Topic: เสียงและการสั่นสะเทือน

การตรวจสอบเสียงและการสั่นสะเทือน 0

“การตรวจสอบเสียงและการสั่นสะเทือน”

หลายโครงการของอาคารก่อสร้างใหม่ โดยส่วนมากมีเสียงดังและมักจะอยู่ใกล้กับพื้นที่ที่อยู่อาศัย หรือแหล่งชุมชน
ดังนั้น คุณจำเป็นจะต้องศึกษาเกี่ยวกับมลพิษทางเสียงก่อน และขอรับคำแนะนำในการดำเนินการสำรวจเสียงก่อนที่จะดำเนินการก่อสร้างระยะยาว เพื่อหาวิธีป้องกัน และแก้ไขเสียงที่เกิดขึ้น

 

โดยทั่วไปการสำรวจเสียงก่อนจะมีการก่อสร้าง ได้ถูกกำหนดให้มี ระดับต่างๆดังนี้ เสียงที่ได้รับการยอมรับได้ และเสียงดังที่ต้องมีการป้องกันก่อนจะดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งทั้งนี้ ผู้ประกอบการ ผู้รับเหมาจะต้องแจ้งให้กับชุมชนแห่งนั้นทราบและมีข้อตกลงซึ่งทั้งสองฝ่ายสามารถยอมรับและรวมอยู่ในข้อตกลงอย่างเป็นทางการ ระหว่างผู้รับเหมาและ(ท้องถิ่น)รัฐบาล.

 

สำหรับการเจาะเสาเข็ม ที่อาจก่อให้เกิดการสั่นสะเทือนในระดับสูง เราขอแนะนำคุณดังนี้
– ข้อมูลนี้จะช่วยให้คุณสามารถกำหนดวิธีการทำงานชนิดของโรงงานที่จะใช้และ มาตรการลดเสียงรบกวนและการสั่นสะเทือนสำหรับบริเวณก่อสร้าง ขอแนะนำให้ติดตั้งเครื่องตรวจวัดเสียงและสั่นสะเทือน ที่มีสัญญาณเตือนโดยอัตโนมัติ
– สามารถทำการวัดเสียงอย่างต่อเนื่อง การคำนวณ เพื่อกำหนดระดับเสียง ทุกนาทีและเปรียบเทียบค่าเหล่านี้กับระดับสูงสุดที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
– หากสถานที่ก่อสร้างมีการทำการเจาะ ตอกหรือทำลายเสาเข็ม ขอแนะนำให้ทำการตรวจสอบความสั่นสะเทือนทุกๆ 10 นาที
– หากมีกำแพงหรือบ้านที่ติดกันโดยตรงกับการสถานที่ก่อสร้าง ต้องทำการประเมินรายละเอียดเป็นราย ๆ ไป
– หากมีการก่อสร้างหรือทำลายอาคารภายในบริเวณ 25 เมตรโดยรอบ และมีบ้านพักอาศัยอยู่ใกล้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการตรวจวัดเกิดขึ้น
– ปกติแล้วการก่อส้รางหรือทำลายตึก อาคาร จะต้องผ่านการเห็นชอบจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องหรือจากข้อบังคับหรือข้อตกลงจากภาครัฐทุกครัง
ปกติแล้วจะเกี่ยวข้องกับ LAeq 10 ชั่วโมงและ LAeq 1 นาที ทั้งนี้ขึ้นกับความเหมาะสมและข้อจำกัดของแต่ละไซต์งาน ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้

 

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก: http://www.geonoise.co.th/เสียงและการตรวจสอบความ/

การหักเหของเสียง 0

การหักเหของเสียง      

                          หมายถึง เสียงที่เดินทางจากตัวกลางหนึ่ง ผ่านรอยต่อของตัวกลางเพื่อเข้าไปยังตัวกลางที่สองแล้วเกิดเปลี่ยนทิศของการเดินทาง ทำให้อัตราเร็วและความยาวคลื่นเสียงเปลี่ยนไป แต่ความถี่ยังคงที่เหมือนเดิม ถ้ามุมหักเหโตกว่า 90 องศา ทิศทางการเคลื่อนที่จะกลับเข้าสู่ตัวกลางเดิม คือ เกิดการสะท้อนกลับหมด เนื่องจากเสียงเป็นคลื่นชนิดหนึ่ง ดังนั้นจึงมีการหักเหเมื่อผ่านตัวกลางต่างชนิด เช่น เสียงตะโกนในอากาศเคลื่อนที่ในอัตราเร็วอันหนึ่ง เมื่อเสียงนี้ผ่านลงในบ่อน้ำจะเปลี่ยนอัตราเร็วเป็นเร็วขึ้น ดังนั้น เมื่อเสียงเคลื่อนที่จากตัวกลางที่มีความเร็วน้อย คือ อากาศเข้าสู่ตัวกลางที่มีความเร็วมากกว่า คือ ในน้ำ เสียงจะหักเหออกจากเส้นตั้งฉากและถ้าเสียงเคลื่อนที่ออกจากตัวกลางที่มีความเร็วมากกว่า ไปสู่ตัวกลางที่มีความเร็วน้อยกว่า เสียงจะหักเหเข้าหาเส้นตั้งฉาก และอัตราเร็วของเสียงขึ้นกับความหนาแน่นของตัวกลางด้วย คือ ตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อย อัตราเร็วของเสียงจะช้ากว่าตัวกลางที่มีความหนาแน่นมาก
                            หลักการนี้ใช้อธิบายเกี่ยวกับการเห็นฟ้าแลบ แต่ไม่ได้ยินเสียงฟ้าร้องได้ เพราะเมื่อเกิดฟ้าแลบเกิดเสียง แต่อากาศใกล้พื้นดินอุณหภูมิสูงกว่าอากาศเบื้องบน การเคลื่อนที่ของเสียงเคลื่อนที่ได้ในอัตราที่ต่างกัน คือ เคลื่อนที่ในอากาศที่มีอุณหภูมิสูงได้เร็วกว่าในอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำ ดังนั้น การเคลื่อนที่ของเสียงจึงเบนขึ้นทีละน้อย ๆ จนข้ามหัวเราไป จึงทำให้ไม่ได้ยินเสียงฟ้าร้อง

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก: http://yaringpat.blogspot.com/2012/10/20-20000-20000-ultrasonic-20-hz.html

ตัวกลางของเสียง 0

ตัวกลางของเสียง

คลื่นเสียงจะเดินทางมีถึงผู้ฟังได้ ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ เช่น ขณะที่นักเรียนพูดกับเพื่อนเสียงเดินทางผ่านอากาศมาถึงหูเพื่อนจึงจะได้ยินเสียง หรือเมื่อคนงานซ่อมรางรถไฟเอาหูแนบกับรางรถไฟฟังเสียงว่ามีรถไฟมาหรือไม่ นั่นแสดงว่าเสียงต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่

เสียง, ความสั่นสะเทือนและส้อม สามารถบอกอะไรเราได้บ้าง 0

เสียง, ความสั่นสะเทือนและส้อม สามารถบอกอะไรเราได้บ้าง

เมื่อเราเคาะส้อมเสียงจะได้ยินเสียงสูงต่ำต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับ ส้อมเสียงนั้น ๆ ว่ามีความถี่เท่าไร ถ้าเราจับส้อม เราจะรู้สึกได้ว่าส้อมเสียงสั่น หรือ หลังจากเคาะส้อมเสียงแล้วเอาส้อมเสียงจุ่มลงไปในน้ำจะเห็นน้ำกระเพื่อมกระจายเป็นคลื่นออกไป นั่นแสดงว่าเสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ ซึ่งการสั่นสะเทือนทำให้ตัวกลาง เกิดการสั่นแล้วถ่ายโอนพลังงานให้แก่อนุภาคของตัวกลางถัดไป
โดยที่อนุภาคของตัวกลาง มีการสั่นกลับไปกลับมา ทำให้เกิดคลื่นเสียงขึ้น วัตถุที่มีมวลมากจะสั่นช้ากว่าวัตถุที่มีมวลน้อยทำให้ความถี่ของเสียงต่ำกว่าวัตถุที่มีมวลน้อยกว่า

สามารถเข้าไปดูข้อมูลเต็มๆได้ที่: http://yaringpat.blogspot.com/2012/10/20-20000-20000-ultrasonic-20-hz.html

Pile load test 0

การวัดความสมบูรณ์ของเสาเข็ม(Pile load test) มีอยู่3 วิธี แต่วันนี้ผมจะมาอธิบายแบบคร่าวๆ ของ 2 วิธีหลักๆ คือ 1.) Dynamic load และ 2.) Seismic test

ทั้ง 2 วิธีนี้ สามารถทดสอบความสมบูรณ์ได้ทั้งสอง แต่ต่างกันที่วิธีการ เราจะมาอธิบายให้เข้าใจกันนะครับ

1.) Dynamic load

การทดสอบแบบนี้ จะใช้งบประมาณที่มากและเวลาที่จำกัด เพราะต้องใช้ปั้นจั่นยกลูกตุ้มที่มีน้ำหนักมาก และปล่อยให้ลูกตุ้มลงมากระแทกเสาเข็ม และนั่นจึงทำให้สามารถหาค่าความสมบูรณ์ของเสาเข็มได้ ราคาค่าวัดโดยประมาณแล้ว ตกอยู่ที่ประมาณต้นละ 30,000 บาท

Pile-Driving-Equipment

ที่มา: http://gops-madgops.blogspot.com/2013/06/load-tests-for-piles.html

 

 

2.) Seismic test

การทดสอบเสาเข็มในแบบนี้ เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เพราะไม่ต้องใช้เครื่องทุ่นแรงเยอะ และถูกกว่าแบบอื่นๆ เพียงแค่ใช้คนๆเดียวก็สามารถวัดค่าได้อย่างง่ายดาย การวัดแบบนี้สามารถวัดโดยใช้เครื่องวิเคราะห์ความสมบูรณ์ทาบลงไปบนเสาเข็ม จากนั้นให้ใช้ค้อนทุบลงไปบนเสาเข็มและผลลัพท์ที่ได้ก็จะปรากฎลงบนเครื่องวิเคราะห์ความสมบูรณ์เสาเข็ม โดยที่ผู้ทดสอบจะต้องกำหนดค่าความยาวของเสาเข็ม และใช้การวิเคราะห์เพื่อให้มั่นใจว่า เสาต้นนั้น มีรอยร้าวที่ตรงไหนโดยที่ต้องดูจากผลที่แสดงออกมาผ่านหน้าจอ โดยที่คลื่นจะสะท้อนกลับ ถ้ามีรอยร้าวจะรู้ได้โดยทันที เพราะการสะท้อนกลับจากผลลัพท์นั้นจะกลับมาเร็วกว่าปกติ และจะบอกรอยร้าวหรือรอยแคล็กตามระยะ

Parallel-Seismic-test-e1377164874334

ที่มา: http://www.cosmoctc.com/