Monthly Archives: March 2019

เครื่องวัดเสียง Nor145 รุ่นใหม่ล่าสุดปี 2019! 0


สวัสดีค่ะ วันนี้บริษัทจีโอนอยซ์มีเครื่องวัดเสียงรุ่นใหม่ล่าสุดของปี 2019 มาแนะนำให้ทุกคนได้รู้ถึงคุณสมบัติของเครื่องวัดเสียงรุ่นนี้กันค่ะ นั่นก็คือ
Nor145 เป็นเครื่องวัดเสียงรุ่นใหม่ล่าสุดปี 2019 สัญชาตินอร์เวย์ ยี่ห้อ Norsonic มีคุณสมบัติ วิเคราะห์เสียงสำหรับงานสิ่งแวดล้อม งานทดสอบผลิตภัณฑ์ในห้องปฏิบัติการ หรือทางภาคสนาม งาน Acoustics ภายในอาคาร หรือการวิเคราะห์เสียงในรูปแบบอื่นๆ Nor145 ถูกออกแบบมาให้ง่ายต่อการใช้งาน หากสนใจหรือปรึกษาปัญหา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับด้านเสียง สามารถติดต่อเราได้หลายช่องทาง ดังนี้ค่ะ
บริษัท จีโอนอยซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด
จำหน่ายเครื่องวัดเสียง & ซอฟต์แวร์ และรับปรึกษาปัญหาด้านเสียง
ที่อยู่ : 555/147-148 หมู่บ้าน.บี อเวนิว ถนน.สุขาภิบาล 5
แขวง.ออเงิน เขต.สายไหม กรุงเทพมหานคร 10220
โทร : (+66) 02-0035904 , 02-1214399
แฟ็กซ์ : (+66) 02-0033054
อีเมลล์ : contact@geonoise.asia
เว็บไซต์ : http://www.geonoise.co.th , www.geonoise.com
Line@ : @geonoise หรือสามารถสแกนคิวอาร์โค๊ดจากรูปด้านล่างได้เลยนะคะ 😊
#Geonoise #GeonoiseThailand #Norsonic #Impedancetube#ตรวจวัดเสียง #เสียงรบกวน #เครื่องวัดเสียง #จำหน่ายเครื่องวัดเสียง#รับปรึกษาปัญหาเรื่องเสียง #ควบคุมเสียง #SoundSource#BuildingAcoustics #เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือน 
#โปรแกรมเสียง #บริการสอบเทียบ #Calibration #NoiseAlarm#SoundPLAN #NoiseAtWork #Noisecontour #มลพิษทางเสียง#Acoustic #เครื่องวัดฝุ่น #Dustmate #หาแหล่งกำเนิดเสียง#วิเคราะห์เสียง #Measurement #Microphone #NoiseTraining#เครื่องแกะสลักแผงวงจร

อุตุฯ เตือนระวังพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนองในหลายพื้นที่ รวมทั้ง กทม. 0


ไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก บางพื้นที่ในภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงขอให้ระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น


เมื่อวันที่ 25 มี.ค.2562 กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า   หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนโดยทั่วไปและมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนตอนใต้ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้เกิดพายุฤดูร้อนขึ้น โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่วนลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้นกับมีลมกระโชกแรง
ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก บางพื้นที่ บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่า สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้นกับมีลมกระโชกแรง  
   

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้
ภาคเหนือ  อากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 19-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-20 กม./ชม.     
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา และบุรีรัมย์ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 27-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.   
ภาคกลาง อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา และราชบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.     
 
ภาคตะวันออก มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร     
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร   
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง ส่วนมากบริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร 
กรุงเทพมหานคร  มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 15-20 กม./ชม.


ขอขอบข้อมูลดีๆจาก https://www.thairath.co.th/content/1528596?fbclid=IwAR0Y93oraXGqCx5-WUA4iDeUoDq2J2mixrLNoroQdUPCdbYyK8HWCgZyqGE ด้วยค่ะ














#Geonoise #GeonoiseThailand #Norsonic #Impedancetube #ตรวจวัดเสียง #เสียงรบกวน #เครื่องวัดเสียง #จำหน่ายเครื่องวัดเสียง #รับปรึกษาปัญหาเรื่องเสียง #ควบคุมเสียง #SoundSource #BuildingAcoustics #เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือน
#โปรแกรมเสียง #บริการสอบเทียบ #Calibration #NoiseAlarm #SoundPLAN #NoiseAtWork #Noisecontour #มลพิษทางเสียง #Acoustic #เครื่องวัดฝุ่น #Dustmate #หาแหล่งกำเนิดเสียง #วิเคราะห์เสียง #Measurement #Microphone #NoiseTraining #เครื่องแกะสลักแผงวงจร

เสียงกับการได้ยิน 0

เสียงเกิดขึ้นได้อย่างไร
เสียง เป็นคลื่นกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุเกิดการสั่นสะเทือน จะทำให้เกิดการอัดตัว และขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลางที่เป็นสสารอยู่ในสถานะ ก๊าซ ของเหลว ของแข็ง (คลื่นเสียงจะไม่ผ่านสุญญากาศ) ไปยังหู ทำให้ได้ยินเสียงเกิดขึ้น
เสียงเกิดขึ้น เมื่อวัตถุหรือแหล่งกำเนิดเสียง มีการสั่นสะเทือน ส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของโมเลกุลของอากาศที่อยู่โดยรอบกล่าวคือโมเลกุลของอากาศเหล่านั้นจะเคลื่อนที่จากตำแหน่งแหล่งกำเนิดเสียงไปชนกับโมเลกุลของอากาศที่อยู่ถัดออกไป จะเกิดการถ่ายโอนโมเมนตัมจากโมเลกุลที่มีการเคลื่อนที่ไปให้กับโมเลกุลของอากาศ ที่อยู่ในสภาวะปกติ จากนั้นโมเลกุลที่ชนกันจะแยกออกจากกันโดยโมเลกุลของอากาศที่เคลื่อนที่มาชนจะถูกดึงกลับไปยังตำแหน่งเดิมด้วยแรงปฎิกิริยา และโมเลกุลที่ได้รับการถ่ายโอนพลังงาน ก็จะเคลื่อนที่ต่อไปและไปชนกับโมเลกุลของอากาศที่อยู่ถัดไป เป็นดังนี้ไปเรื่อยๆ จนเคลื่อนที่ไปถึงหู เกิดการได้ยินขึ้น
ปรากฏการณ์นี้จะเกิดสลับกันไปมาได้เมื่อสื่อกลางหรือตัวกลางคืออากาศซึ่งมีคุณสมบัติยืดหยุ่น การเคลื่อนที่ของโมเลกุลอากาศจะเกิดเป็นคลื่นเสียง
แหล่งกำเนิดเสียง
แหล่งกำเนิดเสียงคือ วัตถุที่ทำให้เกิดเสียง เมื่อวัตถุนั้นเกิดการสั่นสะเทือน แหล่งกำเนิดเสียงแต่ละชนิดจะทำให้กำเนิดเสียงที่มีความแตกต่างกันไประดับความดังของเสียงมีหน่วยวัดเป็น เดซิเบล (db)การเคลื่อนที่ของเสียง
การเดินทางของเสียง ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ เสียงมาถึงหูของเราโดยมีอากาศเป็นตัวกลาง แหล่งกำเนิดเสียงจะทำให้อากาศรอบๆสั่นสะเทือน การสั่นสะเทือนจะกระจายออกไปรอบทุกทิศทาง เมื่อคลื่นเดินทางมาถึงหูของเรา เราจะรับรู้เสียงต่างๆเสียงดังเสียงค่อย
คือ สมบัติของเสียงที่เรียกว่า ความดังของเสียง
ความดังของเสียงคือ ปริมาตรของพลังงานเสียงที่มาถึงหูของเรา
ปัจจัยที่มีผลทำให้วัตถุเกิดเสียงดังหรือเสียงค่อย ได้แก่
ระยะทางจากแหล่งกำเนิดเสียง ถึง หูผู้ฟัง ถ้าระยะทางใกล้ๆ จะได้ยินเสียงดังมากและจะได้ยินเสียงค่อยๆ ลงไปเมื่อระยะห่างออกไปเรื่อยๆตามลำดับความแรงในการสั่นสะเทือนของวัตถุแหล่งกำเนิดเสียง ถ้าแหล่งกำเนิดเสียงสั่นด้วยความรุนแรง จะทำให้เกิดเสียงดัง แต่ถ้าแหล่งกำเนิดเสียงสั่นเบาๆ ก็จะทำให้เกิดเสียงสั่นค่อยลง ตามลำดับชนิดของตัวกลาง ความดังของเสียงขึ้นอยู่กับชนิดของตัวกลางที่คลื่นเสียงเคลื่อนที่ผ่านไป ถ้าคลื่นเสียงเคลื่อนที่ไปในน้ำจะมีความดังของเสียงมากกว่าคลื่นเสียงที่เคลื่อนที่ไปในอากาศขนาดและรูปร่างของวัตถุที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงสั่นสะเทือน เช่น กระดิ่งจักรยาน ทำให้เกิดเสียงดังและได้ยินในระยะทางหลายร้อยฟุต แต่ระฒังก็มีเสียงดังได้ไกลไปหลายๆกิโลเมตร เป็นต้นเสียงสูงเสียงต่ำ
เสียงสูงเสียงต่ำ เรียกว่า ระดับเสียง ถ้าแหล่งกำเนิดเสียงมีความเร็วในการสั่นสะเทือน (มีความถี่สูง) จะทำให้เกิดเสียงสูง และถ้า แหล่งกำเนิดเสียงมีความเร็วในการสั่นสะเทือนน้อย หรือเบา (มีความถี่ต่ำ) จะทำให้เกิดเสียงต่ำ หรือเสียงทุ้ม
ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดเสียงสูงต่ำ เสียงสูงต่ำขึ้นอยู่กับความถี่ในการสั่นสะเทือนของวัตถุที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียง แหล่งกำเนิดเสียงสั่นสะเทือนด้วยความถี่ต่ำ จะเกิดเสียงต่ำ แต่ถ้าสั่นสะเทือนด้วยความถี่สูง เสียงก็จะสูง โดยระดับเสียงสามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วย
1. ขนาดของวัตถุกำเนิดเสียง
2. ความยาวของวัตถุกำเนิดเสียง
3. ความตึงของวัตถุกำเนิดเสียง
จะเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
1.วัตถุที่ต้นกำเนิดเสียง มีขนาดเล็กจะสั่นสะเทือนเร็วทำให้เกิดเสียงสูง แต่ ถ้าวัตถุที่ต้นกำเนิดเสียง มีขนาดใหญ่จะสั่นสะเทือนช้าทำให้เกิดเสียงต่ำ2.ถ้าวัตถุที่เป็นต้นกำเนิดเสียงมีขนาดยาวน้อยหรือสั้นจะสั่นสะเทือนเร็วทำให้เกิดเสียงสูง แต่ ถ้าวัตถุที่เป็นต้นกำเนิดเสียง มีขนาดความยาวมากจะสั่นสะเทือนช้าทำให้เกิดเสียงต่ำ 3.ถ้าวัตถุที่เป็นต้นกำเนิดเสียงมีความตึงมากจะสั่นสะเทือนเร็วทำให้เกิดเสียงสูง แต่ ถ้าวัตถุที่เป็นต้นกำเนิดเสียงมีความตึงน้อยหรือหย่อนจะสั่นสะเทือนช้าทำให้เกิดเสียงต่ำส่วนประกอบของหูที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน
หูของคนเราแต่ละข้างแบ่งออกเป็น 3 ชั้นคือ หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน1.หูชั้นนอก ประกอบไปด้วย1.1 ใบหู เป็นกระดูกอ่อนที่หุ้มด้วยผิวหนังบางๆ ทำหน้าที่ดักและรับเสียงเข้าสู่รูหู1.2 รูหู เป็นท่อคดเคี้ยวเล็กน้อย ลึกประมาณ 2.5 ซม. ผนังของรูหูบุด้วยเยื่อบาง และใต้เยื่ออ่อนนี้เต็มไปด้วยต่อมน้ำมัน ทำหน้าที่ขับไขมันเหนียวและเหลว มาหล่อเลี้ยงรูหู ไขมันเหล่านี้เมื่อรวมกับสิ่งสกปรกต่างๆก็จะกลายเป็น ขี้หู ซึ่งจะช่วยป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาทางรูหูไม่ให้เข้าถึงเยื่อแก้วหูได้ง่าย1.3 เยื่อแก้วหู เป็นเยื่อบางๆ อยู่ลึกเข้าไปในส่วนของรูหู กั้นอยู่ระหว่างหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง ทำหน้าที่รับแรงสั่นสะเทือนของคลื่นเสียงที่เดินทางเข้ามาทางรูหู
2.หูชั้นกลาง อยู่ถัดจากเยื่อแก้วหู มีลักษณะเป็นโพรงอากาศบรรจุกระดูกเล็กๆ 3 ชิ้นติดต่อกัน คือกระดูกค้อน อยู่ติดกับเยื่อแก้วหู กระดูกทั่ง อยู่ตรงกลาง และกระดูกโกลน อยู่ติดกับหูชั้นใน ส่วนล่างของโพรงอากาศตอนปลายของหูชั้นกลางจะมีท่อยูสเตเชี่ยน (Eustachian tube) ซึ่งมีลักษณะเป็นช่องอากาศแคบๆ และยาวต่อไปถึงคอ ทำหน้าที่ปรับความกดอากาศ ข้างในและข้างนอกหูให้มีความสมดุลกัน ทำให้เราไม่ปวดหูเวลาอากาศเข้าไปกระทบ แก้วหูขณะที่มีการหายใจ หรือกลืนอาหาร
3.หูชั้นใน อยู่ถัดจากกระดูกโกลนเข้ามา หูชั้นนี้ประกอบด้วยอวัยวะที่สำคัญ 2 ส่วน คือ3.1 ส่วนที่ทำหน้าที่รับเสียง มีลักษณะเป็นท่อเล็กๆ ที่ขดเป็นวงซ้อนกันอยู่หลายชั้นคล้ายหอยโข่ง ภายในมีท่อของเหลวบรรจุอยู่ ตามผนังด้านในของท่อมีอวัยวะรับเสียงอยู่ทั่วไป3.2 ส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัว มีลักษณะเป็นรูปท่อโค้งครึ่งวงกลมเล็กๆ 3 วง วางเรียงติดต่อกันตั้งฉากกับผนังภายใน ปลายของครึ่งวงกลมทั้ง 3 นั้น อยู่ติดกัน ท่อครึ่งวงกลมทั้ง 3 นี้บุด้วยเนื้อเยื่อบางๆ ที่มีประสาทรับความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัวกระจายอยู่ ส่วนที่เป็น ส่วนที่เป็นช่องว่างภายในท่อครึ่งวงกลมนี้ บรรจุด้วยของเหลว เมื่อเราเคลื่อนไหว ศ๊รษะ หูย่อมเอนเอียงไปด้วย ของเหลวที่บรรจุภายในท่อทั้ง 3 นี้ ก็จะเคลื่อนที่ตามทิศทางการเอียงของศีรษะ ซึ่งจะไปกระตุ้นประสาทรับความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัวแล้วส่งความรู้สึกไปยังสมองจึงทำให้เรา ทราบว่าร่างกายของเราทรงตัวอยู่ในลักษณะใด ของเหลวที่บรรจุในท่อครึ่งวงกลมนี้จะปรับไปตามความกดดันของอากาศ ถ้าความกดดันอากาศเปลี่ยนแปลงกะทันหันของเหลวปรับตัวไม่ทันก็จะทำให้เรามีอาการวิงเวียน ศีรษะเมื่อขึ้นไปอยู่ที่สูงๆอย่างรวดเร็วเป็นต้น
การได้ยินเสียง
เสียงที่เกิดขึ้นทุกชนิดมีลักษณะเป็นคลื่นเสียง ใบหูรับคลื่นเสียงเข้าสู่รูหูไปกระทบเยื่อแก้วหู เยื่อแก้วหูถ่ายทอดความสั่นสะเทือนของคลื่นเสียงไปยังกระดูกค้อน กระดูกทั่ง และกระดูกโกลน ซึ่งอยู่ในหูชั้นกลางและเลย ไปยังท่อรูปครึ่งวงกลม แล้วต่อไปยังของเหลวในท่อรูปหอยโข่ง และประสาทรับเสียงในหูชั้นในตามลำดับ ประสาทรับเสียงถูกกระตุ้นแล้วส่งความรู้สึกไปสู่สมองเพื่อแปลความหมายของเสียงที่ได้ยิน
การได้ยินเสียงชัดเจนขึ้นอยู่กับสาเหตุต่างๆ ดังนี้
แรงสั่นสะเทือน เสียงดังมากแรงสั่นสะเทือนก็มาก ระยะทางจากต้นกำเนิดเสียงมาถึงหู พลังงานเสียงจะเคลื่อนที่จากแหล่งกำเนิดทุกทิศทุกทาง พลังงานเสียงก็จะเคลื่อนที่และค่อยๆลดลง จนพลังงานเสียงหมดไป ดังนั้นคนที่อยู่ใกล้กับแหล่งกำเนิดเสียงจะได้ยินเสียงที่ดังและชัดเจนกว่าคนที่อยู่ไกลออกไปสุขภาพของหู หากอวัยวะรับเสียงเสื่อม เราก็จะได้ยินเสียงไม่ชัดเจนการรบกวนจากเสียงอื่นๆ เช่น มีลมพัด มีวัตถุมากั้นทางเดินของเสียงมลภาวะของเสียง
ความดังของเสียง เกิดจากพลังงานของการสั่นที่มากหรือน้อย หากเสียงที่ดังมากๆ ก่อให้เกิดความรำคาญ เรียกว่า มลภาวะของเสียง ความดังของเสียงมีหน่วยเป็นเดซิเบล (dB) โดยมีเครื่องวัดความเข้มของเสียงเรียกว่า เดซิเบลมิเตอร์
หากไปที่ที่มีเสียงดังมากๆ ควรสวมเครื่องป้องกันเสียงทุกครั้ง
ประโยชน์ของเสียง
1.ช่วยในการติดต่อสื่อสาร เช่น วิทยุ โทรศัพท์ การพูดคุยกัน2.ช่วยทำให้เกิดความบันเทิง เช่น เสียงดนตรี เครื่องดนตรีชนิดต่างๆ3.ประดิษฐ์เครื่องมือ เช่น เครื่องฟังการเต้นของหัวใจ

#Geonoise #GeonoiseThailand #Norsonic #Impedancetube #ตรวจวัดเสียง #เสียงรบกวน #เครื่องวัดเสียง #จำหน่ายเครื่องวัดเสียง #รับปรึกษาปัญหาเรื่องเสียง #ควบคุมเสียง #SoundSource #BuildingAcoustics #เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือน #โปรแกรมเสียง #บริการสอบเทียบ #Calibration #NoiseAlarm #SoundPLAN #NoiseAtWork #Noisecontour #มลพิษทางเสียง #Acoustic #เครื่องวัดฝุ่น #Dustmate #หาแหล่งกำเนิดเสียง #วิเคราะห์เสียง #Measurement #Microphone #NoiseTraining #เครื่องแกะสลักแผงวงจร

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก https://amfinewell.wordpress.com/2013/01/22/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B8%99-3/?fbclid=IwAR0Kr9wb-sNBSE7yJn8CLbriy0G_GX4_HcgCe705hCX4xQjYrNAfy0YBLjM ด้วยค่ะ

คอร์สอบรม การใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ SoundPLAN สำหรับงานอุตสาหกรรม (หลักสูตรพื้นฐาน 1 วัน) 0


เนื่องจากวันที่ 4 เมษายน 2562 ทางบริษัท จีโอนอยซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด ได้มีการจัดอบรม การใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ SoundPLAN สำหรับงานอุตสาหกรรม (หลักสูตรพื้นฐาน 1 วัน) เวลา 09:00 – 17:00 น. โดยจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ค่ะ

เหมาะสำหรับ ผู้ทำงานด้านเสียงในงานอุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม บริษัทที่ปรึกษาทางด้านเสียงรบกวน หรือ Acoustic consult ผู้ออกแบบโรงงานอุตสาหกรรม วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมทางเสียง เจ้าหน้าที่อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ผู้ที่มีโครงการในการศึกษาผลกระทบทางเสียง หรือผู้ที่สนใจทั่วไป
หัวข้อการฝึกอบรม 
– Basic noise
– การนำเข้าข้อมูลสำหรับ Geo-Database
– การ Calculation ในรูปแบบ Grid noise map, Cross section map, Receiver point
– การแสดงผลในรูปแบบ Graphics
– Workshop
หมายเหตุ : ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องนำคอมพิวเตอร์ Notebook มาด้วยตนเอง
(รับจำนวนจำกัด)
สถานที่อบรม บริษัท จีโอนอยซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด ห้องฝึกอบรมชั้น.2

จึงเรียนมาเพื่อทราบค่ะ
บริษัท จีโอนอยซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด.


สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ


บริษัท จีโอนอยซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด
จำหน่ายเครื่องวัดเสียง & ซอฟต์แวร์ และรับปรึกษาปัญหาเรื่องเสียงดัง
ที่อยู่ : 555/147-148 หมู่บ้าน.บี อเวนิว ถนน.สุขาภิบาล 5
แขวง.ออเงิน เขต.สายไหม กรุงเทพมหานคร 10220
โทร : (+66) 02-0035904 , 02-1214399
แฟ็กซ์ : (+66) 02-0033054
อีเมลล์ : contact@geonoise.asia
เว็บไซต์ :
http://www.geonoise.com , http://www.geonoise.co.th
เฟสบุ๊ค : https://www.facebook.com/Geonoise/

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 18 มีนาคม 2562 0


พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน โดยจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นบริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง ซึ่งมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตกบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน ควรอยู่ห่างจากต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง ป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมทั้งหลีกเลี่ยงทำกิจกรรมกลางแจ้ง สำหรับเกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย
อนึ่ง คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพื้นที่เกิดพายุฤดูร้อนขึ้นได้ โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่
ภาคเหนือ :  มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
และลมกระโชกแรงกับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่
ภาคอีสาน :  มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
ภาคกลาง : มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
ภาคตะวันออก : มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก / ออก : มีเมฆบางส่วน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล : มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุฤดูร้อน 
โดยเมื่อ 05.00 น. วันนี้ กรมอุตุฯ ได้ออกประกาศเตือน “พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบถึงวันที่ 18 มีนาคม 2562)” ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2562 เตือนให้ประชาชนระวังพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น ในรอบวัน โดยมีรายละเอียดดังนั้น
ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อพืชผลทางการเกษตรไว้ด้วย โดยมีผลกระทบตามภาคต่างๆ มีดังนี้


วันที่ 18 มีนาคม 2562
ภาคเหนือ ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย และพิษณุโลก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ได้แก่  เลย ชัยภูมิ และนครราชสีมา
ภาคกลาง ได้แก่ นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี และสุพรรณบุรี
ภาคตะวันออก ได้แก่ นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง
ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ทำให้บริเวณดังกล่าวเกิดพายุฤดูร้อนขึ้น
อนึ่ง คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพื้นที่เกิดพายุฤดูร้อนขึ้นได้ จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด โดยกรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 11.00 น.

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก https://news.mthai.com/general-news/715737.html ด้วยค่ะ