Monthly Archives: October 2018

เสียงดังของเมืองอาจทำให้การสูญเสียการได้ยิน 0

เมื่อเร็วๆนี้วารสารทางการแพทย์แลนเซ็ตได้เผยว่าความสูญเสียการได้ยินเป็นการระบาดแบบเงียบๆที่เกิดจากมลพิษทางเสียงในเมืองใหญ่ ซึ่งนักวิจัยจากศูนย์การแพทย์มิมี่ แอนด์ ชาไรต์ มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ได้รวบรวมข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกและสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งชาตินอร์เวย์ (SINTEF) มาจัดอันดับมลพิษทางเสียงในหลายเมืองทั่วโลกเพื่อเชื่อมโยงกับการสูญเสียการได้ยินของประชากรใน 50 เมืองใหญ่ โดยทดสอบการได้ยินผ่านโทรศัพท์มือถือจากประชากร 200,000 คน
พบว่าในเขตเมืองใหญ่อย่างเมืองกวางโจวในจีน นิวเดลีในอินเดีย ไคโรในอียิปต์ อิสตันบูลในตุรกี เป็นเมืองที่การได้ยินอยู่ในระดับย่ำแย่มากที่สุด เช่นเดียวกับเมืองซูริกในสวิตเซอร์แลนด์ เวียนนาในออสเตรีย ออสโลในนอร์เวย์ มิวนิกในเยอรมนี ต่างมีระดับการได้ยินลดลง ในขณะที่เมืองสตอกโฮล์มในสวีเดน โซลในเกาหลีใต้ อัมสเตอร์ดัมในเนเธอร์แลนด์ สตุตการ์ตในเยอรมนี เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มความเสี่ยงน้อยกว่า โดยเมืองเซี่ยงไฮ้ในจีน เกาะฮ่องกง บาร์เซโลนาในสเปน เป็นเมืองที่ผลิต เสียงดังมาก ส่วนปารีสในฝรั่งเศสมีเสียงดังมากเป็นอันดับ 3
การศึกษาพบว่าโดยเฉลี่ยแล้วประชากรที่อาศัยในเมืองที่มีเสียงดังที่สุดมากกว่า 10 ปีจะสูญเสียการได้ยินมากกว่าประชากรที่อาศัยในเมืองที่เงียบสงบ ด้านนักวิชาการโสตวิทยากล่าวว่า หากตรวจพบการสูญเสียการได้ยินก่อนหน้านี้ จะยิ่งมีโอกาสที่จะป้องกันความเสียหายได้มากขึ้น ทั้งนี้ นักวิจัยด้านพันธุกรรมในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ได้พยายามศึกษาความเชื่อมโยงการสูญเสียการได้ยินกับความผิดปกติทางพันธุกรรมเช่นกัน

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก https://www.thairath.co.th/content/886541 ด้วยค่ะ

“ใส่หูฟัง-เสียงดังเกิน” เสี่ยง..ประสาทหูเสื่อม” 0

3 มีนาคมของทุกปี เป็นวันการได้ยินโลก ซึ่งองค์การอนามัยโลกกำหนดขึ้นเพื่อเป็นการรณรงค์กระตุ้นเตือนให้ประชากรโลกตระหนักถึงความสำคัญของการได้ยิน และป้องกันการสูญเสียการได้ยิน หรือหูเสื่อม
นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข บอกว่า ในประเทศไทยมีผู้ที่มีปัญหาทางการได้ยินมากกว่า 2.7 ล้านคน ที่น่าเป็นห่วงคือ กลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานมีแนวโน้มหูเสื่อมมากขึ้น
“ปัญหาการสูญเสียการได้ยิน นอกจากจะมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ การติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส อุบัติเหตุกระทบกระแทกทางศีรษะ ประสาทหูเสื่อมเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุแล้ว การทำงานหรือไปเที่ยวในสถานที่ที่เสียงดัง รวมถึงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การใส่หูฟังเป็นเวลานาน การคุยโทรศัพท์เสียงดังเกินไป รวมถึงกลุ่มคนที่ทำงานในที่มี เสียงดังเกิน 85 เดซิเบล ติดต่อกันเกิน 8 ชั่วโมง ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะความบกพร่องทางการได้ยินมากขึ้น” นพ.เจษฎาบอก
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข บอกว่า ผู้ป่วยที่มีปัญหาสูญเสียการได้ยิน จะมีอาการเบื้องต้น คือ ได้ยินเสียงดังผิดปกติในหู เช่น ได้ยินเสียงซ่าๆเหมือนเสียงสัญญาณทีวี เสียงเหมือนน้ำไหล เสียงคล้ายเสียงจิ้งหรีด หรือรู้สึกว่าการได้ยินแย่ลงกว่าเดิม ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุ

“สาเหตุในบางครั้งก็เป็นเรื่องพื้นฐานมากๆ เช่น มีขี้หูอุดตัน แก้วหูทะลุ แต่ที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ คือ ภาวะประสาทหูเสื่อม ที่แพทย์จะทำได้เพียงป้องกันไม่ให้เสื่อมมากขึ้น หรือชะลอการเสื่อม”
คุณหมอเจษฎา บอกด้วยว่า หากพบประสาทหูเสื่อมมากจนมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น มีผลต่อการเรียนหรือการทำงาน การแก้ไขมี 2 วิธี คือ 1.ใช้เครื่องช่วยฟัง และ 2.การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมในกรณีที่ใช้ เครื่องช่วยฟังไม่ได้ผล แต่ก่อนที่จะไปถึงจุดนั้น การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะหูเสื่อมน่าจะสำคัญที่สุด โดยเฉพาะหลีกเลี่ยงที่จะเข้าไปอยู่ในที่ที่มีเสียงดังเป็นเวลานาน หากเลี่ยงไม่ได้ควรป้องกันโดยการใส่เครื่องป้องกันเสียง พักผ่อนให้เพียงพอ ทำร่างกายให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่อาจทำให้เกิดอาการประสาทหูเสื่อมแบบเฉียบพลัน
ด้าน นพ.มานัส โพธาภรณ์ ผอ.รพ.ราชวิถี บอกว่า ในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคสูญเสียการได้ยิน เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลราชวิถี มากกว่า 3,000 คน โดย รพ.ราชวิถี ถือเป็นโรงพยาบาลที่ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมให้กับผู้ป่วยมากที่สุดในประเทศไทย
ในการรณรงค์เนื่องใน “วันการได้ยินโลก” หรือ World Hearing Day นพ.ดาวิน
เยาวพลกุล และ นพ.สุประพล จันทพันธ์ กลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านโสต ศอ นาสิก รพ.ราชวิถี ได้แนะนำ วิธีสังเกตอาการเบื้องต้นของผู้ที่มีอาการหูหนวกในขั้นต้นว่า มักเริ่มจากการได้ยินสิ่งที่คนอื่นพูดไม่ชัด เปิดทีวีเสียงดังกว่าปกติ เพราะไม่ได้ยิน เสียงทีวี หรือมีอาการที่บ่งชี้ว่าประสาทหูเสื่อม เช่น ได้ยินเสียงจิ้งหรีดร้องจี๊ดๆอยู่ในหู ซึ่งถ้ามีอาการเหล่านี้ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อทดสอบว่ามีอาการประสาทหูเสื่อมหรือไม่
คุณหมอดาวิน บอกว่า คนที่ได้รับเสียงดังมากเกินไป แก้วหูชั้นในอาจจะเสียได้ ถึงแม้จะเป็นการได้ยินเสียงดังในระยะเวลาสั้นๆ เช่น เสียงประทัด เสียงปืน ที่บางครั้งได้ยินแค่ครั้งเดียวก็อาจทำให้ประสาทหูเสื่อมอย่างถาวรได้
“ที่พบมากขึ้น คือ กลุ่มวัยรุ่นที่ใส่หูฟังตลอดเวลา แม้จะไม่ใช่เสียงที่ดังมาก แต่ถ้าใส่เป็นระยะเวลานานๆ ก็มีโอกาสทำให้เกิดประสาทหูเสื่อมได้เช่นกัน” คุณหมอดาวินบอก
ขณะที่ คุณหมอสุประพล บอกว่า ปัจจัยของการได้ยินเสียง ที่ทำให้เกิดอันตรายกับหู มีอยู่ 2 ปัจจัย คือ ความดังและระยะเวลาที่หูสัมผัสกับเสียงนั้นๆ บางทีไม่ต้องดังมาก แต่อยู่กับเสียงนั้นนานๆก็อาจทำให้มีปัญหาได้
ในทางวิชาการเสียงที่มีความดังระดับ 85 เดซิเบล ไม่ควรรับเกิน 8 ชม. ซึ่งหากต้องไปอยู่ในที่เสียงดังแบบเลี่ยงไม่ได้ ควรหาทางป้องกันด้วยการใส่ที่ครอบหู หรือใส่เอียปลั๊ก เพื่อป้องกันไม่ให้เสียงที่เข้าไปในหูดังมากเกินไป
นอกจากโรคหูเสื่อมจากการได้ยินแล้ว ยังมีโรคที่เป็นสาเหตุอันดับต้นๆของโรคหูอีกโรคหนึ่ง นั่นก็คือโรคหูติดเชื้อ
พญ.นภัสถ์ ธนะมัย กลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านโสต ศอ นาสิก รพ.ราชวิถี บอกว่า โรคหูติดเชื้อ เป็นหนึ่งในสาเหตุอันดับต้นๆของปัญหาหูที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์มากที่สุด โรคหูติดเชื้อเป็นได้ทั้งหูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน ที่รู้จักกันดี คือ โรคหูชั้นกลางติดเชื้อ หรือที่คนทั่วไปรู้จักกันในชื่อ หูน้ำหนวก ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการเริ่มแรกคือ ปวดหูมาก บางคนมีไข้ร่วมด้วย ต่อมาอาจจะมีน้ำหนองหรือน้ำขุ่นๆไหลออกจากหู ต่อมาอาการปวดจะลดลง ซึ่งแสดงว่าแก้วหูทะลุแล้ว
“แก้วหูของคนเรามีโอกาสปิดเองได้สนิท แต่ในบางคน เยื่อแก้วหูไม่ปิด ก็ทำให้มีน้ำไหลออกจากหูเป็นๆหายๆอีกได้ สาเหตุของหูน้ำหนวกเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในหูชั้นกลาง มักเกิดร่วมกับการเป็นหวัด และการที่ท่อปรับความดันที่เชื่อมระหว่างหูชั้นกลางและโพรงจมูกด้านหลังทำงานผิดปกติ ทำให้เวลาเราเป็นหวัด เชื้อโรคสามารถผ่านเข้าท่อปรับความดันไปที่หูชั้นกลางได้” คุณหมอนภัสถ์บอกและว่า ความรุนแรงของหูน้ำหนวกนั้น อาจส่งผลให้มีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน หรืออาจสูญเสียการได้ยิน และหากเป็นหูน้ำหนวกเรื้อรังชนิดรุนแรง อาจมีการติดเชื้อเข้าไปสู่หูชั้นใน และเข้าสมองทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีในสมอง ปวดศีรษะรุนแรง และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ในที่สุด.

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก https://www.thairath.co.th/content/1229961 ด้วยค่ะ

วิจัยเสียงกังหันลมอาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิต 0

กังหันลมที่เป็นแหล่งพลังงานสะอาดทดแทนซึ่งไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศหรือส่งผลต่อภาวะโลกร้อน และกลายเป็นสิ่งปกติในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ถึงจะมีประโยชน์แต่ก็ใช่ว่าจะไม่เกิดผลกระทบต่อผู้คน เพราะเมื่อเร็วๆนี้มีรายงานลงในวารสารสังคมวิทยาศาสตร์นานาชาติเพื่อเผยแพร่และส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับเสียงในอเมริกา (Acoustical Society of America) อ้างว่าเสียงดังจากกังหันลมกำลังส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตของชุมชนชาวนาบางแห่งที่อาศัยอยู่ใกล้กังหันลม
จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมโดยรัฐบาลแคนาดาในปี พ.ศ.2555-2556 ซึ่งในช่วงนั้นรัฐบาลได้ส่งแบบสำรวจไปยังบ้านเรือนทั้งหมดที่อยู่ภายใน 600 เมตรของกังหันลมในเมืองออนทาริโอ หรือเกาะพรินซ์ เอ็ดเวิร์ด และสุ่มสำรวจบ้านที่ห่างจากกังหันลมประมาณ 10 กิโลเมตร ซึ่งการวิจัยก่อนหน้าไม่พบความเชื่อมโยงโดยตรงของความใกล้ชิดระหว่างผู้อยู่อาศัยกับกังหันลม รวมถึงปัญหาการนอนหลับ ความดันโลหิตสูง หรือความเครียด ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโตรอนโต ในแคนาดาและบริษัทด้านวิศวกรรมที่ช่วยวางแผนและสร้างฟาร์ม กังหันลมแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา จึงตั้งข้อสังเกต ว่าระยะห่างที่อยู่อาศัยจากกังหันลมมีผลต่อคุณภาพชีวิตอย่างไร
ผลวิจัยล่าสุดเผยว่ามีความเป็นไปได้ที่ผู้คนซึ่งมองเห็นกังหันลมจากบ้านของตนเองจะเกิดความรำคาญเพิ่มขึ้น เพราะกังหันลมอาจติดตั้งในที่ที่ผู้คนมีความกังวลเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของพวกเขา อย่างไรก็ตาม การวิจัยนี้ไม่ใช่การทดลองแบบควบคุมเพื่อพิสูจน์ว่า การอยู่ใกล้กับกังหันลมมีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์อย่างไร ที่สำคัญคือนักวิจัยยังขาดข้อมูลเสียงจริง รวมทั้งยังใช้แบบจำลองของกังหันลมในการวิจัย.

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก https://www.thairath.co.th/content/1336066 ด้วยค่ะ

บริษัท จีโอนอยซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด รับปรึกษาและจำหน่ายอุปกรณ์เกี่ยวกับด้านเสียงค่ะ 0

บริษัท จีโอนอยซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด รับปรึกษาปัญหาวิศวกรรมการควบคุมเสียง ความสั่นสะเทือน ทั้งยังมีการประเมินปัญหาและวิเคราะห์ แก้ไข รวมไปถึงการให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงโดยเฉพาะ และเรายังจำหน่ายอุปกรณ์กันเสียง เครื่องวัดเสียง และอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศอีกด้วยค่ะ หากสนใจหรืออยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามตามลิ้งค์นี้ได้เลยนะคะ https://www.geonoise.co.th และ https://www.facebook.com/Geonoise ค่ะ

ขอขอบคุณลูกค้าทุกท่านที่มาเยี่ยมชม บริษัท จีโอนอยซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด ยินดีให้บริการค่ะ

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเสียง 0

“คลื่นเสียงไม่ตาย พวกเขาเดินทางไปตลอดกาลและตลอดไป ประโยคทั้งหมดของเราเป็นอมตะ วงกลมของเราไร้ประโยชน์ไปทั่วจักรวาลไปตลอดกาล ” Fay Weldon

หลายคนคุ้นเคยกับแนวคิดของต้นไม้ที่ตกลงมาในป่าและถ้าไม่มีใครได้ยินเสียงมันก็ยังทำให้เสียง? นักวิทยาศาสตร์กำลังค้นพบทุกวันเกี่ยวกับธรรมชาติและพลังของคลื่นเสียง จากองค์ประกอบทางดนตรีที่สวยงามไปเรื่อย ๆ วัตถุเสียงเป็นแรงผลักดันอันน่าทึ่งภายในโลกและจักรวาลของเรา

1.อย่าร้องไห้เพลง
คนที่ประสบปัญหาความกลัวดนตรีและคนที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนมีเสียงดัง เสียบปลั๊กหู

2. การได้ยินที่ยอดเยี่ยม
ปลาโลมาสามารถตรวจจับเสียงใต้น้ำได้ไกลถึง 15 ไมล์หรือ 24 กิโลเมตร อาจเป็นเพราะเสียงเดินทางได้รวดเร็วกว่าน้ำในอากาศถึง 4.3 เท่า

3. Enter The Void
ในพื้นที่กว้างใหญ่ไม่มีเสียง เนื่องจากเสียงต้องการโมเลกุลที่จะเดินทางและเสียงไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านสูญญากาศได้

4. ไม่สามารถรอโตขึ้น
สิงโตไม่สามารถเสียงคำรามได้จนกว่าจะถึงอายุสองขวบ

5. Audio Debut
Inventor Thomas Edison ได้พัฒนาเครื่องบันทึกเสียงครั้งแรกด้วยเครื่องบันทึกเสียงของเขาในปีพ. ศ. 2420 เป็นการบรรยายเรื่อง ‘Mary Had a Lamb.’

6. ร้องไห้เพื่อความสนใจ
ทารกคนหนึ่งร้องไห้ประมาณ 115 เดซิเบลซึ่งดังกว่าแตรรถ

7. Sound Power
นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้คลื่นเสียงเพื่อจัดการกับวัตถุ การใช้คลื่นเสียงและคลื่นอัลตราซาวด์ที่มุ่งเน้นวัตถุได้รับการ levitated ในอากาศและย้ายไปรอบ ๆ บางทีคลื่นเสียงจะแอบเป็น “พลัง”?

8. Ready To Blow
การระเบิดของภูเขาไฟเป็นเสียงที่ดังมากที่สุดในโลก เมื่อ Krakatoa ระเบิด 27 สิงหาคม 1883 มันฆ่า 36,000 คนและทำลายเกาะอย่างสมบูรณ์ เสียงของคลื่นช็อกจากการปะทุของภูเขาไฟทำให้เกิดรอยร้าวของกะลาสีได้ไกลถึง 40 ไมล์ ภาพวาด Scream โดย Edvard Munch ได้รับแรงบันดาลใจจากการปะทุของ Krakatoa

9. แม้เสียงดังฉวัดเฉวียน
แมลงวันไม่สามารถได้ยินเสียงแม้ว่าจะมีเสียงพึมพำ

10. เกี่ยวกับ High Alert
สัตว์ส่วนใหญ่เช่นสุนัขสามารถตรวจจับเสียงได้ในความถี่ที่สูงขึ้น เนื่องจากมนุษย์ไม่ได้ยินเสียงความถี่สูงขึ้นบางครั้งจึงมีโอกาสน้อยที่จะตรวจจับอันตรายบางอย่างก่อนที่จะเกิดขึ้น

11. ความเร็วสัญญาณนาฬิกา
เสียงเดินทางผ่านอากาศได้ 767 ไมล์ต่อชั่วโมงหรือ 1230 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เสียงยังสามารถเดินทางได้เร็วกว่าผ่านทางเหล็กกว่าอากาศหรือน้ำ ทำให้วัตถุมีความหนาแน่นมากขึ้นเสียงที่เร็วกว่าสามารถเดินทางผ่านได้

12. เสียงเชิงปริมาณ
ระดับพลังงานของเสียง (ความดัง) วัดเป็นแบบพาสคัลหรือเดซิเบล ความถี่หรือแรงสั่นสะเทือนต่อวินาทีของเสียงวัดเป็นเฮิรตซ์ มนุษย์มักจะได้ยินเสียงในช่วง 1000 Hz (เฮิรตซ์) ถึง 6000 Hz

13. Scream For Coffee
ถ้ามนุษย์สามารถตะโกนได้ 8 ปี 7 เดือนและ 6 วันก็จะทำให้เกิดพลังงานเสียงได้พอที่จะอุ่นถ้วยกาแฟ ฉันจะเอาเครื่องชงกาแฟแทน

14. โปรด
นักวิทยาศาสตร์ที่ Orfield Labs ใน Minneapolis, Minnesota ได้พัฒนาห้องเงียบที่สุดในโลก ระดับเสียงในห้องวัดได้ต่ำกว่าระดับการได้ยินของมนุษย์ เงียบสงบคนไม่สามารถยืนได้มากกว่า 45 นาทีในห้องเพราะคุณได้ยินเสียงอวัยวะภายในของคุณและมีคนบอกว่าจะเริ่มมีอาการประสาทหลอน 1899 18. การต่อสู้กับอาชญากรรมด้วยดนตรี
ลอนดอนได้เล่นดนตรีคลาสสิกในสถานีรถไฟใต้ดินตั้งแต่ปีพ. ศ. 2546 ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นการลดการโจรกรรมและการป่าเถื่อน เห็นได้ชัดว่าดนตรีคลาสสิกที่เล่นในพื้นที่อาชญากรรมสูงช่วยลดอาชญากร เพลงที่ไม่ชอบทำให้ผู้คนต้องการหลีกเลี่ยงพื้นที่หรือถ้าชอบก็ทำให้คนรู้สึกสงบ Guess Mozart บรรเทาความชั่วร้ายที่โหดร้าย

15. อาวุธของทางเลือก
อุปกรณ์อะคูสติกระยะยาวเป็นปืนที่ยิงออกคลื่นเสียงเป้าหมาย ใช้ในการควบคุมฝูงชนก่อกวนการจลาจลและการป้องกันโจรสลัดในทะเลหลวง อุปกรณ์ส่งสัญญาณลำแสงที่สามารถปล่อยคลื่นเสียงได้ถึง 150 เดซิเบล ไขสันหลังแหวนของมนุษย์อาจแตกสลายได้ที่ 160 เดซิเบล
โฆษณา

16. คนเหล่านี้สามารถได้ยินเสียงได้ด้วยค้อนก้นและทั่งในหู กระดูกเหล่านี้เป็นกระดูกที่เล็กที่สุดในร่างกายมนุษย์และรวมกันเป็นขนาดของถั่ว หูของเราสามารถรับเสียงได้ในขณะที่เรานอนหลับ แต่สมองของเราไม่ได้ยินเสียงมัน

17. การประทับเสียง
ขณะนี้เสียงถูกนำมาใช้เพื่อช่วยในการวิจัยทางประวัติศาสตร์ ทุกๆไซต์มีเสียงเฉพาะหรือสะท้อนเฉพาะตัวเอง

18. บนคลื่นและปีก
นกสร้าง ‘แผนที่เสียง’ เพื่อนำทางการอพยพและการเดินทางผ่านอากาศ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเสียงระดับต่ำมีส่วนรับผิดชอบต่อการทำลายเข็มทิศจากธรรมชาติของนก ในปีพ. ศ. 2540 นกพิราบ 60,000 คนสูญหายในระหว่างการแข่งขันจากฝรั่งเศสไปอังกฤษหลังจากที่พวกเขาข้ามเส้นทางด้วยเครื่องบินไอพ่น

19. Hum
มีเสียงความถี่ต่ำที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกได้รับความสนใจในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ไม่มีใครรู้เลยว่ามันมาจากหรือมีอะไรก่อให้เกิด แต่กรณีตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 ได้รับการรับรองทั่วโลก มักได้ยินในบ้านโดยคนในพื้นที่ชนบทและชานเมืองและดังขึ้นกับผู้ที่ได้ยินเสียงในเวลากลางคืน

20. ได้ยินเสียงกลัว
ภาพยนตร์สยองขวัญต้องการใช้อินฟาเรดซึ่งอยู่ต่ำกว่าช่วงของการได้ยินของคน Infrasound สร้างความสั่นสะเทือนความวิตกกังวลและแม้แต่อาการหัวใจวายในมนุษย์เมื่อมีการเล่น

21. Assassin Or Birds
ในเกียวโตพระราชวัง Nijo มีพื้นพิเศษพร้อมด้วยความลับเพื่อปกป้องโชกุน เดินบนพื้นสร้างเสียงคล้ายกับนกไนติงเกล ใครก็ตามที่พยายามทำอะไรที่น่าสงสัยจะไม่เพียง แต่มอบที่อยู่ของพวกเขาเท่านั้น แต่เพียงแค่คิดว่านกร้องเจี๊ยก ๆ

22. ได้ยินเสียงในทะเล
ปลาวาฬสีน้ำเงินสร้างเสียงดังขึ้นภายในอาณาจักรสัตว์โดยวัดได้ประมาณ 188 เดซิเบล มันดังมากจนเสียงที่ปล่อยออกมาสามารถหยิบมาได้จากที่ไกลออกไป 800 กิโลเมตร

23. กระซิบกับฉัน
คน Maaban ในแอฟริกาอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบเช่นนี้เพื่อให้ได้ยินเสียงกระซิบจากหลายร้อยฟุต

24. คลาสสิกกับร็อค
นักดนตรีคลาสสิกจะช่วยลดการสูญเสียการได้ยินจาก 4% เหลือ 43% ในขณะที่นักดนตรีร็อกประสบปัญหาการสูญเสียการได้ยินจาก 13% เป็น 30%

25. พูดอะไร
ถ้าคุณพยายามอ่านตัวอักษรของตัวอักษรโดยไม่ต้องขยับลิ้นหรือริมฝีปากทุกตัวอักษรจะออกเสียงเหมือนกัน

26. Un-bee-lievable แต่ True
ช้างกลัวฝูงผึ้งมากจนเสียงแหวกว่ายตามลำพังสามารถส่งฝูงไปตกใจได้ ช้างมีเสียงกริ่งพิเศษเพื่อเตือนอีกคนหนึ่งว่ามีผึ้งอยู่รอบ ๆ มากคิดว่าหนูเป็นซวยของพวกเขา

27. สภาพอากาศที่มีพายุ
Thunder เกิดขึ้นเมื่ออากาศร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงที่มีแสงลดลงเร็วกว่าความเร็วของเสียง

28. Farts ที่เป็นมิตร
กองทัพเรือสวีเดนได้ตรวจพบเสียงใต้น้ำที่น่าสงสัยบางอย่างพวกเขาเชื่อว่าเกิดจากเรือดำน้ำรัสเซีย เสียงถูกกำหนดให้มาจาก farts ทุบตีปลา

29. นั่นไม่ใช่ฉัน
การบันทึกเสียงแบบดิจิทัลของเรานั้นเหมือนกับคนอื่น ๆ ได้ยินเสียงของเราอย่างไร ร่างกายของคุณเพิ่มเสียงเบสมากขึ้นและปรับเปลี่ยนการสะท้อนของเสียงของคุณเองที่คุณเคยได้ยิน นี่คือเหตุผลที่คนส่วนใหญ่ไม่ชอบฟังเสียงเสียงของตัวเอง

30. No Fry ขนาด
กุ้งปืนพกเป็นหนึ่งในสัตว์ที่มีเสียงดังที่สุดในโลก ใช้กรงเล็บของมันสามารถทำให้เสียงที่วัดได้ถึงมหันต์ 218 เดซิเบล!