Monthly Archives: March 2019

วันที่ 29 มีนาคม 2562 บริษัท จีโอนอยซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดคอร์สอบรม Basic noise (ครึ่งวัน) 13:00 – 17:00 น. 0


เนื่องจากวันที่ 29 มีนาคม 2562 ทางบริษัท จีโอนอยซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด ได้จัดคอร์สอบรม Basic noise (ครึ่งวัน) ตั้งแต่เวลา 13.00 – 17.00 น. โดยจะมีรายละเอียดตังนี้ค่ะ
คอร์สอบรมเสียงจากผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านการวัดและการใช้เครื่องมือสำหรับเสียง 
เหมาะสำหรับผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการวัดเสียงในงานสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย บริษัทที่ปรึกษาในงานอคูสติกส์ หรือผู้สนใจทั่วไป
– ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเสียง และการได้ยิน (Fundamental of noise)
– การเลือกใช้อุปกรณ์วัดเสียงให้เหมาะสมกับลักษณะงาน (Acoustic measuring equipment suitable for work place) 
– เทคนิคการวัดเสียง การสอบเทียบเครื่องมือวัด และการแปรผลการสอบเทียบเครื่องมือวัด (Acoustical measurement and calibration)
– กฎหมาย และมาตรฐาน เกี่ยวกับเสียงในงานอุตสาหกรรม และเสียงรบกวน (Noise standard)



จึงเรียนมาเพื่อทราบค่ะ
บริษัท จีโอนอยซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด.



** อยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่เบอร์ 02-0035904 , 02-1214399 หรือ facebook https://www.facebook.com/Geonoise/ ค่ะ **



เชียงใหม่ยืนหนึ่ง! รักษาแชมป์ฝุ่นพิษอันดับ 1 ของโลก เช้านี้ยังเตือนระดับสีม่วง 0


เว็บไซต์ด้านคุณภาพอากาศ AirVisual.com เผยข้อมูลคุณภาพอากาศของ จ.เชียงใหม่ ในเช้าวันนี้ (13 มี.ค.) ซึ่งอากาศแย่เป็นอันดับ 1 ของโลก ค่าตามดัชนีคุณภาพระดับ 210 และมีฝุ่นขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM 2.5) อยู่ที่ 159.3 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ที่ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพอย่างยิ่ง 
>> เชียงใหม่ ฝุ่น PM 2.5 ไม่ไหวแล้ว! ยืน 1 มลพิษโลก เข้าขั้นยิ่งหายใจยิ่งตายไว
ขณะเดียวกัน เช้านี้กรุงเทพมหานครมีคุณภาพอากาศแย่อยู่เพียงอันดับ 27 ของโลก ดัชนีคุณภาพอากาศสหรัฐอยู่ที่ระดับ 90 และมีฝุ่นขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM 2.5) อยู่ที่ 30.9 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึงสถานการณ์ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 ที่ปกคลุมเมืองเชียงใหม่ ว่า มีการติดตามสภาพอากาศตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.ที่ผ่าน พบว่า ค่าอากาศเป็นสีเขียวและสีฟ้า แต่สภาพอากาศมีปัญหา ช่วงวันที่ 11-12 มี.ค. ที่ผ่านมา และจากการสอบถามจากกรมอุตุนิยมวิทยา ทราบว่า ลมบน กับ ลมล่างอ่อนตัวลง ทำให้เกิดปัญหาหมอกควัน โดยสภาพอากาศของ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน รวมทั้งจังหวัดตาก ลอยตัวมารวมกันที่ จ.เชียงใหม่ ในลักษณะแอ่งกระทะ ทำให้เกิดปัญหาหมอกควันปกคลุมในพื้นที่
ทั้งนี้ ทางจังหวัดเชียงใหม่ ได้ทำการรณรงค์สร้างการรับรู้ให้กับประชาชน ไม่ให้มีการเผาป่า เผาขยะหรือเศษวัสดุในพื้นที่โล่งแจ้ง รวมทั้งมาตรการปิดป่าห้ามไม่ให้เข้าไปเผาป่า เพื่อป้องกันการเกิดฝุ่นละอองเพิ่มเติมในพื้นที่
ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.sanook.com/news/7709186/ ด้วยค่ะ

คพ.เผย “รถเมล์” สร้างมลพิษทางเสียงมากสุด… 0

คพ.เผยคุณภาพอากาศและเสียงดีขึ้นจาก 5 ปีก่อน  ระบุรถติด-อุตสาหกรรม-ก่อสร้างต้นเหตุมลพิษ  ชี้รถ “ปิกอัพ”พ่นควันดำเกินค่ามาตรฐาน ขณะที่“รถเมล์” สร้างมลพิษทางเสียงมากสุด

เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. ที่กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นางสุวรรณา เตียรถ์สุวรรณ รองอธิบดี คพ. ร่วมกับสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. ได้ร่วมจัดสัมมนารับฟังความเห็นทิศทางการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศและเสียง   ในกทม.และปริมณฑลพ.ศ.2560-2564 เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน มาปรับปรุงแผนปฏิบัติการจัดการมลพิษทางอากาศและเสียงใน กทม.และปริมณฑล พ.ศ.2560-2564 โดยมีผู้เข้าร่วมให้ความเห็นจากหน่วยงานราชการสถาบันการศึกษา รัฐวิสาหกิจ เอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และประชาชนเข้าร่วมรับฟัง

นางสุวรรณา กล่าวว่า พื้นที่ กทม.มีการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม มีการใช้ระบบการคมนาคมขนส่งค่อนข้างสูง สภาพการจราจรติดขัดประกอบกับกิจกรรมอื่นที่เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ เช่น อุตสาหกรรม และการก่อสร้างซึ่งช่วง 5 ปีที่ผ่านมา หน่วยงานต่างๆ ได้ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการจัดการมลพิษทางอากาศและเสียงใน กทม. พ.ศ.2555-2559 ซึ่งมีผลทำให้คุณภาพอากาศและเสียงดีขึ้น โดยในปี 2559 พบฝุ่นละออง ก๊าซโอโซนสารเบนซีน และเสียงเกินค่ามาตรฐาน ส่วนก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และก๊าซออกไซด์ของโตรเจน อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและมีแนวโน้มลดลง จำนวนร้อยละยานพาหนะที่มีการระบายมลพิษเกินค่ามาตรฐาน ควันดำ รถปิกอัพ ร้อยละ 29.6 ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ รถแท็กซี่ ร้อยละ29.1 ก๊าซไฮโดรคาร์บอน รถแท็กซี่ ร้อยละ 49.1 เสียงดัง รถเมล์ ร้อยละ 12.8และการร้องเรียนมลพิษทางอากาศและเสียงจากอุตสาหกรรมและการก่อสร้างมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น 
                 
รองอธิบดี คพ. กล่าวต่อว่า ทั้งนี้คพ.และทางกทม. จึงจำเป็นดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้คงรักษาคุณภาพอากาศและเสียงไม่ให้อยู่ในภาวะวิกฤติ นอกจากนี้การใช้งานยานพาหนะข้ามพื้นที่ไปยังปริมณฑลทำให้การกระจายตัวของมลพิษที่ไม่ได้อยู่เฉพาะในพื้นที่ กทม. จึงต้องขยายขอบเขตพื้นที่การดำเนินงานไปยังปริมณฑลด้วย สำหรับร่างแผนปฏิบัติการจัดการมลพิษทางอากาศและเสียงใน กทม.และปริมณฑลพ.ศ.2560-2564 เป้าหมายตัวชี้วัดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10)ค่าเฉลี่ย 24ชั่วโมง อยู่ในมาตรฐานไม่น้อยกว่าร้อยละ 99 ก๊าซโอโซน ค่าเฉลี่ย 8ชั่วโมง อยู่ในมาตรฐานไม่น้อยกว่าร้อยละ99 สารเบนซีน ค่าเฉลี่ยต่อปี กทม. ไม่เกิน 3.1 มคก./ลบ.ม. กทม. และปริมณฑล ไม่เกิน 2.7 มคก./ลบ.ม.  ระดับเสียง ค่าเฉลี่ย24 ชั่วโมง กทม. อยู่ในมาตรฐานไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 กทม. และปริมณฑล อยู่ในมาตรฐานไม่น้อยกว่า ร้อยละ72

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.dailynews.co.th/politics/578160?fbclid=IwAR3m-OZVLYKBUu3Qj5iWNtp3Z07N6Njv2v_sr37tvBhUGCzAloULXYer6vE ด้วยค่ะ

อันตรายของหูจากเสียงดัง 0


หูของคนเรามีหน้าที่ในการรับฟังเสียง และควบคุมการทรงตัว ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่คือ หูชั้นนอก ที่นับตั้งแต่ใบหู ช่องหู ไปจนถึงแก้วหูหรือเยื่อบุแก้วหู ส่วนที่สองคือ หูชั้นกลางประกอบด้วยแก้วหู ช่องหูชั้นกลาง ที่มีกระดูกหูเล็กๆ 3 ชิ้นได้แก่ กระดูกรูปค้อน ทั่งและโกลน ช่วยในการส่งและขยายเสียง ส่วนสุดท้ายคือ หูชั้นใน ที่เป็นอวัยวะรูปก้อนหอย และอวัยวะรับรู้การทรงตัว


การได้ยินสู่สมอง แปลความเป็นการรับรู้ของเสียงต่างๆ และข้อมูลคำพูดที่ทำให้เราเข้าใจต่อไป

ลักษณะของเสียงแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ ความดัง ความถี่ และคุณภาพของเสียง ในเรื่องของความดังได้แก่ เสียงดัง เสียงเบา เสียงกระซิบ เป็นต้น ในเรื่องของความถี่คือ เสียงสูงเสียงต่ำ เสียงทุ้มเสียงแหลม และในเรื่องของคุณภาพเสียง คือเสียงเพราะ เสียงแก้ว เสียงเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ เป็นต้น การได้ยินเสียงเป็นสุนทรีภาพอย่างหนึ่งของชีวิตมนุษย์ การได้รับฟังเสียงดนตรีที่มีห้วงทำนองเสียงสูงเสียงต่ำพอเหมาะ เสียงนักร้องที่ร้องเพลงได้ไพเราะ ความดังของเสียงที่พอดี ในทางตรงข้ามเสียงที่ดังหนวกหู น่ารำคาญก็ก่อให้เกิดความหงุดหงิด เป็นทุกข์ได้เช่นกัน และนอกจากเสียงดังเกินไำปก็ก่อให้เกิดโทษ และเป็นอันตรายต่อหูด้วย

ในการวัดระดับความดังของเสียง มีหน่วยที่เรียกว่า “เดซิเบล (DECIBEL)” ตามปกติคนเราจะเริ่มได้ยินเสียงที่ระดับความดัง 10-20 dB
ระดับเสียงที่ 30 dB จะเป็นเสียงกระซิบเบาๆ
ระดับเสียงที่ 40-60 dB จะเป็นเสียงพูดสนทนาที่ใช้อยู่ทั่วไปในชีวิตประจำวัน
ระดับเสียงที่ 80 dB เริ่มรู้สึกหนวกหู เทียบได้กับเสียงกลางถนนขณะการจราจรติดขัด
ระดับเสียงที่ 80-90 dB จะเป็นประมาณในโรงงานที่มีเครื่องจักรเสียงดังทำงานอยู่
ระดับเสียงที่ 90-100 dB เป็นเสียงดังของเครื่องบินขณะบินขึ้น 

องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดไว้ว่าเสียงที่เริ่มมีอันตรายต่อหู คือเสียงที่มีความดังระดับ 80-90 dB ขึ้นไปส่วนช่วงเวลาก้มีความสำคัญเช่นกันเพราะพบว่า ถ้าต้องทำงานในที่มีเสียงดังระดับ 80-90 dB จะต้องทำงานนั้นไม่เกิน วันละ 7-8 ชม. เพราะถ้าเกินกว่านี้จะเกิดอาการหูอื้อ นานไปจะทำให้ประสาทหูถูกทำลายจากเสียงดังได้

การใช้อุปกรณ์ป้องกันต่อหู เพื่อลดความดังของเสียงมี 2 แบบ – ที่ครอบหู จะปิดหูและกระดูกรอบ ๆ ใบหูไว้ทั้งหมด สามารถลดระดับความดังของเสียงได้ 20-40 เดซิเบลเอ – ปลั๊กอุดหู ทำด้วยยาง หรือพลาสติก ใช้สอดเข้าไปในช่องหูสามารถลดระดับความดังของเสียงได้ 10-20 เดซิเบลเอ การลดระยะเวลาในการรับเสียงของผู้ที่อยู่ในบริเวณที่มีเสียงดังเกินมาตรฐาน โดยจำกัดให้น้อยลง 

เกณฑ์กำหนดของระดับเสียงที่เป็นอันตราย ก. กรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดมาตรฐานของระดับเสียงในสถานประกอบการต่าง ๆ ไว้ดังนี้คือ
1. ได้รับเสียงไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียงติดต่อกันไม่เกิน 91 เดซิเบล(เอ)
2. ได้รับเสียงวันละ 7-8 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียง ติดต่อกันไม่เกิน 90 เดซิเบล(เอ)
3. ได้รับเสียงเกินวันละ 8 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียง ติดต่อกันไม่เกิน 80 เดซิเบล(เอ)
4. นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่ ๆ มีระดับเสียงเกิน 140 เดซิเบล(เอ) ไม่ได้ ข. องค์การอนามัยโลกได้กำหนดว่าระดับเสียงที่ดังเกินกว่า 85 เดซิเบล(เอ) ถือว่าเป็นอันตรายต่อมนุษย์

ขอขอบคุณสาระดีๆจาก https://hmmthailand.blogspot.com/2015/10/blog-post_63.html?fbclid=IwAR0nlyG34WovUoCCj_1KEzr1hnUgUQ3agfo7sqAnaa-Wj6xvnpoLTHj-7Ac ด้วยค่ะ