
เกร็ดความรู้เรื่องมลพิษทางเสียง 0

1. ผลกระทบต่อการได้ยิน แบ่งเป็น 3 ลักษณะคือ
– หูหนวกทันที เกิดขึ้นจากการที่อยู่ในบริเวณที่มีเสียงดังเกิน 120 เดซิเบลเอ
– หูอื้อชั่วคราว เกิดขึ้นเมื่ออยู่ในที่มีระดับเสียงดังตั้งแต่ 80 เดซิเบลเอขึ้นไปในเวลาไม่นานนัก
– หูอื้อถาวร เกิดขึ้นเมื่ออยู่ในบริเวณที่มีระดับความดังมากเป็นเวลานานๆ
2. ด้านสรีระวิทยา เช่น ผลกระทบต่อระบบการหมุนเวียนของเลือด ต่อมไร้ท่อ อวัยวะสืบพันธุ์ ระบบประสาท และความผิดปกติของระบบการหดและบีบลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
3. ด้านจิตวิทยา เช่น สร้างความรำคาญ ส่งผลต่อการนอนหลับพักผ่อน ผลต่อการทำงานและการเรียนรู้ รบกวนการสนทนาและการบันเทิง
4. ด้านสังคม กระทบต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำให้ขาดความสงบ
5. ด้านเศรษฐกิจ มีผลผลิตต่ำเนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานลดลง เสียค่าใช้จ่ายในการควบคุมเสียง
6. ด้านสิ่งแวดล้อม เสียงดังมีผลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ เช่น ทำให้สัตว์ตกใจและอพยพหนี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://look-edu.wikispaces.com/%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87
มลพิษทางเสียง (Noise pollution)
มลพิษทางเสียงนั้น หมายถึงเสียงที่รบกวน หรือเสียงที่ดังเกินไปจนก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวบุคคล, สัตว์ หรือสิ่งมีชัวิตอื่นๆที่สารถได้ยินเสียงแล้วเกิดอันตรายได้ต่อตัวเองได้
แล้วมลพิษทางเสียงเนี่ย มันมาจากไหนกันหล่ะะฃ
1.เสียงจากการจราจร
คือเสียงจากเครื่องจักร, เครื่องยนต์ที่ใช้สัญจร, เสียงบนท้องถนน และอื่นๆ
2.เสียงจากสถานประกอบการณ์
คือเสียงที่เกิดจากการกระทำที่เกิดจากการทำกิจการธุรกิจของผู้ประกอบการณ์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม, สถานก่อสร้าง, โรงกลึงเหล็ก, และอื่นๆ
3.ชุนชนและสถานบริการ
คือเสียงดังที่เกิดจากตัวของผู้อยู่อาศัยในระแวกใกล้เคียงหรือสถานที่ประกอบการบริการและก่อให้เกิดเสียงดัง เช่น สถานเริงรมณ์, ชุมชน, สถานีวิทยุ, สถานีโทรทัศน์
ผลกระทบต่อการได้ยิน
-หูหนวกทันที เกิดขึ้นจากการที่อยู่ในบริเวณที่มีเสียงดังเกิน 120 เดซิเบลเอ
-หูหนวกชั่วคราว เกิดขึ้นเมื่ออยู่ในที่มีระดับเสียงดังตั้งแต่ 80 เดซิเบลเอขึ้นไปในเวลาไม่นานนั
-หูหนวกถาวร เกิดขึ้นเมื่ออยู่ในบริเวณที่มีระดับความดังมากเป็นเวลานานๆ
“มลพิษทางเสียง – อันตรายจากเสียงรบกวนที่เราคาดไม่ถึง”
เสียงรบกวนนั้นมีอยู่ในทุกที่ซึ่งแทรกซึมอยู่ในการใช้ชีวิตประจำวันของเรา ซึ่งรวมไปถึงเสียงรบกวนที่เกิดจากรถบนท้องถนน, โรงงานและเสียงที่เกิดจากสภาพแวดล้อมจากรอบๆตัวเรา, มีการวิจัยมาแล้วว่า เสียงรบกวนขณะที่เรานอนหลับนั้นจะรบกวนการนอนหลับ ทำให้นอนหลับไม่เต็มอิ่มและเกิดผลเสียตามมา ดังนั้นการนอนหลับในที่ๆสงบๆไม่มีเสียบงรบกวนนั้นสำคัญมาก และถือเป็นเรื่องเล็กน้อยที่ไม่ควรมองข้ามไปเลย
การคำนวณระดับเสียงรบกวนโดยการใช้หูนั้นยากที่ทำได้. เพื่อป้องกันไม่ให้สูญเสียการได้ยิน, ควรมั่นใจว่าเสียงที่เราได้ยินนั้นไม่อยู่ในระดับที่อันตรายต่อสุขภาพ(เสียงที่สูงกว่า90เดซิเบล(A), การป้องกันไม่ให้เกิดการสูญเสียการได้ยินนั้นทำได้ง่าย แต่การทำให้หูกลับมาดีเหมือนเดิมนั้นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ดังเช่นคำกล่าวที่ว่า “กันไว้ดีกว่าแก้”
และแน่นอนว่ามลพิษทางเสียงเป็นภัยเงียบที่เกิดจากสิ่งรอบตัวขอบเรา และมันทำให้สุขภาพของเราถดถอยลง, รวมถึงการเป็นโรคหัวใจ และได้มีการเปิดเผยว่า ระดับเสียงรบกวนที่ก่อให้ร่างกายถดถอยลง มาจากชีวิตประจำวันของเรา เช่น จากรถมอเตอร์ไซและเสียงเครื่องบินอีกทั้งยังรวมถึง เครื่องเป่าใบไม้,เครื่องตัดหญ้า,เสียเพลงดังๆ ที่สามารถทำให้เกิดคลื่นเสียงในระดับอันตรายได้
ดังนั้นเราจะทำอะไรได้บ้างเกี่ยวกับเรื่องมลพิษทางเสียงที่เกิดจากรอบๆบ้าน เพื่อป้องกันการสูญเสียสมรรถภาพทางร่างกายของเราก่อนที่จะสายไป? ถ้าคุณอาศัยอยู่ในพื้นที่ๆมีเสียงรบกวนมากๆ เช่น บ้านของคุณใกล้กับสนามบิน, คุณก็ควรที่จะย้ายออกไป เพื่อแลกกับสุขภาพที่ดีของคุณเอง. หรือไม่ คุณควรแปะรอยรั่วรอบบ้านเพื่อป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก หรือซื้อหน้าต่างกันเสียงมาติดตั้งก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีเลยหล่ะ นำพรหม หรือผ้าใหญ่ๆมาวางไว้ที่พื้นก็สามารถลดเสียงดังได้ด้วยเช่นกัน. ถ้าคุณทำงานในที่ๆมีเสียงดัง คุณควรหาที่ปิดหูมาใช้ในระหว่างทำงานก็ถือเป็นเรื่องดี
อย่างไรก็ดี การอยู่กับเสียงดังติดต่อกันมากกว่า8ชั่วโมง ในระดับ85เดซิเบล ก็จะก่อให้เกิดอันตรายต่อการได้ยินได้; ทั้งนี้รวมไปถึง เสียง85เดซิเบล บนท้องถนนที่ดังต่อเนื่องตลอดเวลาก็ยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพอีกด้วย
ติดต่อเรา