Monthly Archives: November 2018

รู้จักระดับความดังของเสียง คนเรารับเสียงดังได้มากแค่ไหน? 0


“หู” นับเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกายของเรา เพราะแทบจะทุกกิจกรรมในชีวิตประจำวัน มักจะมี “เสียง” เข้ามาเกี่ยวข้อง นั่นทำให้แต่ละวัน หูของเราจะถูกใช้งานอย่างสารพัด
วันนี้เราเลยพามารู้จักกับ “ระดับความดังของเสียง” หรือ “เดซิเบล” ที่ถูกใช้เป็นตัวกำหนดว่าเสียงที่เราเจอในชีวิตประจำวันควรดังประมาณไหน หรือดังแค่ไหนจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย
โดยปกติแล้ว เสียงมีหน่วยวัดอยู่หลายหน่วย แต่เดซิเบล (dB) คือหน่วยการวัดระดับความดังเสียงที่เข้าใจง่ายและนิยมในปัจจุบัน โดยการวัดความดังเสียงในหน่วยเดซิเบล (เอ) จะถูกแบ่งออกเป็นระดับเทียบกับเสียงที่พบบ่อยในชีวิตประจำวันได้ ดังนี้

– ระดับเบามาก (0-20 dB) เช่น เสียงหายใจ เสียงกระซิบ นั่นแปลว่าเสียงที่มนุษย์เริ่มได้ยินก็คือตั้งแต่ 0 dB เลย
– ระดับเบา (30-40 dB)ช่น เสียงในห้องสมุด เสียงห้องนอนตอนกลางคืน
– ระดับปานกลาง (50-60 dB) เช่น เสียงฝนตกเบาๆ เสียงพูดคุยทั่วไป
– ระดับดัง (70-80 dB) เช่น เสียงเครื่องดูดฝุ่น เสียงนกหวีด และไม่ควรฟังเสียงที่ดังตั้งแต่ 85 dB ขึ้นไปเป็นเวลานานๆ เพราะอาจสูญเสียการได้ยิน
– ระดับดังมาก (90-100 dB) เช่น เสียงเครื่องตัดหญ้า เสียงโรงงาน
– ระดับดังสุดๆ (110-140 dB) เช่น เสียงเพลงแดนซ์ในผับ เสียงคอนเสิร์ตร็อค เสียงเครื่องบินเจ็ต โดยไม่ควรได้รับเสียงตั้งแต่ 100-120 dB เกิน 1-2 ชม. และเมื่อเสียงดังถึง 130 dB จะเริ่มมีอาการปวดหู
เมื่อทราบกันแล้ว ใครที่รู้ตัวว่าอยู่ในสถานการณ์ที่มีเสียงดังบ่อยๆ เมื่อมีโอกาสก็ควรหลีกเลี่ยงนะ โดยสามารถดำเนินการทางกฎหมายได้ ในกรณีที่มีการใช้เสียงดังบริเวณใกล้เคียง ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 (2540) ซึ่งกำหนดมาตรฐานความดังเสียงทั่วไปสูงสุดไม่เกิน 115 dB
นอกจากนี้ บริเวณที่มีการก่อเสียงดังรบกวน เช่น
– การตั้งวงเหล้า
– จัดปาร์ตี้
– เปิดเพลงเสียงดัง
– ข้างบ้านตะโกนไฟไหม้ แต่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง
– สุนัขเห่า
– เปิดทีวีเสียงดัง
– เสียงคนทะเลาะกัน
– ขนของเสียงดัง
– เสียงก่อสร้างต่อเติมบ้าน
ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาม.370 ผู้ใดส่งเสียง ทำให้เกิดเสียงหรือกระทำความอื้ออึง โดยไม่มีเหตุอันสมควร จนทำให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
ส่วนเสียงสุนัขเห่า อาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.397 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจากด้วยค่ะ

รู้จักระดับความดังของเสียง คนเรารับเสียงดังได้มากแค่ไหน?

อาวุธเสียงที่ไร้เสียงมีจริงหรือไม่ ? 0

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ รายงานว่า เจ้าหน้าที่ประจำสถานทูตอเมริกันที่กรุงฮาวานาของคิวบาอย่างน้อย 16 คน ได้อ้างว่ามีอาการป่วยประหลาดโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งอาการป่วยนี้รวมถึงหูดับ สูญเสียความสามารถในการได้ยินชั่วคราว รวมทั้งอาการอื่นๆ ที่คล้ายกับถูกโจมตีด้วย “อาวุธเสียง” หรือการถูกทำร้ายด้วยคลื่นเสียงรบกวน ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันมานานในด้านการทหารและการปราบจลาจล อย่างไรก็ตาม เหตุในครั้งนี้มีความแปลกประหลาดยิ่งขึ้นไปอีก เพราะไม่มีผู้ได้ยินเสียงผิดปกติใดๆ ขณะเกิดเหตุแม้แต่คนเดียว
สำนักข่าวเอพีรายงานว่า เหตุโจมตีดังที่อ้างเกิดขึ้นที่บริเวณบ้านพักของบุคลากรสถานทูตสหรัฐฯ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องยากที่ผู้ก่อเหตุจะลอบโจมตีอย่างเงียบเชียบ และหลบหนีไปได้อย่างง่ายดายในขณะที่ต้องเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ “อาวุธเสียง” ที่ควรจะมีขนาดใหญ่พอสมควร ยังไม่มีผู้ใดทราบชัดว่า มีการใช้อาวุธเสียงรุ่นใหม่ที่สามารถโจมตีได้อย่างเงียบเชียบหรือไม่ หรืออาวุธเสียงแบบที่ว่านี้มีอยู่จริงหรือเปล่าในปัจจุบัน
เสียงทำอันตรายได้อย่างไร ?
เสียงที่ดังหรือคลื่นเสียงที่รุนแรงเกินไป อาจสร้างความเสียหายแก่เซลล์เส้นขนที่หูชั้นใน ซึ่งเป็นตัวรับคลื่นเสียงและส่งสัญญาณไปยังสมองได้ ทำให้คนเราต้องสวมเครื่องป้องกันหรือใช้ที่อุดหูเวลาได้ยินเสียงดัง มิเช่นนั้นอาจเกิดอาการหูดับหรือเกิดเสียงรบกวนภายในหูในภายหลัง
นอกจากส่งผลกระทบต่อการได้ยินแล้ว ผู้ที่ถูกโจมตีด้วยคลื่นเสียงรบกวนยังมีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ ทรงตัวไม่อยู่ เกิดตะคริวที่กล้ามเนื้อท้องหรือปวดเกร็งที่ท้อง บางรายอาจถึงขั้นเกิดความเสียหายที่สมองได้
อาวุธเสียงที่ไม่มีเสียงจะทำงานอย่างไร ?
ความเป็นไปได้ของอาวุธชนิดนี้มีอยู่สองทาง คือใช้คลื่นเสียงในย่านที่มีความถี่ต่ำเกินไป หรือไม่ก็มีความถี่สูงเกินไปกว่าที่หูของมนุษย์จะสามารถได้ยิน
สำหรับคลื่นความถี่ต่ำนั้น ต้องมีความถี่ต่ำกว่า 20 เฮิร์ตซ์ หรือที่เรียกว่าอินฟราซาวด์ (Infrasound) ซึ่งเป็นระดับที่สัตว์อย่างช้าง วาฬ หรือฮิปโปโปเตมัสใช้สื่อสารกัน หากมีการขยายคลื่นเสียงนี้ให้รุนแรงขึ้น ผู้ที่สัมผัสกับคลื่นเสียงดังกล่าวจะเกิดอาการวิงเวียน ทรงตัวไม่อยู่ หรือในกรณีที่รุนแรงอาจไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้
อย่างไรก็ตาม ดร.โทบี เฮย์ส ผู้เชี่ยวชาญเรื่องคลื่นเสียงได้ให้สัมภาษณ์กับนิตยสารนิวไซแอนทิสต์ว่า การโจมตีด้วยคลื่นเสียงแบบนี้จะต้องใช้ลำโพงขยายเสียงความถี่ต่ำจำนวนมาก ทำให้การลอบโจมตีด้วยวิธีนี้น่าจะทำได้ยาก

ส่วนคลื่นเสียงความถี่สูงที่เกินความสามารถการได้ยินของมนุษย์ หรืออัลตราซาวด์ ต้องมีความถี่สูงกว่า 20 กิโลเฮิร์ตซ์ขึ้นไป ซึ่งแม้จะฟังไม่ได้ยิน แต่ก็ทำให้เกิดความเสียหายกับหูบางส่วนได้ คลื่นเสียงชนิดนี้นับว่ามีความเป็นไปได้มากที่สุดที่จะเป็นตัวการก่อเหตุในกรณีเจ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐฯในคิวบา เพราะมีการใช้แพร่หลายแล้วในทางการแพทย์ และมีลำโพงสำหรับใช้งานทั่วไปที่หาได้ง่าย สามารถใช้ส่งคลื่นอัลตราซาวด์ผ่านผนังหรือกำแพงได้
อย่างไรก็ตาม การโจมตีด้วยคลื่นอัลตราซาวด์ยังมีข้อจำกัดอยู่ว่า อุปกรณ์ที่ใช้ต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะติดตั้งกับแบตเตอรีที่มีขนาดใหญ่เช่นกัน เพื่อให้มีพลังในการโจมตีเพียงพอ แต่การใช้งานก็เสี่ยงที่จะทำอันตรายแก่ผู้ที่ไม่ใช่เป้าหมายในบริเวณโดยรอบ รวมทั้งตัวผู้ก่อเหตุโจมตีเองด้วย
นายสตีฟ กู๊ดแมน ผู้เขียนหนังสือ “สงครามคลื่นเสียง” (Sonic Warfare) บอกกับบีบีซีว่า ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าคลื่นเสียงที่มนุษย์ไม่สามารถได้ยินนั้นจะทำให้สูญเสียการได้ยินได้จริงหรือไม่ เพราะข้อมูลในปัจจุบันยังมีไม่เพียงพอที่จะกล่าวเช่นนั้นได้
ใครมีเทคโนโลยีแบบนี้อยู่บ้าง ?
เอลิซาเบธ ควินทานา นักวิจัยอาวุโสจากราชสถาบันรวมเหล่าทัพเพื่อการศึกษาความมั่นคงและการป้องกันประเทศ (RUSI) ของสหราชอาณาจักรบอกว่า ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าประเทศใดมีการพัฒนาเทคโนโลยีนี้อยู่บ้าง ด้านคิวบาเองก็ปฏิเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุลอบโจมตีที่อ้างว่าเกิดขึ้นครั้งนี้ แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่ประเทศที่สามซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อสหรัฐฯ จะเป็นผู้ก่อเหตุขึ้น
ก่อนหน้านี้มีการใช้งานปืนใหญ่คลื่นเสียง (Sound Cannon) กันอยู่แล้วในหลายแห่งทั่วโลก เช่น มีการติดตั้งกับเรือตรวจการณ์เพื่อใช้ขับไล่โจรสลัดในทะเล หรือใช้ในการปราบจลาจลที่ค่อนข้างรุนแรง โดยสามารถส่งเสียงดังสูงสุดถึง 150 เดซิเบลได้ในระยะ 1 เมตร และทำให้เกิดอาการหูดับได้ในรัศมี 15 เมตร บางรุ่นสามารถได้ยินไปไกลกว่า 1 ไมล์ แต่ก็ยังเป็นอุปกรณ์ที่มนุษย์สามารถได้ยินเสียงของมันได้ ต่างจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่สถานทูตสหรัฐฯ ในคิวบา
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก https://www.bbc.com/thai/international-41064919 ด้วยค่ะ

ระวังบ้านเสียงดังเกิน ทำระดับความเครียดเพิ่ม 0


ที่บ้านตอนนี้มีเสียงดังเกินไปหรือเปล่า ตั้งแต่เสียงของเครื่องปั่นน้ำผลไม้ จนถึงเครื่องซักผ้า เพราะเสียงเหล่านั้นอาจทำให้เกิดความเครียดได้โดยไม่รู้ตัว โดยผลวิจัยล่าสุดจากองค์การอนามัยโลก (ดับเบิลยูทีโอ) เปิดเผยว่า มีชาวยุโรปกว่า 40% ที่เดียวที่ต้องเผชิญกับระดับเสียงที่ดังเกินกว่า 55 เดซิเบล ซึ่้งระดับพอๆกับเสียงในออฟฟิศ
ที่น่าตกใจยิ่งไปกว่านั้นคือ ระดับเสียงของเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านมีระดับความเสียงดังที่สูงเช่นกัน โดยเครื่องซักผ้ามีระดับความเสียงดังที่ 70 เดซิเบล ขณะที่ตู้เย็นอยู่ที่ 50 เดซิเบล และอาจเพิ่มได้ถึง 90 เดซิเบล ซึ่งทางดับเบิลยูทีโอ ระบุว่า เสียงที่เกิดจากเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้น ดังมากพอที่จะรบกวรการนอนหลับและส่งผลให้ความดันเลือดพุ่งสูง ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ
กระนั้นก็ตาม เจ้าของบ้านกลับไม่ค่อยตระหนักถึงเสียงที่เกิดขึ้น และผลกระทบที่เกิดในชีวิตประจำวัน ดังนั้น คงต้องลองสำรวจดูเสียหน่อยแล้วว่า ที่บ้านมีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ก่อเสียงดังเกินไปหรือเปล่า …
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก https://www.posttoday.com/life/life/286375ด้วยค่ะ

ภัยเสียงดังร้ายกว่าที่คุณคิด 0

อันตรายจากเสียงดัง
“ทุกวันนี้จะมีเสียงประสานของจักจั่นเรไรหลายพันตัวดังระงมในหูของฉันตลอดวันตลอดคืน” แต่ทราบไหม อันตรายจากเสียงดัง มีภัยร้ายซ่อนอยู่มากกว่าที่คิด
หากฟังเผินๆ คุณอาจนึกถึงความสุขสงบท่ามกลางธรรมชาติของพื้นป่าสีเขียวแต่สำหรับ คุณปานชลี สถิรศาสตร์ ศิลปินเซรามิก ผู้ก่อตั้ง ชมรมหรี่เสียงกรุงเทพฯ เสียงเหล่านี้กลับสร้างความทุกข์ทรมานให้เธอเป็นอย่างมาก
เรามาค้นหาคำตอบเรื่องนี้พร้อมๆ กันค่ะเสียงดังใช่ว่าจะเสียงดี
มลพิษจากเสียงรอบตัวเราอาจเป็นเรื่องใกล้ๆ ตัวที่หลายคนมักมองข้ามรวมถึงคุณปานชลี
“เมื่อหลายปีก่อน บ้านใกล้ๆ พากันซ่อมแซมต่อเติมบ้าน เสียงตัดเหล็ก เจาะพื้นและผนังรอบด้าน เป็นเสียงที่ได้ยินแล้วทั้งปวดหูและปวดหัวมาก แม้จะปิดหน้าต่างและเปิดเครื่องปรับอากาศ เสียงก็ยังดังมาก
“พอดีเป็นช่วงที่ต้องเร่งทำงานปั้นเพื่อจัดนิทรรศการ จึงหนีไปไหนไม่ได้เพราะต้องทำงานอยู่ที่บ้านทั้งวัน แถมเสียงเจาะพื้นผนังเป็นเสียงสั่นสะเทือนที่เดินทางเข้าสมองมาโดยผ่านกะโหลกศีรษะ ไม่มีเทคโนโลยีอะไรที่ป้องกันได้
“อยู่มาคืนหนึ่งก็มีอาการหูดับ คือไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย เหมือนตกลงไปในหลุมดำ ดิ่งลงไปในเหว อยู่ในถ้ำมืดที่ไม่มีอากาศหายใจ และรู้สึกหายใจไม่ออก คล้ายกับคนใกล้ตาย เป็นภาวะที่น่ากลัวและทรมานมาก
เสียงร้ายทำลายสุขภาพ
ป้องกันไว้ก่อนหูเสื่อม
เราจะป้องกันตัวเองอย่างไรให้ปลอดภัยจากอันตรายของเสียงดัง และไม่เป็นผู้สร้างมลพิษทางเสียง เริ่มต้นง่ายๆ ดังนี้
1.รู้จักความพอดีและมีกาลเทศะเช่น ไม่ฟังเพลงหรือเปิดโทรทัศน์ดังเกินไป ไม่พูดโทรศัพท์หรือส่งเสียงดังรบกวนความสงบของผู้อื่น ทั้งในบ้านและที่สาธารณะ
2.หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีเสียงดังหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรออกจากสถานที่แห่งนั้นให้เร็วที่สุด
3.ใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงดังทุกครั้งที่ต้องอยู่ในที่ที่มีเสียงดัง เช่น ที่ครอบหู (Ear Muffs) ลดระดับความดังได้ 20 – 40 เดซิเบลเอ และปลั๊กอุดหู (Ear Plugs) ลดระดับความดังได้ 10 – 20 เดซิเบลเอ
4.ใช้หูฟังแบบครอบหูแทนหูฟังแบบเสียบในหู
5.สังเกตเสียงต่างๆ รอบตัว หากไม่สามารถพูดคุยด้วยระดับเสียงปกติในระยะห่าง 1 ช่วงแขน แสดงว่าเสียงที่นั่นดังเกินไป
6.ตรวจความสามารถการได้ยินเป็นประจำทุกปี สำหรับผู้ที่ต้องทำงานในสถานที่ที่มีเสียงดัง
7.ช่วยกันดูแลสถานที่ทำงานและสถานที่สาธารณะ ให้ควบคุมเสียงไม่ให้ดังเกินมาตรฐาน
8.ร้องเรียนเหตุเสียงดังกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร หรือกรมควบคุมมลพิษ
สุดท้าย สิ่งที่คุณปานชลีฝากไว้ก็คือ“เสียงดังทำให้คนมีจิตใจหยาบกระด้างขาดรสนิยมที่ดีงาม ขาดมารยาท ไม่เคารพสิทธิ์ของคนอื่น ทำให้สังคมขาดความสงบสุข และทำให้ประเทศย่อยยับได้ ซึ่งอาจยังมองกันไม่เห็น พอถึงเวลานั้นแล้วไม่มีใครฟังใคร ก็จะกลายเป็นสังคมที่ไม่รักกันค่ะ”
หยุดสร้างมลพิษทางเสียงกันเถอะค่ะเพื่อสุขภาพหูและคุณภาพชีวิตที่ดีของคนทุกคนในสังคม
เมืองไทยเสียงดังแค่ไหน
แม้ในยุโรปซึ่งเป็นประเทศที่เงียบสงบ?ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีกฎหมายลงโทษผู้ส่งเสียงดังอย่างเข้มงวดมลพิษทางเสียงก็ยังเป็นสิ่งที่ชาวยุโรปให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง
ขณะที่ในประเทศไทยพบว่าตามสถานที่ต่างๆ เช่น สี่แยกไฟแดง ป้ายรถเมล์ โรงภาพยนตร์ ศูนย์การค้าร้านอาหาร สวนสนุก ส่งเสียงดังเท่าใดก็ได้โดยไม่มีการควบคุม
สวนสาธารณะทุกแห่งในกรุงเทพฯ กระจายเสียงเกินกว่า 70 เดซิเบลเอ ทั้งที่มาตรฐานควรจะมีเสียงรบกวนไม่เกิน 50 เดซิเบลเอ และถนนสายหลักในเมืองซึ่งไม่ควรมีเสียงดังเกิน 70 เดซิเบลเอก็มีเสียงดังเกิน 85 เดซิเบลเอทั้งสิ้น
เสียงตัวร้ายควรระวัง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสุวัจนา อธิภาส อาจารย์ประจำภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อธิบายถึงลักษณะเสียงที่เป็นภัยต่อสุขภาพว่า?
“นอกจากระดับ ความดังของเสียง ซึ่งเสียงยิ่งดังมากความเสี่ยงต่อการหูตึงยิ่งมีมากขึ้นแล้ว ลักษณะของเสียง อย่างเสียงกระแทก เช่น เสียงสว่านเจาะพื้นจะทำลายเซลล์ประสาทรับเสียงมากกว่าเสียงดังต่อเนื่องรวมถึง ความถี่ของเสียง อย่างเสียงความถี่สูงหรือเสียงแหลมของเครื่องสว่าน ยังจะทำลายเซลล์ประสาทรับเสียงได้มากกว่าเสียงความถี่ต่ำหรือเสียงทุ้ม”
นอกจากนี้คุณหมอยังย้ำว่า “ระยะเวลาการได้ยินเสียง ที่ต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนาน อย่างที่คุณปานชลีได้ยินเสียงซ่อมแซมบ้านต่อเนื่องกันเป็นเวลานานเกือบสองปี ย่อมมีความเสี่ยงของการได้ยินเสื่อมเพิ่มขึ้น”
เมื่อร่างกายมีอาการผิดปกติมากขึ้นมีอาการทนเสียงดังๆ แทบไม่ได้ แม้แต่เสียงปิดเปิดประตูดังๆ หรือเสียงสุนัขเห่าก็รบกวนเธอมาก เธอจึงไปพบคุณหมอซึ่งตรวจพบว่าเธอป่วยด้วย “โรคประสาทหูเสื่อมและมีเสียงกริ่งในหู” หรือ “หูอึง”
คุณหมออธิบายกับเธอว่า หูอึง เป็นอาการได้ยินเสียงรบกวนในหูผิดปกติซึ่งมีอาการแตกต่างกันกว่าสองพันชนิดเช่น เสียงจิ้งหรีด เสียงจักจั่น เสียงระฆัง เสียงลม กระทั่งดังมากเหมือนเสียงกลอง เป็นต้น เสียงดังในหูอาจเป็นตลอดเวลา ซึ่งสร้างความรำคาญและรบกวนอย่างมาก จนผู้ป่วยบางรายนอน
ไม่หลับหรือป่วยเป็นโรคประสาทได้เช่นเดียวกับอาการที่เกิดขึ้นกับเธอ
นอกจากนี้ คุณหมอเสริมต่อว่าเสียงที่ดังมากเกินไปยัง ส่งผลกระทบต่อระบบการได้ยินอื่นๆ ได้แก่ หูตึงหมายถึงการได้ยินไม่ชัดหรือสมรรถภาพการได้ยินลดลง จนถึงขั้นสูญเสียการได้ยิน เราอาจแบ่งระดับความรุนแรงของการสูญเสียการได้ยินเป็นหูตึงน้อยหูตึงปานกลาง หูตึงมาก หูตึงรุนแรงและหูหนวก โดยใช้หน่วยวัดมาตรฐานที่เรียกว่า เดซิเบล เป็นตัวกำหนด
คนปกติจะมีระดับการได้ยินไม่เกิน 25 เดซิเบล ผู้ที่มีปัญหาหูตึงจะมีค่าระดับเสียงที่เริ่มได้ยินเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ และคนหูหนวกจะมีระดับการได้ยินที่มากกว่า 90 เดซิเบล
เวียนหัว เกิดจากความผิดปกติของระบบการทรงตัว ซึ่งเป็นการทำงานของหูชั้นในร่วมกับการทำงานของระบบประสาทและสมอง ถ้าหากได้ยินเสียงดังมากๆ ก็อาจกระทบกระเทือนอวัยวะควบคุมการทรงตัวในหูชั้นใน ทำให้เราเวียนหัวทรงตัวไม่อยู่ บ้านหมุน หรือคลื่นไส้ได้ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นกับคุณปานชลี
คุณปานชลีเล่าถึงฝันร้ายของเธอต่อว่า “นอกจากจะเดินไม่ตรงทาง กะระยะไม่ถูกจนเดินชนโต๊ะเก้าอี้ทั้งวันแล้วยังทนเสียงทุ้มของกลองและเบสไม่ได้เลย เพราะรู้สึกว่ามีแรงกระแทกที่หน้าอก ทำให้เจ็บหัวใจจนน้ำตาร่วง ต้องเที่ยวขอให้คนที่เปิดเพลงเผื่อแผ่ให้คนอื่นช่วยหรี่เสียงลงเสมอ ที่สำคัญ ไม่สามารถเข้าโรงหนังและร้านอาหารที่เปิดเพลงดัง จนต้องงดเดินศูนย์การค้าและต้องใช้ปลั๊กอุดหูหรือเอียร์ปลั๊กตลอดเวลาที่อยู่นอกบ้าน”
คุณปานชลีเคยมีประสบการณ์เลวร้ายจากอาการนอนไม่ได้ติดกันหลายคืนเพราะฟังเสียงดนตรีกระหึ่มจากเทศกาลเฉลิมฉลองใกล้บ้าน?จนมีอาการคลุ้มคลั่งและต้องเข้าบำบัดรักษาโรคประสาทอย่างต่อเนื่องมานานกว่า 3 ปีแล้วและยังต้องกินยาปรับสารสื่อสมองไตลอดชีวิต
เหมือนเช่นที่คุณหมออธิบายกับเธอในวันนั้นว่า “อันตรายของเสียงยัง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั่วไปและจิตใจ ได้แก่ทำให้มีอาการปวดศีรษะ หงุดหงิด ไม่สบายใจ เกิดความเครียด และอาจเป็นโรคประสาทได้” อาการทางประสาทที่เธอเคยเป็นคือบุคลิกภาพเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เธอบอกว่า “จากคนที่มีความสุขมากกลายเป็นมีอาการซึมเศร้า หวาดกลัวเสียงดังสมองเหมือนหัวผักกาด มีอาการเหมือนเด็กเล็กๆ ที่ช่วยตัวเองไม่ได้แม้แต่การกินอาหารและติดกระดุมเสื้อผ้า ไม่สามารถเขียนหนังสือได้จบประโยคสูญเสียทักษะในการสื่อสาร ฟังอะไรไม่เข้าใจ และสูญเสียความทรงจำระยะหนึ่ง
“เป็นอาการที่จิตแพทย์อธิบายว่าสารสื่อประสาทลัดวงจรจากความเครียดและกว่าจะพบจิตแพทย์ที่มีความเข้าใจโรค รวมถึงใช้ยาที่เหมาะกับอาการ ก็ต้องทุกข์ทรมานอยู่นานหลายเดือน”
นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ยังมีผลต่อระบบต่างๆ ในร่างกายเช่น โรคกระเพาะอาหาร ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจบางชนิด?และทำให้ชีพจรเต้นเร็ว
อีกทั้ง ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เสียงที่ดังมากๆ จะรบกวนการทำงานและทำให้เสียสมาธิ เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้ และยังลดประสิทธิภาพการทำงานอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม เราคงไม่ต้องรอให้เกิดฝันร้ายเช่นเดียวกับคุณปานชลีขึ้นกับใครอีกต่อไป เพราะผลกระทบจากพิษภัยเสียงดังที่กล่าวมาข้างต้นถือเป็นเรื่องที่เราสามารถป้องกันได้
แต่จะมีส่วนร่วมอย่างไรได้บ้างนั้นเรามาดูกันค่ะ
“สักพักก็มีเสียงดังวิ้งๆ ในหู ทีแรกเหมือนจิ้งหรีดร้องในหูตลอดเวลา เป็นกลางดึกจึงไม่ได้ไปหาหมอทันที คิดว่าจะใช้วิธีนั่งสมาธิเยียวยาตัวเอง ตอนนั้นยังไม่มีความรู้เรื่องหูอึง ว่าถ้าเกิดอาการเช่นนี้ต้องรีบไปหาหมอทันทีภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง
“ยิ่งตอนเข้านอน เสียงรบกวนในหูก็จะดังมากขึ้น ถึงแม้จะง่วงนอนมากแต่นอนไม่ได้ ทั้งๆ ที่เคยเป็นคนหลับง่ายเสียงในหูดังขึ้นทุกวัน และกลายเป็นเสียงจักจั่นมาเป็นกองทัพ บางวันก็เหมือนเสียงกลอง นอนไม่หลับอยู่สองอาทิตย์” คุณปานชลีสาธยายสารพัดอาการที่เกิดขึ้นให้ฟัง
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก

ภัยเสียงดังร้ายกว่าที่คุณคิด

ด้วยค่ะ

ตร.เข้มตรวจรถเสียงดังเกินมาตรฐาน 90 เดซิเบล 0

กองบังคับการตำรวจจราจรจะเริ่มบังคับใช้กฎหมายควบคุมรถที่มีเสียงดัง หลังทดสอบมานานกว่า 3 เดือน โดยเครื่องยนต์ของรถทุกชนิดจะต้องมีเสียงด้งไม่เกินกว่า 90 เดซิเบล จะเริ่มจับปรับเดือนมีนาคม
วันนี้ (3 ม.ค.2561) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังกรมควบคุมมลพิษเข้าให้การอบรมการปฏิบัติงานตรวจวัดควันดำและรถเสียงดัง กองบัญชาการตำรวจจราจร (บก.จร.) เตรียมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมตรวจวัดเสียงดังในเดือนมีนาคมนี้ ซึ่งจะเป็นการบังคับใช้กฎหมายควบคุมเสียงดังที่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน
พ.ต.ท.สวิสส์ เจริญผล สารวัตรงานตรวจพิสูจน์มลภาวะ กองกำกับการ 5 กองบังคับการตำรวจจราจร เปิดเผยถึงการเตรียมความพร้อม โดยระบุว่า ขณะนี้ได้เตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ และบุคลากร ไว้พร้อมแล้ว โดยเจ้าหน้าที่ของ บก.จร. มีความชำนาญในการตรวจวัดเสียงดังอยู่แล้ว เพราะที่ผ่านมาได้มีการทดลองตรวจวัดมานานกว่า 3 เดือน

สำหรับพื้นที่ที่จะตั้งด่านวัดเสียงดังจะต้องเป็นพื้นที่ที่อยู่รอบนอก และต้องเป็นพื้นที่เปิดโล่งไม่เป็นพื้นที่ที่อยู่ใต้สะพานหรือมีกำแพงปิดกั้น เพราะจะทำให้ค่าการวัดเสียงไม่เป็นไปตามมาตรฐาน
ทั้งนี้ ค่ามาตรฐานเสียงของเครื่องยนต์ กฎหมายกำหนดไว้ที่ 90 เดซิเบล ซึ่งหากเป็นรถที่มาจากโรงงานเสียงจะเป็นไปตามมาตรฐานทั้งหมด แต่หากเป็นรถที่ดัดแปลงมาจะทำให้เสียงดังเกินค่ามาตรฐาน
ส่วนการดำเนินการกับรถที่มีค่าเสียงดังเกินมาตรฐาน เจ้าหน้าที่จะดำเนินการเหมือนกับการจับรถค่าควันดำ โดยหากพบจะออกใบสั่งมีอัตราค่าปรับ 1,000 บาท พร้อมทั้งติดสติกเกอร์สีขาวห้ามใช้ชั่วคราว 30 วัน ซึ่งเจ้าของรถสามารถนำรถไปตรวจสอบและแก้ไขได้ที่กรมควบคุมมลพิษ สถานีตำรวจนครบาลคู่ขนาน หรือที่กองโรงงานช่างของ กทม. ทั้ง 5 จุด หลังจากปรับปรุงแก้ไขจะต้องนำรถมาให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเพื่อปลดสติกเกอร์สีขาวออก
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก https://news.thaipbs.or.th/content/269045 ด้วยค่ะ