม ความถี่ต่ำเสียงจะทุ้ม คนธรรมดาฟังเสียงที่มีคลื่นความถี่จาก 20 ถึง 20,000 Hz ได้ หรือความยาวคลื่น 17 ถึง 0.017 เมตร
ความดังของเสียง
ขึ้นอยู่กับความเข้มของเสียงหรือแอมพลิจูด แอมพลิจูดมากเสียงจะดัง แอมพลิจูดน้อยเสียงจะมีเสียงค่อย
คุณภาพของเสียง
ขึ้นอยู่กับจำนวนฮาร์มอนิกของคลื่นเสียงจากแหล่งกำเนิด คุณภาพของเสียงทำให้เราแยกได้ว่าเสียงดังกล่าวมาจากเครื่องดนตรีชนิดใด
เครื่องดนตรีแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ
1. เครื่องดนตรีประเภทสาย
2. เครื่องดนตรีประเภทเคาะหรือตี
3. เครื่องดนตรีประเภทเป่า
————————————————————————————
————————————————————————————
ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆจาก >> http://force8949.blogspot.com/2015/07/blog-post_30.html << ด้วยค่ะ
————————————————————————————
————————————————————————————

#Geonoise #GeonoiseThailand #Norsonic #PLACID #PLACIDThailand #เครื่องวัดความสั่นสะเทือน #VIBRA #ตรวจวัดเสียง #เสียงรบกวน #เครื่องวัดเสียง #จำหน่ายเครื่องวัดเสียง #รับปรึกษาปัญหาเรื่องเสียง #ควบคุมเสียง #เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือน #บริการสอบเทียบ #Calibration #NoiseAlarm #SoundPLAN #NoiseAtWork #Noisecontour #มลพิษทางเสียง #Acoustic #เครื่องวัดฝุ่น #Dustmate #หาแหล่งกำเนิดเสียง #วิเคราะห์เสียง #Measurement #Microphone #NoiseTraining

10 ปัจจัยเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน 0

หูเป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่สำคัญไม่ควรมองข้าม เพราะทำให้เราได้ยินและสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจ บางคนอาจเคยประสบปัญหากับอาการหูอื้อ หูตึง หรือหูดับเฉียบพลัน ซึ่งอาจมีการสูญเสียการได้ยินเพียงชั่วคราวแล้วก็หาย แต่บางคนที่อยู่ในสภาพแวดล้อม หรือมีอาชีพเสี่ยงที่ต้องได้ยินเสียงดังเป็นเวลานานๆ การสูญเสียการได้ยินในลักษณะนี้จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป การได้ยินจะค่อยๆแย่ลงโดยไม่รู้ตัว และหากต้องฟังเสียงดังเหล่านี้เป็นระยะเวลานานหลายปีการสูญเสียการได้ยินจะเป็นการเสื่อมแบบถาวร นอกจากนี้พฤติกรรมและโรคบางอย่างก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยินเช่นกัน
หูเป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่สำคัญไม่ควรมองข้าม เพราะทำให้เราได้ยินและสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจ บางคนอาจเคยประสบปัญหากับอาการหูอื้อ หูตึง หรือหูดับเฉียบพลัน ซึ่งอาจมีการสูญเสียการได้ยินเพียงชั่วคราวแล้วก็หาย แต่บางคนที่อยู่ในสภาพแวดล้อม หรือมีอาชีพเสี่ยงที่ต้องได้ยินเสียงดังเป็นเวลานานๆ การสูญเสียการได้ยินในลักษณะนี้จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป การได้ยินจะค่อยๆแย่ลงโดยไม่รู้ตัว และหากต้องฟังเสียงดังเหล่านี้เป็นระยะเวลานานหลายปีการสูญเสียการได้ยินจะเป็นการเสื่อมแบบถาวร นอกจากนี้พฤติกรรมและโรคบางอย่างก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยินเช่นกัน
การได้ยินปกตินั้นระดับเริ่มต้นการได้ยินในทุกความถี่ต้องอยู่ในระดับไม่เกิน 25 เดซิเบล เราจึงจะได้ยินเสียงคำพูดครบทุกเสียง แต่หากมีการสูญเสียการได้ยินหรือหูตึงเราจะต้องฟังเสียงดังมากกว่าปกติในการรับรู้เสียงคำพูด เสียงที่ไม่เป็นอันตรายต่อการได้ยิน คือเสียงที่มีระดับความดังไม่เกิน 85 เดซิเบล เช่น เสียงนกร้อง เสียงนาฬิกา เสียงหยดน้ำหรือเสียงสนทนาโดยทั่วไป แต่เสียงที่มีความดังเกินกว่านั้นกรมอนามัยโลกกำหนดว่าเป็นเสียงที่ส่งผลเสียต่อการได้ยิน ทำให้สูญเสียการได้ยินหรือหูตึงได้ และในกลุ่มอาชีพที่ต้องทำงานสัมผัสเสียงดังเกิน 85 เดซิเบล เช่น เสียงเครื่องยนต์หรือเครื่องจักรเสียงดังๆ  กฎหมายจึงกำหนดว่าที่ทำงานต้องมีการจัดทำแผนโครงการอนุรักษ์การได้ยิน ไม่เพียงแต่เสียง  ยังมีปัจจัยเสี่ยงในเรื่องอื่นๆ อีก คือ
1.การแคะหู ทำให้มีขี้หูอุดตัน ช่องหูอักเสบติดเชื้อ เสี่ยงต่อเยื่อแก้วหูทะลุ ทำให้สูญเสียการได้ยินได้ ความจริงแล้วเราไม่ควรแคะหูเพราะขี้หูถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยป้องกันผิวหนังของรูหูจากสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำ เหงื่อ รวมไปถึงเชื้อโรค ฝุ่นละออง ปกติขี้หูที่สะสมอยู่จะแห้งหลุดออกมาได้เองจึงไม่จำเป็นต้องปั่นหรือแคะ  การทำความสะอาดหูให้ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำ บิดพอหมาดเช็ดบริเวณใบหูและรูหูเท่าที่นิ้วจะเช็ดเข้าไปได้เท่านั้น


2.การเป็นหวัดทำให้ท่อปรับความดันที่ต่ออยู่ระหว่างช่องคอกับหูชั้นกลางบวม ความดันในหูชั้นกลางผิดปกติ ไม่สามารถปรับความดันให้เท่ากับบรรยากาศภายนอกได้ คนไข้จะรู้สึกหูอื้อหรือปวดหู


3.การสั่งน้ำมูกแรงๆ ทำให้มีของเหลว น้ำมูกย้อนไปขังในหูชั้นกลาง หากของเหลวนั้นไม่สามารถระบายออกมาได้มักทำให้มีการอักเสบของหูชั้นกลาง คนไข้มักมีอาการหูอื้อหรือปวดหู


4.การได้รับเสียงดังมากๆ เช่น เสียงระเบิด เสียงประทัด อาจทำให้เยื่อแก้วหูฉีกขาด กระดูกหูหลุดหรือประสาทหูเสื่อมได้


5.การฟังเสียงดัง เช่น การฟังเพลงในที่ที่มีเสียงรบกวน เราจะเพิ่มความดังเสียงโดยไม่รู้ตัว หรือการที่ต้องทำงานสัมผัสเสียงดังๆ เช่น เสียงเครื่องจักร และไม่ได้ใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียง มักทำให้ประสาทหูชั้นในเสื่อมได้


6.ประสาทหูเสื่อมแบบเฉียบพลัน คนไข้มักมีอาการหูดับแบบเฉียบพลันหรือรู้สึกว่าการได้ยินลดลงแบบเฉียบพลัน เกิดได้จากหลายสาเหตุ


7.โรคหูน้ำหนวก คือ โรคที่มีการอักเสบของหูชั้นกลางแบบเรื้อรัง มีเยื่อแก้วหูทะลุและอาจมีน้ำหรือหนองไหลออกจากหู อาการมักเป็นๆหายๆ ระยะเวลามากกว่า 3 เดือน


8.โรคหินปูนเกาะที่กระดูกหูชั้นกลาง เกิดจากหินปูนที่เจริญผิดปกติในหูชั้นกลาง เกาะระหว่างฐานของกระดูกโกลนกับช่องรูปไข่ ซึ่งเป็นช่องทางติดต่อระหว่างหูชั้นกลางและหูชั้นใน ทำให้เสียงไม่สามารถผ่านจากหูชั้นกลาง เข้าไปในหูชั้นในได้ตามปกติ ทำให้หูอื้อหรือหูตึง นอกจากนั้นอาจเกิดหินปูนเจริญผิดที่ในหูชั้นใน หรือหินปูนที่ผิดปกติในหูชั้นกลางปล่อยเอนไซม์บางชนิดเข้าไปในหูชั้นใน ทำให้มีเสียงดังในหู หรือเวียนศีรษะบ้านหมุนได้


9.โรคประจำตัว ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไต ไขมันในเลือดสูง ทำให้ประสาทหูชั้นในเสื่อม


10.เนื้องอกที่เส้นประสาทการได้ยิน มักมีการสูญเสียการได้ยินข้างเดียว โดยที่ความแตกต่างของระดับการได้ยินของหูทั้ง 2 ข้างมักต่างกันเกิน 40 เดซิเบลขึ้นไป คนไข้มักบอกว่าได้ยินเสียงแต่ไม่สามารถแปลความหมายจากสิ่งที่ฟังได้ (ได้ยินแต่ไม่รู้ว่าหมายความว่าอย่างไร) บางคนอาจมีอาการเดินเซ เวียนศีรษะบ้านหมุนร่วมด้วย


ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆจาก https://www.sanook.com/health/10277/ ด้วยค่ะ

ประกาศรับสมัครงาน!!! 0

ประกาศรับสมัครงาน!!!
ตำแหน่งงาน วิศวกร ฝ่ายเสียง และสั่นสะเทือน (Acoustical Engineer, Technician)
หน้าที่และความรับผิดชอบ
– ตรวจวัด ทดสอบ วิเคราะห์เสียงและความสั่นสะเทือน
– จัดทำรายงานวิเคราะห์ผลการตรวจวัด ทดสอบ และงานที่ปรึกษา
– Support sales ในเรื่องข้อมูลทางเทคนิคของสินค้าและบริการของบริษัท
– ฝึกอบรมการใช้งานผลิตภัณฑ์ของบริษัท และ Software ให้กับลูกค้า
– งานห้องปฏิบัติการ สอบเทียบเครื่องมือวัดเสียงและความสั่นสะเทือน
– งานตรวจเช็คสภาพ อุปกรณ์เครื่องมือวัดทั้งหมดที่มีการรับประกันของบริษัท
คุณสมบัติ
– ไม่จำกัดเพศ อายุ 22 – 35 ปี ผ่านการเกณฑ์ทหาร
– การศึกษา ปวส. ปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์, วิทยาศาสตร์ หรือ สาขาที่
เกี่ยวข้อง
– มีความสนใจในเรื่องเสียงและสั่นสะเทือนทั้งทฤษฎี และปฏิบัติ
– มีทักษะในการใช้โปรแกรมสำนักงานพื้นฐาน
– เรียนรู้ในเทคโนโลยีใหม่ๆ
– สามารถถ่ายทอดความรู้เชิงเทคนิค ให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าใจได้
– มีความอดทนต่อความยากลำบาก และสภาวะกดดันในการทำงาน
– มีความละเอียดรอบคอบ
– มีความรับผิดชอบสูง
– สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี
– หากมีทักษะในด้าน Dynamic Vibration จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
– หากมีทักษะพื้นฐานการใช้งานอุปกรณ์เครื่องมือวัดในงาน Acoustics หรือ Software Acoustic Simulation จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
สนใจส่งประวัติได้ที่ คุณอนงค์
Email: hr@geonoise.asia
Tel: 02-1214399, 091-6510878

สัมนาและแสดงเทคโนโลยี CBM Day 2020 “Creative Talents” 0

สวัสดีค่ะ วันนี้ทางบริษัทจีโอนอยซ์ มีข่าวสารมาอัพเดตให้ทุกท่านได้ทราบกันนะคะ ..
เนื่องจากวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์นี้จะมีงานสัมนาและแสดงเทคโนโลยี CBM Day 2020 “Creative Talents” เตรียมพบกับสินค้าและเทคโนโลยี กล้องตรวจหาแหล่งกำเนิดเสียงและอุปกรณ์ Mobile Calibration สำหรับเครื่องมือวัดแรงสั่นสะเทือน จาก บริษัท จีโอนอยซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด.
สถานที่จัด โรงแรมบางแสนเฮอริเทจ จังหวัด ชลบุรี แล้วพบกันในงานนะคะ 😊😊

เครื่องวัดฝุ่น “DustMate” 0

สวัสดีบ่ายวันจันทร์ค่ะ วันนี้แอดมินมีสินค้ามาแนะนำให้ทุกท่านได้รู้จักกันนะคะ สินค้าที่จะนำมาเสนอวันนี้มีชื่อเรียกว่า ” DustMate ” หรื่อ ” เครื่องวัดฝุ่น “
DustMate เป็นเครื่องมือที่ถือด้วยมือ ซึ่งมีการตอบสนองที่รวดเร็วซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อค้นหาแหล่งที่มาของฝุ่น
และควันในที่ทำงานแม้ในระดับความเข้มข้นต่ำมาก…
มีประสิทธิภาพสูงสำหรับการตรวจสอบคุณภาพอากาศภายในอาคาร…
หากท่านใดสนใจหรืออยากสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ช่องทางตามด้านล่างนี้ค่ะ
Line : @geonoise55
Tel : 02-1214399 , 02-1214399
ข้อมูลเพิ่มเติม :
https://www.geonoise.co.th/%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%9d%e0%b8%b8%e0%b9%88%e0%b8%99-dustmate/