เกร็ดความรู้มลพิษทางเสียง

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดเสียงรบกวนในเมือง
แหล่งกำเนิดเสียงที่เป็นปัญหามากที่สุดในเมือง คือ รถจักรยานยนต์ รถยนต์ เรือหางยาวและรถอื่น ๆ ที่มีการดัดแปลงท่อไอเสีย
เลี่ยงจากการรับฟังเสียงดังอย่างไร
หลีกเลี่ยงที่ที่มีเสียงดังมากๆ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรใช้เครื่องป้องกันหู เช่น ที่อุดหูหรือที่ครอบหู แต่ทางที่ดีที่สุด ควรป้องกันและแก้ไขจากต้นเหตุ
อันตรายจากเสียงดัง
อันตรายต่อการได้ยิน
– หูหนวกเฉียบพลัน เกิดจากการได้ยินเสียงดังมาก ๆ ทันที เช่น เสียงระเบิด
– หูหนวกชั่วคราวหรือหูหนวกถาวรเกิดจากการอยู่ในที่มีเสียงดังมากเป็นเวลานาน ๆ
อันตรายต่อสุขภาพทั่วไปและต่อจิตใจ
– รบกวนการพักผ่อน นอนหลับ
– ก่อให้เกิดความรำคาญและรบกวนการสื่อสารที่ใช้เสียง
– รบกวนการทำงานและประสิทธิภาพของการทำงานลดลง
– เกิดความเครียดและเสียสุขภาพจิต
– อาจเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงและแผลในกระเพาะอาหาร
หูของท่านปกติหรือไม่
มีวิธีการตรวจอย่างง่าย ๆ 2 วิธี คือ
– ให้ท่านยืนหันหลังห่างจากเพื่อนของท่าน 5 ฟุต แล้วให้เพื่อนเรียกชื่อท่านด้วยเสียงดังตามปกติ ถ้าท่านได้ยินให้ขานตอบ ทำซ้ำ 5 ครั้ง ถ้าไม่ได้ยินเสียงเรียกแสดงว่าหูของท่านอาจผิดปกติ
– ให้ท่านกำมือแล้วใช้นิ้วชี้ถูกับนิ้วหัวแม่มือห่างจากหูประมาณ 1 เซนติเมตร และฟังเสียง ทดลองกับหูทีละข้าง ถ้าไม่ได้ยินเสียงต้องรีบปรึกษาแพทย์
จะรู้ได้อย่างไรว่าบริเวณใดมีเสียงดังถึงขึ้นอันตราย
– ถ้ายืนพูดคุยกันในระยะห่างประมาณหนึ่งช่วงแขนแล้วไม่ได้ยินและไม่เข้าใจกัน แสดงว่าบริเวณนี้มีเสียงดังถึงขั้นอันตราย
– ใช้มาตรระดับเสียงตรวจระดับเสียงบริเวณนั้น องค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (USEPA) เสนอแนะว่าผู้ที่ได้รับเสียงเฉลี่ยเกิน 70 เดซิเบลเอ อย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง เป็นระยะเวลานานจะกลายเป็นคนหูตึง

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.pcd.go.th/info_serv/air_noise.htm ด้วยค่ะ

Leave a Reply

  • (will not be published)