Pile load test 0

การวัดความสมบูรณ์ของเสาเข็ม(Pile load test) มีอยู่3 วิธี แต่วันนี้ผมจะมาอธิบายแบบคร่าวๆ ของ 2 วิธีหลักๆ คือ 1.) Dynamic load และ 2.) Seismic test

ทั้ง 2 วิธีนี้ สามารถทดสอบความสมบูรณ์ได้ทั้งสอง แต่ต่างกันที่วิธีการ เราจะมาอธิบายให้เข้าใจกันนะครับ

1.) Dynamic load

การทดสอบแบบนี้ จะใช้งบประมาณที่มากและเวลาที่จำกัด เพราะต้องใช้ปั้นจั่นยกลูกตุ้มที่มีน้ำหนักมาก และปล่อยให้ลูกตุ้มลงมากระแทกเสาเข็ม และนั่นจึงทำให้สามารถหาค่าความสมบูรณ์ของเสาเข็มได้ ราคาค่าวัดโดยประมาณแล้ว ตกอยู่ที่ประมาณต้นละ 30,000 บาท

Pile-Driving-Equipment

ที่มา: http://gops-madgops.blogspot.com/2013/06/load-tests-for-piles.html

 

 

2.) Seismic test

การทดสอบเสาเข็มในแบบนี้ เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เพราะไม่ต้องใช้เครื่องทุ่นแรงเยอะ และถูกกว่าแบบอื่นๆ เพียงแค่ใช้คนๆเดียวก็สามารถวัดค่าได้อย่างง่ายดาย การวัดแบบนี้สามารถวัดโดยใช้เครื่องวิเคราะห์ความสมบูรณ์ทาบลงไปบนเสาเข็ม จากนั้นให้ใช้ค้อนทุบลงไปบนเสาเข็มและผลลัพท์ที่ได้ก็จะปรากฎลงบนเครื่องวิเคราะห์ความสมบูรณ์เสาเข็ม โดยที่ผู้ทดสอบจะต้องกำหนดค่าความยาวของเสาเข็ม และใช้การวิเคราะห์เพื่อให้มั่นใจว่า เสาต้นนั้น มีรอยร้าวที่ตรงไหนโดยที่ต้องดูจากผลที่แสดงออกมาผ่านหน้าจอ โดยที่คลื่นจะสะท้อนกลับ ถ้ามีรอยร้าวจะรู้ได้โดยทันที เพราะการสะท้อนกลับจากผลลัพท์นั้นจะกลับมาเร็วกว่าปกติ และจะบอกรอยร้าวหรือรอยแคล็กตามระยะ

Parallel-Seismic-test-e1377164874334

ที่มา: http://www.cosmoctc.com/

“Sound” กับ “Noise” 0

“Sound” กับ “Noise”

เราจะได้เห็นกันบ่อยๆในงานเกี่ยวกับเสียงและเครื่องวัดเสียงซึ่งสองคำนี้เป็นสิ่งที่เราเจอบ่อยที่สุด และวันนี้เรามีข้อสังเกตุง่ายๆมาให้ทุกๆท่านได้ชมกัน

Sound (ตามพจนานุกรม คือ เสียง) จากคำอธิบายใน Wikipedia ได้อธิบายว่า “เสียง เป็นคลื่นเชิงกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง เช่น อากาศ ไปยังหู เสียงสามารถเดินทางผ่านสสารในสถานะก๊าซ ของเหลว และของแข็งก็ได้ แต่ไม่สามารถเดินทางผ่านสุญญากาศได้ คลื่นเสียงเกิดจาก การสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุเกิดการสั่นสะเทือน จะเกิดการถ่ายโอนพลังงานให้กับอนุภาคของตัวกลาง ทำให้อนุภาคของตัวกลางสั่น แล้วถ่ายโอนไปยังอนุภาคอื่นๆที่อยู่ข้างเคียงให้สั่นตาม เป็นอย่างนี้ต่อเนื่องไปเรื่อยจนกระทั่งถึงอนุภาคตัวกลางที่อยู่ติดกับเยื่อแก้วหู อนุภาคเหล่านี้สั่นไปกระทบเยื่อแก้วหู ทำให้เยื่อแก้วหูสั่นตาม จึงทำให้เราได้ยินเสียง”

Noise (ตามพจนานุกรม คือ เสียงรบกวน) จากคำอธิบายใน Wikipedia ได้อธิบายว่า “เสียงใด ๆ ที่ไม่เป็นที่ต้องการ เสียงที่ดังเป็นพิเศษซึ่งรบกวนบุคคลหรือทำให้ฟังเสียงที่ต้องการได้ยากจัดเป็นเสียงรบกวน ตัวอย่างเช่น การสนทนากับบุคคลอื่นอาจถือเป็นเสียงรบกวนสำหรับผู้ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการสนทนา เสียงที่ไม่เป็นที่ต้องการใด ๆ เช่น หมาเห่า เพื่อนบ้านเล่นดนตรีเสียงดัง เลื่อยกลพกพา เสียงการจราจรถนน หรืออากาศยานที่ห่างไกลในชนบทที่เงียบสงบเป็นเสียงรบกวนทั้งสิ้น เสียงรบกวนเป็นอะไรก็ได้ตั้งแต่เสียงที่เงียบแต่น่ารำคาญจนถึงเสียงดังและเป็นโทษ”

อธิบายโดยง่ายเลยก็คือ Sound เป็น คลื่นเสียงที่ไม่ก่อให้เกิดความน่ารำคาญ อาจจะรวมไปถึงเสียงเพลงที่น่าฟัง และเสียงพูดเสียงนกร้องที่เราพึงจะได้ยินนั่นเอง แต่ Noise เหมือนจะเป็นคำที่ตรงกันข้ามกันกับคำว่าเสียง นั่นก็คือ เสียงหรือคลื่นที่ทำให้คนเราได้ยินและเกิดความน่ารำคาญ นั่นคือ”เสียงที่ไม่พึงประสงค์” ไม่ว่าจะเป็นเสียงพูดหรือเสียงเพลง ก็สามารถเป็นเสียงรบกวน(Noise)ได้เช่นกัน

 

 

เสียงที่ดังต่อเนื่องที่เกิดจากพัดลม 0

ceiling-fan-1333756_1920

              เสียงที่ดังต่อเนื่องที่เกิดจากพัดลม 


เสียงที่ดังต่อเนื่องนั้นที่เกิดจากพดลมนั้นเป็นเสียงที่เกิดขึ้นและ เราจะรู้สึกถึงเสียงนั้นเพียงช่วงแรกๆ แต่พอเวลาผ่านไปชั่วครู่หนึ่งเราจะคุ้นชินกับเสียงนั้นๆ บางคนอาจสงสัยแต่ไม่เคยหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย แต่วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยในเรื่องนี้ให้กระจ่างกันว่าเสียงที่ดังต่อเนื่องที่เกิดจากพัดลมนั้น ก่อให้เกิดอันตรายหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด

 

เสียงที่ดังต่อเนื่องจนทำให้เกิดความเคยชินกับหูเรานั้นมีหลายเสียงหลายเหตุการณ์ ซึ่งเราก็ไม่ได้สังเกตุกับเหตุการณ์เหล่านี้มากนัก ผมจะยกตัวอย่างเช่น การที่เราเปิดพัดลมเป่าเพื่อให้เกิดความเย็นในตอนที่เรานอนตอนกลางคืนเสียงเหล่านี้อาจไม่เป็นอันตรายมากนัก เสียงเหล่านี้เรียกว่าเสียงระดับต่ำที่ดังสม่ำเสมอ ตามโรงงานได้ควบคุมเสียงที่เกิดจากพัดลม ให้ลดน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้ได้มาตราฐานและนำออกจำหน่ายได้ เพราะฉะนั้นเสียงพัดลมจึงไม่ก่อให้เกิดเสียงดังจนทำให้ก่อเกิดอันตรายได้ เพราะไม่กระตุ้นให้หัวใจเต้นเเรง, หายใจหอบ, ตื่นตระหนกหรือเครียด แบบที่ร่างกายตอบสนองต่อเสียงที่ทำให้สะดุ้งตื่นตกใจ แต่หากเราใช้สิ่งของเหล่านี้ไปนานๆ อาจก่อให้เกิดความเสื่อมสภาพขึ้นและเป็นเหตุที่ก่อให้เกิดเสียงดังแต่ไม่ก่อให้เกิดความน่ารำคาญ และเสียงเหล่านั้นไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อหูของเราแต่ก่อให้เกิดผลเสียข้างเคียง เช่น ทำให้เราหลับไม่เต็มอิ่ม(ถ้ามีเสียงที่ดังตลอดเวลา เวลาเราหลับ จะทำให้เราหลับไม่เต็มอิ่ม) เกิดโรคต่างๆตามมาภายหลังเช่น โรคหัวใจ, ไมเกรน

 

จะกล่าวได้ว่า เสียงจากพัดลมที่ดังต่อเนื่องและไม่ก่อให้เกิดการกระตุ้นจากร่างกายนั้น ถ้าดังเกินไป อาจส่งผลข้างเคียงทำให้เกิดโรคขึ้นมาภายหลังหรือเกิดผลข้างเคียงที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของเราได้ เพราะฉะนั้นจะเป็นการดี ถ้าหากเราควรเช็คสภาพของพัดลมอยู่บ่อยๆ หรือคอยสังเกตุเสียงที่เกิดจากพัดลมว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เพราะเราใช้พัดลมทุกวันและสิ่งนี้ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก แต่เราไม่เคยให้ความสำคัญกับมันเลยphoto-1455026733626-d2d31efe4976


 

“มลพิษทางเสียง – อันตรายจากเสียงรบกวนที่เราคาดไม่ถึง” 0

“มลพิษทางเสียง – อันตรายจากเสียงรบกวนที่เราคาดไม่ถึง”

เสียงรบกวนนั้นมีอยู่ในทุกที่ซึ่งแทรกซึมอยู่ในการใช้ชีวิตประจำวันของเรา ซึ่งรวมไปถึงเสียงรบกวนที่เกิดจากรถบนท้องถนน, โรงงานและเสียงที่เกิดจากสภาพแวดล้อมจากรอบๆตัวเรา, มีการวิจัยมาแล้วว่า เสียงรบกวนขณะที่เรานอนหลับนั้นจะรบกวนการนอนหลับ ทำให้นอนหลับไม่เต็มอิ่มและเกิดผลเสียตามมา ดังนั้นการนอนหลับในที่ๆสงบๆไม่มีเสียบงรบกวนนั้นสำคัญมาก และถือเป็นเรื่องเล็กน้อยที่ไม่ควรมองข้ามไปเลย

การคำนวณระดับเสียงรบกวนโดยการใช้หูนั้นยากที่ทำได้. เพื่อป้องกันไม่ให้สูญเสียการได้ยิน, ควรมั่นใจว่าเสียงที่เราได้ยินนั้นไม่อยู่ในระดับที่อันตรายต่อสุขภาพ(เสียงที่สูงกว่า90เดซิเบล(A), การป้องกันไม่ให้เกิดการสูญเสียการได้ยินนั้นทำได้ง่าย แต่การทำให้หูกลับมาดีเหมือนเดิมนั้นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ดังเช่นคำกล่าวที่ว่า “กันไว้ดีกว่าแก้”

และแน่นอนว่ามลพิษทางเสียงเป็นภัยเงียบที่เกิดจากสิ่งรอบตัวขอบเรา และมันทำให้สุขภาพของเราถดถอยลง, รวมถึงการเป็นโรคหัวใจ และได้มีการเปิดเผยว่า ระดับเสียงรบกวนที่ก่อให้ร่างกายถดถอยลง มาจากชีวิตประจำวันของเรา เช่น จากรถมอเตอร์ไซและเสียงเครื่องบินอีกทั้งยังรวมถึง เครื่องเป่าใบไม้,เครื่องตัดหญ้า,เสียเพลงดังๆ ที่สามารถทำให้เกิดคลื่นเสียงในระดับอันตรายได้

ดังนั้นเราจะทำอะไรได้บ้างเกี่ยวกับเรื่องมลพิษทางเสียงที่เกิดจากรอบๆบ้าน เพื่อป้องกันการสูญเสียสมรรถภาพทางร่างกายของเราก่อนที่จะสายไป? ถ้าคุณอาศัยอยู่ในพื้นที่ๆมีเสียงรบกวนมากๆ เช่น บ้านของคุณใกล้กับสนามบิน, คุณก็ควรที่จะย้ายออกไป เพื่อแลกกับสุขภาพที่ดีของคุณเอง. หรือไม่ คุณควรแปะรอยรั่วรอบบ้านเพื่อป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก หรือซื้อหน้าต่างกันเสียงมาติดตั้งก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีเลยหล่ะ นำพรหม หรือผ้าใหญ่ๆมาวางไว้ที่พื้นก็สามารถลดเสียงดังได้ด้วยเช่นกัน. ถ้าคุณทำงานในที่ๆมีเสียงดัง คุณควรหาที่ปิดหูมาใช้ในระหว่างทำงานก็ถือเป็นเรื่องดี

อย่างไรก็ดี การอยู่กับเสียงดังติดต่อกันมากกว่า8ชั่วโมง ในระดับ85เดซิเบล ก็จะก่อให้เกิดอันตรายต่อการได้ยินได้; ทั้งนี้รวมไปถึง เสียง85เดซิเบล บนท้องถนนที่ดังต่อเนื่องตลอดเวลาก็ยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพอีกด้วยphoto-1456419410527-58a934a42494

ความแตกต่างระหว่าง “ระดับเสียง” กับ “ความดัง” 0

ในปัจจุบัน ผมพูดภาษาไทยกันจนลืมไปเลยว่าคำไหนที่มีความแตกต่างกันบ้างหรือเปล่า เรามักจะเหมารวมคำที่คล้ายๆกัน แล้วนำมาพูดมาในความหมายที่เหมือนกัน ซึ่ง มีอยู่วันหนึ่งผมก็เกิดสงสัยว่า กลุ่มคำเหล่าที่ ที่จะกล่าวมาทางด้านล่างนี้ มันมีความหมายเหมือนกันซะเหลือเกิน จนผมไม่รู้สึกว่ามันแตกต่างอะไรกัน ผมจึงเกิดความคิดที่จะหาข้อมูลในส่วนนี้ จึงได้ข้อสรุปที่ว่า

คำว่า”ระดับเสียง” Pitch มีหน่วยเป็น dB (decibel)

คำว่า”ระดับความดันเสียง” Sound Pressure Level มีหน่วยเป็น dB (decibel)

คำว่า “ความดัง” Loudness มีหน่วยเป็น โซน (Sone)

คำว่า “ระดับความดัง” Loudness Level มีหน่วยเป็น โฟน (Phon)

ผมจึงขอหยิบยกคำพูดจาก อาจารย์ปราโมช เชี่ยวชาญ ที่ว่า (ให้สังเกตจากกฏหมายฉบับใหม่ ๆ จะพบว่า การกำหนดมาตรฐานเสียงตามกฎหมายต่าง ๆ ของประเทศไทยจะใช้คำว่า ค่าระดับเสียง โดยไม่ใช้คำว่าความดัง เพราะอาจทำให้สับสนกับคำว่า Loudness หรือ Loudness Level)

ขอขอบคุณที่ไดรับฟังและรับชมนะครับ

……………………………………………
เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมมลพิษ . (2544). มลพิษทางเสียง. กรุงเทพมหานคร: บริษัทซิลค์คลับ จำกัด.
ปราโมช เชี่ยวชาญฬ. (2551). เอกสารการสอนชุดวิชาสุขศาสตร์อุตสาหกรรม: การประเมิน. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สราวุธ สุธรรมาสา. (2547). การจัดการมลพิษทางเสียงจากอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร: บริษัทซีแอนด์ เอส พริ้นติ้ง จำกัด
Cyril, M. Harris. (eds.). (1991). Handbook of Acoustical Measurements and Noise Control. 3rd ed. New York : McGraw Hill Inc.
John, E.K. Foreman. (1990). Sound Analysis and Noise Control. New York: Van Nostrand Reinhold.
Lawrence, K. Wang, Norman, C. Pereira and Yung-Tse, Hung (eds). (2005). Advanced Air and Noise Pollution Control. New Jersy: Humana Press Inc.
WHO. (2001). Occupational Exposure to Noise: Evaluation, Prevention and Control. ค้นคืนเมื่อ พฤษภาคม 2555 จาก http//www.mne.psu.edu/lamancusa/me458/

ขอขอบคุณ : http://www.stou.ac.th/Schools/Shs/booklet/book55_3/sanitation.html