Monthly Archives: May 2019

เดซิเบล(dB) 0



เดซิเบล (เดซิเบล) คือหน่วยที่ใช้วัดความเข้มของเสียง
มาตราส่วนเดซิเบลไม่ใช่เส้นตรง แต่ลอการิทึม ซึ่งหมายความว่าการเพิ่มระดับเดซิเบลโดยปัจจัยหรือ 10 ทำให้พลังเสียงเพิ่มขึ้น 10 เท่า
ตัวอย่างเช่นในระดับเดซิเบลเสียงที่ได้ยินน้อยที่สุด (ใกล้ความเงียบทั้งหมด) คือ 0 dB
เสียงที่มีพลังมากถึง 10 เท่าคือ 10 dB เสียงที่มีพลังมากถึง 100 เท่าคือ 20 เดซิเบลและเสียงที่มีพลังมากถึง 1000 เท่าคือ 30 dB! เสียงเครื่องยนต์ไอพ่นมีขนาดประมาณ 1,000.000.000 (1 พันล้าน) ครั้งมีพลังมากกว่าเสียงที่มีขนาดเล็กที่สุด
 
ตัวอย่างบางส่วนด้านล่างนี้เป็นตารางที่มีกิจกรรมบางอย่างและระดับเดซิเบล
ใกล้ความเงียบ 0 เดซิเบล (เดซิเบล)
กระซิบ 10 เดซิเบล (เดซิเบล)
สตูดิโอบันทึก 20 เดซิเบล (เดซิเบล)
เสียงพื้นหลังในย่านชานเมือง 40 เดซิเบล (เดซิเบล)
สำนักงานธุรกิจที่วุ่นวาย 60 เดซิเบล (เดซิเบล)
การจราจรบนถนนที่ไม่ว่าง 80 เดซิเบล (เดซิเบล)
เครื่องบินทั่วไป 100 เดซิเบล (เดซิเบล)
เจาะเครื่องที่ระยะใกล้ 120 เดซิเบล (เดซิเบล)
เกณฑ์ความเจ็บปวด 130 เดซิเบล (เดซิเบล)
เครื่องยนต์ไอพ่นที่ความสูง 25 ม. 140 เดซิเบล (เดซิเบล)
ภายใต้ระดับลอการิทึมเดซิเบลถ้าระดับเสียงเพิ่มขึ้น 3 เดซิเบลความเข้มของเสียงจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า
 อย่างไรก็ตามหูของมนุษย์ไม่รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงระดับเสียงในระดับเดียวกับที่พลังงานเสียงเพิ่มขึ้น คนส่วนใหญ่แทบจะไม่สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลง 3 dB

การเปลี่ยนแปลงของ 6 dB จะเห็นได้ชัดในขณะที่การลดลง 10 dB จะรับรู้เป็นครึ่งเสียงดัง
 ความเข้าใจที่แตกต่างของการรับรู้ของหูของมนุษย์และปริมาณพลังงานเสียงที่แท้จริงมีความสำคัญมาก ซึ่งหมายความว่า 90% (!) ของเสียงที่กำหนดจะต้องมีการตัดออกก่อนที่คนส่วนใหญ่จะตัดสินว่าเสียงครึ่งดังมาก









 บริษัท จีโอนอยซ์(ไทยแลนด์)จำกัด.
รับปรึกษาปัญหาด้านการควบคุมเสียงโดยวิศกรแห่งประเทศไทย


เดซิเบล (Decibel – dB) 0



เดซิเบล (Decibel – dB)


ในงานที่เกี่ยวกับเสียงเรามักจะได้ยินชื่อหน่วยเดซิเบลเป็นประจำ จนทำให้หลายคนเข้าใจไปว่า “เดซิเบล” เป็นหน่วยวัดความดังเสียง
เป็นความเข้าใจที่ผิดค่ะ!! เดซิเบลเปล่าๆ ไม่มีอะไรต่อท้ายเลย เป็นการบอกปริมาณแบบสัมพัทธ์ ปริมาณที่ระบุโดยนิยามจะเป็นปริมาณกลุ่ม “กำลัง” ที่มีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt) สมการคำนวณค่าเดซิเบลคือ

“PdB=10log(PPref)dB”

เมื่อ Pref คือค่ากำลังที่ใช้อ้างอิงหน่วยเป็น

วัตต์ P คือค่ากำลังที่เราสนใจหน่วยเป็นวัตต์
และ PdB คือค่ากำลังที่เราสนใจ แต่ระบุหน่วยเป็นเดซิเบลเมื่อเทียบกับค่ากำลังอ้างอิง นี้หมายความว่าหาก P ที่เราสนใจมีค่าเท่ากับค่ากำลังอ้างอิง Pref แล้วล่ะก็ PdB ที่คำนวณได้จะเป็น 0 เดซิเบลค่ะ หากกำลัง P ที่สนใจมีค่ามากกว่า Pref ค่าเดซิเบลก็จะเป็นบวก ในแง่มุมนี้เราใช้เดซิเบลในการบอกระดับของสัญญาณว่ามีขนาดเท่าใดเมื่อเทียบกับขนาดสัญญาณอ้างอิง


การใช้งานค่าเดซิเบลอีกทางหนึ่งคือการบอกอัตราขยาย (Gain) ของระบบ ในกรณีนี้ระดับสัญญาณอินพุตจะเป็นค่าอ้างอิง หากค่าเดซิเบลเป็นบวกแปลว่าระบบขยายสัญญาณให้ใหญ่ขึ้น ในทางกลับกันหากค่าเดซิเบลเป็นลบหมายความว่าระบบย่อสัญญาณให้เล็กลง
ในทางปฏิบัติเราอาจไม่ได้วัดค่ากำลังของสัญญาณ แต่จะวัดเป็นปริมาณภาคสนามหรือปริมาณรากของกำลัง (Field Quantities – ปัจจุบันเรียกว่า Root-Power Quantities) เช่นแรงดัน (Voltage) กระแส (Current) ความดันเสียง (Sound Pressure) เพื่อให้เข้าใจง่ายจะให้พิจารณาที่แรงดันและวงจรขยายแรงดันนะคะ
หากเรามีแรงดันค่าหนึ่ง (V1) เอาไว้ขับโหลดตัวหนึ่ง (R) เราคิดว่าแรงดันนี้น้อยเกินไปอยากจะขยายให้มากขึ้น ก็เลยนำไปขยายกลายเป็นแรงดันอีกค่าหนึ่ง (V2) ก็ตั้งใจให้ใช้ขับโหลด Rตัวเดิมนั่นแหละ หากต้องการพิจารณาว่าขยายสัญญาณได้กี่เดซิเบลก็ใช้สมการ
VdB=10log(V2out/RV2in/R) =20log (VoutVin)
จะเห็นได้ว่าหน่วยเดซิเบลเฉยๆ ไม่มีความหมายอะไรเลยหากไม่ทราบว่าค่ากำลังอ้างอิงนั้นเป็นเท่าใดค่ะ

ขอขอบคุณสาระดีๆจาก 
https://avsth.in.th/ ด้วยค่ะ

สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราได้ที่ 
http://www.geonoise.co.th/ 
https://www.geonoise.com/
http://www.mitspcb.com/index.htm
https://pcbprototyping.com/mits/
สามารถติดต่อเราได้ที่
Tel Office : 02-003-5904,02-1214399
Line : @geonoise


#Geonoise #GeonoiseThailand #Norsonic #Impedancetube #ตรวจวัดเสียง #เสียงรบกวน #เครื่องวัดเสียง #จำหน่ายเครื่องวัดเสียง #รับปรึกษาปัญหาเรื่องเสียง #ควบคุมเสียง #SoundSource #BuildingAcoustics#เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือน 
#โปรแกรมเสียง #บริการสอบเทียบ #Calibration #NoiseAlarm#SoundPLAN #NoiseAtWork #Noisecontour #มลพิษทางเสียง#Acoustic #เครื่องวัดฝุ่น #Dustmate #หาแหล่งกำเนิดเสียง #วิเคราะห์เสียง #Measurement #Microphone #NoiseTraining #เครื่องแกะสลักแผงวงจร

โรงน้ำแข็งเสียงดัง 0

โรงน้ำแข็งใน ซ.พูลศรีช่วงที่ 2 ต.บางศรีเมือง อ.เมือง จ.นนทบุรี สร้างมลภาวะทางเสียงกับอากาศมาก ชาวบ้านละแวกนี้เริ่มรวมตัวกันแล้ว เนื่องจากพักผ่อนไม่เพียงพอ

ก่อนตั้งโรงน้ำแข็ง มีการทำประชาพิจารณ์ออกมาก่อน ผลสรุป คือ ไม่ผ่านการทำประชาพิจารณ์จากประชาชนในชุมชน เจ้าของโรงน้ำแข็งก็ออกมาอธิบายว่า เสียงไม่ดัง ไม่มีกลิ่นเหม็น แต่ถึงอย่างไรประชาชนก็ไม่ยอมรับ ยิ่งคนที่อยู่ใกล้โรงน้ำแข็งด้วยแล้ว ยื่นคำขาดว่า ไม่ยอมรับเด็ดขาด
  ไปๆ มาๆ โรงน้ำแข็งก็ถูกสร้างขึ้นมาจนได้ ทำให้ประชาชนในพื้นที่หมดศรัทธากับเจ้าหน้าที่รัฐ ช่วงแรกที่โรงน้ำแข็งเปิดเครื่อง เสียงเงียบครับ กลางคืนก็ปิดเครื่องไม่ทำงาน ยอมรับกับโชคชะตานี้ได้ แต่เงียบอยู่ได้ไม่นานจนถึงปัจจุบัน โรงน้ำแข็งเดินเครื่อง 24 ชม. เสียงดังเกินข้อบังคับตามกฎหมายของโรงงานแน่นอนครับ 
 มิหนำซ้ำ วันดีคืนดี มีกลิ่นฟอร์มาลินที่รั่วไหลออกมาจากการผลิตน้ำแข็ง กลิ่นฉุนกระจายไปทั่วชุมชน ชาวบ้านต้องเดินออกไปยืนนอกบ้าน กว่าช่างจะมาแก้ไขปัญหาเสร็จใช้เวลาพอประมาณ เจ้าของโรงน้ำแข็งก็ไม่เดือดร้อน ถึงเวลานอนก็ไม่ได้นอนที่โรงน้ำแข็ง ไปนอนที่อื่น คนที่รับกรรมก็คือ ชาวบ้านที่ใกล้เคียง เด็กเล็กๆ อีกหลายชีวิต 
 ทำอะไรไม่คิดถึงคนอื่นบ้างเลย ผมเคยแจ้งไปยังเทศบาลเมืองนนทบุรีหลายครั้งแล้ว ยังไม่มีอะไรดีขึ้น ได้แต่รับเรื่องไว้แล้วบอกว่า จะรีบดำเนินการให้ เรื่องนี้ใครควรพิจารณาแก้ไข ช่วยมาแก้ไขให้จริงจังด้วย ชุมชนจะได้กลับมาอยู่กันอย่างสงบเหมือนเดิม
ชาวซอยพูลศรีช่วงที่ 2 / นนทบุรี
ตอบ
 นางสิรินทร นิลพันธ์ นักวิชาการสุขาภิบาล ฝ่ายสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลบางศรีเมือง จ.นนทบุรี ชี้แจงว่า เจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงโรงน้ำแข็ง ตามแบบบันทึก ดังนี้
 1. ผลกระทบทางด้านเสียง แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 
  1.1 เสียงดังจากเครื่องจักรของโรงงาน ซึ่งประชาชนได้รับผลกระทบระดับพอประมาณ
  1.2 เสียงดังจากการขนส่งน้ำแข็ง จากคนงานโยนกระสอบน้ำแข็ง ทำให้กระทบกับพื้นและกำแพงก่อให้เกิดเสียงดังเป็นบางเวลา
  1.3 เสียงดังจากคนงาน จากการขนส่งน้ำแข็งและคนงานที่พักอาศัยอยู่ด้านหลังโรงงาน ที่ทางโรงงานได้จัดสวัสดิการห้องพักไว้ให้นั้น ได้รับผลกระทบเป็นบางเวลา
 ผลกระทบทางด้านกลิ่นเหม็นนั้น จะเกิดขึ้นในขณะที่ทางโรงงานมีการเปลี่ยนถ่ายแอมโมเนีย มิใช่ฟอร์มาลีน ซึ่งจะมีการเปลี่ยนถ่ายประมาณเดือนละครั้ง จากการตรวจสอบภายในโรงงาน พบว่า ทางโรงงานได้กั้นห้องตรงบริเวณเครื่องจักร เพื่อลดระดับเสียงของเครื่องจักร พร้อมทั้งมีการติดอุปกรณ์ดูดซับเสียงที่กำแพงของโรงงาน เพื่อลดปริมาณเสียงที่จะออกสู่ภายนอกโรงงาน ในกรณีการจัดตั้งโรงงานแห่งนี้ ได้ขออนุญาตจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ.2542 ก่อนการบังคับใช้พ.ร.บ.ผังเมือง พ.ศ.2548 
 ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชน เห็นควรแจ้งให้ผู้ประกอบการโรงงานน้ำแข็ง ดำเนินการ ดังนี้
 1. ซ่อมแซมกำแพงด้านข้างของโรงงานที่แตกหักให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดี
 2. จัดให้มีมาตรการในการขนส่งน้ำแข็งที่ไม่ใช้การโยน เพื่อลดผลกระทบด้านเสียงที่เกิดขึ้น
 3. ตักเตือนและเข้มงวดในกฎระเบียบของโรงงานกับพนักงานที่ปฏิบัติงาน และที่พักอาศัยอยู่ในโรงงาน เพื่อลดผลกระทบด้านเสียงที่เกิดขึ้น
 4. ในการเปลี่ยนถ่ายแอมโมเนียให้ปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง และมีการควบคุมด้วยวิศวกรทุกครั้ง
 5. หมั่นควบคุม ดูแล ตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุง อุปกรณ์ และส่วนต่างๆ ของโรงงาน รวมถึงคนงาน เพื่อมิให้เกิดเหตุรำคาญต่อผู้ที่พักอาศัยในบริเวณใกล้เคียงอย่างเคร่งครัด
ลุงแจ่ม

ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลจาก http://www.komchadluek.net/news/knowledge/82787?fbclid=IwAR36rXLbnlbCOsFWdYQlERcG52S_9dOwjVOCy9Uwx7t2Wa7lz4mELHyDqtY ด้วยค่ะ

WHO เตือน คนตายจากมลพิษทางอากาศปีละ 7 ล้านคน 0

องค์การอนามัยโลก เตือน มลพิษทางอากาศคร่าชีวิตผู้คนต่อเนื่องปีละ 7 ล้านคน โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสุดคือผู้หญิงและเด็กในประเทศยากจน
องค์การอนามัยโลก หรือ WHO เผยเมื่อวันอังคารตามเวลาท้องถิ่นว่า มลพิษทางอากาศยังคงคร่าชีวิตผู้คน 7 ล้านคน ในแต่ละปี ส่วนใหญ่เป็นคนในประเทศยากจนของเอเชียและแอฟริกา ขณะที่ประชากรบนโลก 9 ใน 10 คน ต้องหายใจเอาอากาศที่สกปรกเข้าไปในร่างกาย

ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศทั่วโลกของ WHO ระบุด้วยว่า 1 ใน 4 ของผู้ที่เสียชีวิตจากโรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง และมะเร็งปอด อาจเกิดจากมลพิษทางอากาศ ตัวเลขเหล่านี้ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อนๆ เนื่องจากมลพิษทางอากาศกลางแจ้งทั่วโลกยังคงสูงและส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยนแปลง
ขณะที่มลพิษทางอากาศในที่ร่มเริ่มเลวร้ายลง เนื่องจากผู้คนโดยเฉพาะในประเทศยากจน ยังคงใช้เชื้อเพลิงที่เป็นของแข็งหรือน้ำมันก๊าดในการประกอบอาหารแทนที่จะใช้พลังงานสะอาด เช่น แก๊ส และพลังงานไฟฟ้า นอกจากนี้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงจากมลพิษทางอากาศสูงสุดคือผู้หญิงและเด็ก
WHO ประเมินจากข้อมูลดาวเทียมและจำลองแบบจากฐานข้อมูลกว่า 4,300 เมือง ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับรายงานฉบับล่าสุดของ WHO เมื่อปี 2559 WHO ยังวางแผนจัดการประชุมเรื่องมลพิษทางอากาศและสุขภาพเป็นครั้งแรกในเดือนตุลาคมนี้ เพื่อเร่งสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับโลก

ขอขอบคุณสาระดีๆจาก https://news.mthai.com/world-news/638475.html?fbclid=IwAR38zVi3VWcy6UXDLbwMf2pwVj6zyCYAQ4kfNqERFEXxHFzbimWUbmE04O4 ด้วยค่ะ

การลดผลกระทบทางเสียงจากสถานบันเทิง 0

การควบคุมเสียงจากอาคารที่ใช้แสดงดนตรีเต้นรำ รำวงรองเง็ง ดิสโก้เทค คาราโอเกะ หรือการแสดงอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบกิจการ ต้องให้ความสำคัญ ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบด้านระดับเสียงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้พักอาศัยในอาคารข้างเคียง และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการรับฟังเสียงให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในอาคารนั้น
การควบคุมเสียงจากอาคารที่ใช้แสดงดนตรี
1.การลดระดับเสียง ทำได้หลายวิธี ทั้งนี้ ต้องพิจารณาจากแหล่งกำเนิดเสียงว่าอยู่ภายในหรือภายนอกอาคาร ดังนี้
1.1.การลดเสียงจากภายในอาคาร
• การลดเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงโดยตรง สามารถใช้แผงกั้นระหว่างต้นกำเนิดเสียงกับผู้ฟัง เช่น ห้องที่มีผนังหนาทึบส่วนเสียงสะท้อนสามารถลดโดยการใช้วัสดุดูดซับเสียงที่ผนังโดยเฉพาะด้านที่ทำให้เกิดเสียงสะท้อนมาก
• การลดเสียงที่มาตกกระทบ โดยใช้วัสดุดูดซับเสียงและวัสดุป้องกันเสียง เช่น การใช้แผ่นฉนวนใยแก้วบุเสริมตรงผนังด้านที่เป็นทางต้นกำเนิดเสียง
• การวางผังอาคาร โดยการแยกบริเวณที่มีเสียงดังออกจากบริเวณที่ต้องการความเงียบหรือกั้นพื้นที่สองส่วนนี้ด้วยห้องอื่น ๆ
1.2.การลดเสียงจากภายนอกอาคาร
• ควบคุมด้วยระยะทาง ทุกระยะห่างจากต้นกำเนิดเสียงความดังของเสียงจะลดลง เช่น หากที่ดินเราอยู่ติดถนนอาจจะวางตำแหน่งของบ้านให้ไกลออกจากถนนให้มากที่สุด
• หลีกเลี่ยงบริเวณที่เสียงกระทบโดยตรง เช่น การทำแผ่นหรือผนังกันเสียง ที่จะช่วยกั้นเสียงและลดความเข้มของเสียงโดยตรงก่อนที่จะถึงตัวอาคาร
• วางผังอาคาร โดยให้พื้นที่ใช้สอยส่วนที่ไม่ต้องการความเงียบมากเป็นตัวป้องกันเสียง หรือกำหนดตำแหน่งช่องเปิดของอาคารหลีกเลี่ยงแนวทางของเสียง
• เลือกใช้วัสดุกันเสียงให้กับกรอบอาคาร เช่น การบุฉนวนใยแก้วให้กับผนังกรอบอาคาร เลือกใช้กระจกสองชั้น หรือใส่ฉนวนกันเสียงให้กับส่วนหลังคาอาคาร
2.การเลือกวัสดุโครงสร้างอาคารและวัสดุดูดซับเสียงวัสดุโครงสร้างอาคาร หรือวัสดุที่เป็นองค์ประกอบของอาคารมีคุณสมบัติในการลดระดับเสียงได้ โดยมีหลักการคือ วัสดุนั้นจะทำการดูดซับพลังงานเสียงเอาไว้ แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์โดยการหักเหหรือการกระจายภายใน ทั้งนี้ วัสดุแต่ละชนิดจะมีความสามารถในการลดระดับเสียงไม่เท่ากัน ดังนั้น
Federal Highway Administration (FHWA) ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงได้ทำการศึกษา โดยความสามารถลดระดับเสียงที่ทะลุผ่านของวัสดุต่างๆ เช่น คอนกรีตบล๊อก ขนาด 200x200x405 มิลลิเมตร ชนิดน้ำหนักเบา หนา 200 มิลลิเมตร มีความสามารถลดระดับเสียงที่ทะลุผ่านได้ 34 เดซิเบลเอ เป็นต้น วัสดุดูดซับเสียง สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรับฟังเสียงให้แก่ผู้อยู่ในอาคารที่มีการแสดงดนตรีได้นอกเหนือจากการลดผลกระทบด้านระดับเสียง กล่าวคือ
ช่วยลดเสียงสะท้อน และทำให้เสียงมีการกระจายไป
ในทิศทางที่เหมาะสม วัสดุดูดซับเสียง ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมีหลาย
ลักษณะ สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ
• วัสดุดูดซับเสียงที่โปร่งเบาเป็นฝอย หรือรูพรุน เช่น
ฉนวนเยื่อกระดาษเซลลูโลส ฉนวนใยหิน ฉนวนใยแก้ว ฉนวน
โฟมโพลียูรีเทน เหมาะสำหรับดูดซับเสียงที่มีความถี่สูง
• วัสดุดูดซับเสียงที่มีผิวปรุเป็นรู จะเพิ่มพื้นที่ผิวในการ
รับเสียง เช่น แผ่นดูดซับเสียงยิบซับบอร์ดที่มีรู แผ่นชานอ้อย
แผ่นไม้กอร์ก
• วัสดุดูดซับเสียงที่เป็นเยื่อแผ่น เช่น ผนังที่มีหลายชั้น
กระจกสองชั้น หรือการติดผ้าม่านให้กับผนังหรือช่องเปิด
เหมาะสำหรับดูดซับเสียงที่มีความถี่ต่ำ
• วัสดุดูดซับเสียงที่มีพื้นผิวมาก จะช่วยลดเสียงสะท้อน
เช่น ผนังที่มีการออกแบบ เป็นช่องๆ รูปแบบต่างๆ

————————————————————————————
————————————————————————————

ขอขอบคุณสาระดีๆจาก http://www.pcd.go.th/public/Publications/print_journal.cfm… ด้วยค่ะ

————————————————————————————
————————————————————————————

สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราได้ที่ 
http://www.geonoise.co.th/ 
https://www.geonoise.com/
สามารถติดต่อเราได้ที่
Tel Office : 02-003-5904,02-1214399
Line : @geonoise

————————————————————————————
————————————————————————————

#Geonoise #GeonoiseThailand #Norsonic #Impedancetube #ตรวจวัดเสียง #เสียงรบกวน #เครื่องวัดเสียง #จำหน่ายเครื่องวัดเสียง #รับปรึกษาปัญหาเรื่องเสียง #ควบคุมเสียง #SoundSource #BuildingAcoustics#เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือน 
#โปรแกรมเสียง #บริการสอบเทียบ #Calibration #NoiseAlarm#SoundPLAN #NoiseAtWork #Noisecontour #มลพิษทางเสียง#Acoustic #เครื่องวัดฝุ่น #Dustmate #หาแหล่งกำเนิดเสียง #วิเคราะห์เสียง #Measurement #Microphone #NoiseTraining #เครื่องแกะสลักแผงวงจร