Monthly Archives: January 2018

ภัยเสียงดังร้ายกว่าที่คุณคิด 0

เราจะป้องกันตัวเองอย่างไรให้ปลอดภัยจากอันตรายของเสียงดัง และไม่เป็นผู้สร้างมลพิษทางเสียง เริ่มต้นง่ายๆ ดังนี้

  1. รู้จักความพอดีและมีกาลเทศะเช่น ไม่ฟังเพลงหรือเปิดโทรทัศน์ดังเกินไป ไม่พูดโทรศัพท์หรือส่งเสียงดังรบกวนความสงบของผู้อื่น ทั้งในบ้านและที่สาธารณะ
  2. หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีเสียงดังหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรออกจากสถานที่แห่งนั้นให้เร็วที่สุด
  3. ใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงดังทุกครั้งที่ต้องอยู่ในที่ที่มีเสียงดัง เช่น ที่ครอบหู (Ear Muffs) ลดระดับความดังได้ 20 – 40 เดซิเบลเอ และปลั๊กอุดหู (Ear Plugs) ลดระดับความดังได้ 10 – 20 เดซิเบลเอ
  4. ใช้หูฟังแบบครอบหูแทนหูฟังแบบเสียบในหู
  5. สังเกตเสียงต่างๆ รอบตัว หากไม่สามารถพูดคุยด้วยระดับเสียงปกติในระยะห่าง 1 ช่วงแขน แสดงว่าเสียงที่นั่นดังเกินไป
  6. ตรวจความสามารถการได้ยินเป็นประจำทุกปี สำหรับผู้ที่ต้องทำงานในสถานที่ที่มีเสียงดัง
  7. ช่วยกันดูแลสถานที่ทำงานและสถานที่สาธารณะ ให้ควบคุมเสียงไม่ให้ดังเกินมาตรฐาน
  8. ร้องเรียนเหตุเสียงดังกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร หรือกรมควบคุมมลพิษ

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.goodlifeupdate.com/63659/healthy-body/loud/2/

 

ปัจจัยที่ทำให้หูตึงจากการทำงาน และใครมีความเสี่ยงมากกว่าปกติ 0

หูตึงจากการทำงานในที่มีเสียงดัง มีสาเหตุดังนี้

1. ระดับความดังของเสียง หากทำงานในที่มีเสียงที่ดังเกิน
80 เดซิเบลเอ ขึ้นไป เป็นระยะเวลานานๆ จะมีโอกาสสูญเสียการได้ยิน
เสียงยิ่งดังมากความเสี่ยงต่อการหูตึงยิ่งมีมากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม
โดยทั่วไประดับเสียงที่ม่ีการเฝ้าระวังในภาคอุตสาหกรรม คือ 85 เดซเบลเอ
ขึ้นไป

2. ความถี่ของเสียง เสียงความถี่สูง หรือเสียงแหลมจะทำลาย
ประสาทการได้ยินได้มากกว่าเสียงทุ้ม

3. ลักษณะของเสียง เสียงกระแทกจะทำลายประสาทการได้ยิน
มากกว่าเสียงดังต่อเนื่อง

4. ระยะเวลาทำงาน คนที่ทำงานในที่มีเสียงดัง นานหลายปี
หรือได้รับเสียงดังนานเกินไปในแต่ละวัน โอกาสหูเสื่อมจะมีเพิ่มขึ้น

5. ความไวต่อเสียง หรือความทนของหู ยังไม่สามารถอธิบาย
ได้ว่าทำไมบางคนหูเสื่อมเร็วกว่าบางคนทั้งๆที่ทำงานในที่เด่ียวกัน

6. การใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงดัง สามารถป้องกันหูตึงได้
หากอุปกรณ์นั้นมีคุณภาพ และผู้ใช้ สวมใส่ อย่างถูกต้อง
นอกจากนี้มีรายงานว่า คนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารตัวทำละลาย
คนสูบบุหรี่ คนเป็นโรคเบาหวาน คนที่ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
หากทำงานในที่มีเสียงดังเกิน 85 เดซิเบลเอ ขึ้นไป จะมีความเสี่ยง
ต่อการเกิดอาการหูตึงเพิ่มขึ้น

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.si.mahidol.ac.th/th/division/ophs/admin/knowledges_files/14_34_1.pdf

การสูญเสียการได้ยินมีกี่ประเภท 0

การสูญเสียการได้ยินเกิดจากความผิดปกติของอวัยวะส่วนที่ใช้
ในการรับฟังเสียง แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1. การสูญเสียการได้ยินในส่วนของการนำเสียง คือส่วนของ
อวัยวะหูชั้นนอกและหูชั้นกลางผิดปกติ เช่น หูชั้นกลางอักเสบ หินปูน
ยึดติดกับกระดูกโกลน หรือการมีขี้หูอุดตัน เป็นต้น ซึ่งเป็นการสูญเสีย
ที่รักษาได้

2. การสูญเสียการได้ยินในส่วนของประสาทรับฟังเสียง ซึ่งเกิด
กับประสาทหูชั้นใน มีสาเหตุมาจากการรับฟังเสียงดัง หรือสูงอายุ
หรือโรคบางชนิด กรณีสาเหตุมาจากการรับฟังเสียงดังมานาน
หรือสูงอายุ ไม่สามารถรักษาด้วยการใช้ ยา หรือ ผ่าตัดได้

3. การสูญเสียแบบผสม คือการสูญเสียทั้ง 2 ประเภทร่วมกัน

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.si.mahidol.ac.th/th/division/ophs/admin/knowledges_files/14_34_1.pdf

เสียงมีกี่ประเภท??? 0

เสียงมี 3 ประเภท ดังนี้

1. เสียงบริสุทธิ์ คือ เสียงที่มีความถี่เดียว เช่น เสียงที่เกิดจากการ
เคาะซ่อมเสียง

2. เสียงผสม คือ เสียงที่เกิดจากเสียงบริสุทธิ์หลายความถี่มารวมกัน
เช่น เสียงพูดคุย เสียงดนตรี เป็นต้น

3. เสียงรบกวน คือ เสียงที่ไม่พึงปรารถนาของผู้รับฟัง ซึ่งอาจเป็น
เสียงบริสุทธิ์ หรือเสียงผสมก็ได้ เสียงรบกวนอาจก่อให้เกิด
ความเครียด หรือหากมีความดัง ในระดับที่อาจก่อให้เกิดอันตราย
จะทำให้หูตึงได้

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.si.mahidol.ac.th/th/division/ophs/admin/knowledges_files/14_34_1.pdf