Topic: กฎหมายเกี่ยวกับมลพิษทางเสียงและความสั่นสะเทือน

การตรวจสอบเสียงและการสั่นสะเทือน 0

“การตรวจสอบเสียงและการสั่นสะเทือน”

หลายโครงการของอาคารก่อสร้างใหม่ โดยส่วนมากมีเสียงดังและมักจะอยู่ใกล้กับพื้นที่ที่อยู่อาศัย หรือแหล่งชุมชน
ดังนั้น คุณจำเป็นจะต้องศึกษาเกี่ยวกับมลพิษทางเสียงก่อน และขอรับคำแนะนำในการดำเนินการสำรวจเสียงก่อนที่จะดำเนินการก่อสร้างระยะยาว เพื่อหาวิธีป้องกัน และแก้ไขเสียงที่เกิดขึ้น

 

โดยทั่วไปการสำรวจเสียงก่อนจะมีการก่อสร้าง ได้ถูกกำหนดให้มี ระดับต่างๆดังนี้ เสียงที่ได้รับการยอมรับได้ และเสียงดังที่ต้องมีการป้องกันก่อนจะดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งทั้งนี้ ผู้ประกอบการ ผู้รับเหมาจะต้องแจ้งให้กับชุมชนแห่งนั้นทราบและมีข้อตกลงซึ่งทั้งสองฝ่ายสามารถยอมรับและรวมอยู่ในข้อตกลงอย่างเป็นทางการ ระหว่างผู้รับเหมาและ(ท้องถิ่น)รัฐบาล.

 

สำหรับการเจาะเสาเข็ม ที่อาจก่อให้เกิดการสั่นสะเทือนในระดับสูง เราขอแนะนำคุณดังนี้
– ข้อมูลนี้จะช่วยให้คุณสามารถกำหนดวิธีการทำงานชนิดของโรงงานที่จะใช้และ มาตรการลดเสียงรบกวนและการสั่นสะเทือนสำหรับบริเวณก่อสร้าง ขอแนะนำให้ติดตั้งเครื่องตรวจวัดเสียงและสั่นสะเทือน ที่มีสัญญาณเตือนโดยอัตโนมัติ
– สามารถทำการวัดเสียงอย่างต่อเนื่อง การคำนวณ เพื่อกำหนดระดับเสียง ทุกนาทีและเปรียบเทียบค่าเหล่านี้กับระดับสูงสุดที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
– หากสถานที่ก่อสร้างมีการทำการเจาะ ตอกหรือทำลายเสาเข็ม ขอแนะนำให้ทำการตรวจสอบความสั่นสะเทือนทุกๆ 10 นาที
– หากมีกำแพงหรือบ้านที่ติดกันโดยตรงกับการสถานที่ก่อสร้าง ต้องทำการประเมินรายละเอียดเป็นราย ๆ ไป
– หากมีการก่อสร้างหรือทำลายอาคารภายในบริเวณ 25 เมตรโดยรอบ และมีบ้านพักอาศัยอยู่ใกล้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการตรวจวัดเกิดขึ้น
– ปกติแล้วการก่อส้รางหรือทำลายตึก อาคาร จะต้องผ่านการเห็นชอบจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องหรือจากข้อบังคับหรือข้อตกลงจากภาครัฐทุกครัง
ปกติแล้วจะเกี่ยวข้องกับ LAeq 10 ชั่วโมงและ LAeq 1 นาที ทั้งนี้ขึ้นกับความเหมาะสมและข้อจำกัดของแต่ละไซต์งาน ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้

 

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก: http://www.geonoise.co.th/เสียงและการตรวจสอบความ/

มาตรฐานที่ใช้ในสถานที่ทำงานที่ทุกๆที่ควรมี 0

รู้ไว้ใช่ว่ามาตรฐานที่ใช้ในสถานที่ทำงานที่ทุกๆที่จะต้องมี มีดังนี้.

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549 ได้ระบุไว้ดังนี้

• ข้อ 8 นายจ้างต้องควบคุมระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงานในแต่ละวัน (Time Weighted Average-TWA) มิให้เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ในตารางที่ 6 ท้ายกฎกระทรวงนี้

• ข้อ 9 ในบริเวณสถานประกอบกิจการที่มีระดับเสียงกระทบหรือเสียงกระแทก (Impact or Impulse Noise) เกินหนึ่งร้อยสี่สิบเดซิเบลเอ หรือมีปริมาณเสียงสะสมของเสียงกระทบหรือเสียงกระแทกเกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ในตารางที่ 6 ท้ายกฎกระทรวงนี้ นายจ้างต้องให้ลูกจ้างหยุดทำงานจนกว่าจะได้ปรับปรุงหรือแก้ไขระดับเสียงหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจวัดระดับเสียงกระทบหรือเสียงกระแทก ให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

• ข้อ 10 ภายในสถานประกอบกิจการที่สภาวะการทำงานมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเกินมาตรฐานที่กำหนดในข้อ 8 หรือข้อ 9 ให้นายจ้างดำเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขสิ่งที่เป็นต้นกำเนิดของเสียงหรือทางผ่านของเสียงหรือการบริหารจัดการเพื่อให้มีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับอยู่ไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด
ในกรณียังดำเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขตามวรรคหนึ่งไม่ได้ นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามที่กำหนดไว้ในหมวด 4 ตลอดเวลาที่ทำงาน เพื่อลดเสียงให้อยู่ในระดับที่ไม่เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ในข้อ 8 หรือข้อ 9

• ข้อ 11 ในบริเวณที่มีระดับเสียงเกินมาตรฐานที่กำหนดในข้อ 8 หรือข้อ 9 นายจ้างต้องจัดให้มีเครื่องหมายเตือนให้ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลติดไว้ให้ลูกจ้างเห็นได้โดยชัดเจน

• ข้อ 12 ในกรณีที่สภาวะการทำงานในสถานประกอบกิจการมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานแปดชั่วโมงตั้งแต่แปดสิบห้าเดซิเบลเอขึ้นไป ให้นายจ้างจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: http://www.shawpat.or.th/index.php
————————–————————–——————

ตอบข้อสงสัยกับกรณีที่ร้านอาหารที่เล่นดนตรีเสียงดัง 0

photo-1475721027785-f74eccf877e2

ร้านอาหารเล่นดนตรีเสียงดัง
เปิดซองส่องไทย : ร้านอาหารเล่นดนตรีเสียงดัง
ผมพักอาศัยอยู่ใน จ.สมุทรสาคร มีร้านอาหารหรือสถานบันเทิงไม่แน่ใจชื่อร้าน เปิดบริการบริเวณถนนเอกชัย ตรงข้ามซอยสามร้อยห้อง เปิดบริการถึงเวลา 01.00-02.00 น. ทุกวัน ร้านเป็นร้านอาหารเปิดโล่ง มีการแสดงดนตรีสด ทำให้เกิดเสียงดังรบกวนชาวบ้านบริเวณข้างเคียง
.
มีข้อสอบถาม ดังนี้
– ลักษณะดังกล่าวถือเป็นมลพิษทางเสียงหรือไม่ และมีบทกฎหมาย/หน่วยงานที่สามารถร้องเรียนได้หรือไม่
– ได้ร้องเรียนไปยังตำรวจเมื่อเกิดเสียงดัง แต่ก็สามารถลดเสียงได้เป็นครั้งคราวเท่านั้น
– จากที่อ่านในเว็บไซต์ กฎหมายไทยมีกำหนดแค่เพียงระดับเสียงที่ไม่ทำลายการได้ยินเท่านั้น ที่กรมควบคุมมลพิษกำหนดว่า เป็นเสียงในสิ่งแวดล้อมทั่วไป ไม่เกิน 70 เดซิเบล ค่าที่วัดต้องเป็นค่าเฉลี่ยหรือไม่ หรือวัดว่าถ้ามีแค่ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเกิน 70 เดซิเบล ก็ไม่ได้
– จากที่ได้หาข้อมูลมา ส่วนมากไม่สามารถดำเนินการกับเจ้าของร้านอาหารหรือสถานบริการได้ เนื่องจากทางร้านสามารถปรับระดับเสียงในช่วงที่จะเข้ามาตรวจได้ และเปิดดังในช่วงที่ไม่ได้มีการตรวจวัด แล้วจะมีวิธีการป้องกันแก้ไขอย่างไร
– พื้นที่โซนนิ่งสถานบริการของสมุทรสาครอยู่บริเวณใดบ้าง จะได้รับทราบว่าบ้านอยู่ในเขตสถานบริการ จะได้ทำใจยอมรับ
ผมอยากจะได้ความเงียบสงบกลับคืนมา เพราะรบกวนชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัว แต่ก็ไม่อยากไปเบียดเบียนการทำมาหากินและธุรกิจของเขา มีวิธีไหนที่แต่ละฝ่ายสามารถอยู่ด้วยกันอย่างสันติ
———————————————————-
ตอบ
เทศบาลนครสมุทรสาคร ชี้แจงว่า ภาพรวมผู้ดูแลพื้นที่ในส่วนนี้ รวมถึงปัญหาส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครเท่านั้น ที่เป็นผู้ดูแล ควบคุม และแก้ไขปัญหา
ส่วนเรื่องเสียงดังสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ชาวบ้านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ เทศบาลนครสมุทรสาคร ที่เข้ามาดูแลและแก้ไขปัญหาในเรื่องเวลาเปิด-ปิดนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือตำรวจ โดยหน่วยงานทุกฝ่ายต้องมีการบูรณาการรวมกันในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น แต่หากตำรวจมีการตักเตือนแล้วไม่ฟังก็สามารถจับกุมได้ทันที หรือทางอำเภอสามารถสั่งปิดได้ โดยได้มีคำสั่งจากผู้ว่าราชการจังหวัด
ด้าน สภ.เมืองสมุทรสาคร ชี้แจงว่า ให้มีการปิดบริการในแต่ละวันไม่เกิน 01.00 น. เพราะสายตรวจลงตรวจพื้นที่ประจำ กรณีเสียงดังต้องดูก่อนว่าเสียงดังแค่ไหนที่เรียกว่ารบกวน เพราะร้านเป็นร้านอาหารเปิดโล่ง มีการแสดงดนตรีสด ที่เป็นแนวเพลงอะคูสติกเบาๆ แต่หากมีเสียงดังมากเกินไป ก็ต้องไปตักเตือนให้ทางร้านปรับปรุงและแก้ไขต่อไป
———————————————————————-

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: http://www.komchadluek.net/news/unclecham/248216

 

 

มลพิษทางเสียง (Noise pollution) 0

มลพิษทางเสียง (Noise pollution)

มลพิษทางเสียงนั้น หมายถึงเสียงที่รบกวน หรือเสียงที่ดังเกินไปจนก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวบุคคล, สัตว์ หรือสิ่งมีชัวิตอื่นๆที่สารถได้ยินเสียงแล้วเกิดอันตรายได้ต่อตัวเองได้

แล้วมลพิษทางเสียงเนี่ย มันมาจากไหนกันหล่ะะฃ

1.เสียงจากการจราจร

คือเสียงจากเครื่องจักร, เครื่องยนต์ที่ใช้สัญจร, เสียงบนท้องถนน และอื่นๆ

2.เสียงจากสถานประกอบการณ์

คือเสียงที่เกิดจากการกระทำที่เกิดจากการทำกิจการธุรกิจของผู้ประกอบการณ์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม, สถานก่อสร้าง, โรงกลึงเหล็ก, และอื่นๆ

3.ชุนชนและสถานบริการ

คือเสียงดังที่เกิดจากตัวของผู้อยู่อาศัยในระแวกใกล้เคียงหรือสถานที่ประกอบการบริการและก่อให้เกิดเสียงดัง เช่น สถานเริงรมณ์, ชุมชน, สถานีวิทยุ, สถานีโทรทัศน์

 

ผลกระทบต่อการได้ยิน

-หูหนวกทันที เกิดขึ้นจากการที่อยู่ในบริเวณที่มีเสียงดังเกิน 120 เดซิเบลเอ

-หูหนวกชั่วคราว เกิดขึ้นเมื่ออยู่ในที่มีระดับเสียงดังตั้งแต่ 80 เดซิเบลเอขึ้นไปในเวลาไม่นานนั

-หูหนวกถาวร เกิดขึ้นเมื่ออยู่ในบริเวณที่มีระดับความดังมากเป็นเวลานานๆ

photo-1455014925136-e46fb2ccc345