Monthly Archives: November 2016

ตอบข้อสงสัยกับกรณีที่ร้านอาหารที่เล่นดนตรีเสียงดัง 0

photo-1475721027785-f74eccf877e2

ร้านอาหารเล่นดนตรีเสียงดัง
เปิดซองส่องไทย : ร้านอาหารเล่นดนตรีเสียงดัง
ผมพักอาศัยอยู่ใน จ.สมุทรสาคร มีร้านอาหารหรือสถานบันเทิงไม่แน่ใจชื่อร้าน เปิดบริการบริเวณถนนเอกชัย ตรงข้ามซอยสามร้อยห้อง เปิดบริการถึงเวลา 01.00-02.00 น. ทุกวัน ร้านเป็นร้านอาหารเปิดโล่ง มีการแสดงดนตรีสด ทำให้เกิดเสียงดังรบกวนชาวบ้านบริเวณข้างเคียง
.
มีข้อสอบถาม ดังนี้
– ลักษณะดังกล่าวถือเป็นมลพิษทางเสียงหรือไม่ และมีบทกฎหมาย/หน่วยงานที่สามารถร้องเรียนได้หรือไม่
– ได้ร้องเรียนไปยังตำรวจเมื่อเกิดเสียงดัง แต่ก็สามารถลดเสียงได้เป็นครั้งคราวเท่านั้น
– จากที่อ่านในเว็บไซต์ กฎหมายไทยมีกำหนดแค่เพียงระดับเสียงที่ไม่ทำลายการได้ยินเท่านั้น ที่กรมควบคุมมลพิษกำหนดว่า เป็นเสียงในสิ่งแวดล้อมทั่วไป ไม่เกิน 70 เดซิเบล ค่าที่วัดต้องเป็นค่าเฉลี่ยหรือไม่ หรือวัดว่าถ้ามีแค่ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเกิน 70 เดซิเบล ก็ไม่ได้
– จากที่ได้หาข้อมูลมา ส่วนมากไม่สามารถดำเนินการกับเจ้าของร้านอาหารหรือสถานบริการได้ เนื่องจากทางร้านสามารถปรับระดับเสียงในช่วงที่จะเข้ามาตรวจได้ และเปิดดังในช่วงที่ไม่ได้มีการตรวจวัด แล้วจะมีวิธีการป้องกันแก้ไขอย่างไร
– พื้นที่โซนนิ่งสถานบริการของสมุทรสาครอยู่บริเวณใดบ้าง จะได้รับทราบว่าบ้านอยู่ในเขตสถานบริการ จะได้ทำใจยอมรับ
ผมอยากจะได้ความเงียบสงบกลับคืนมา เพราะรบกวนชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัว แต่ก็ไม่อยากไปเบียดเบียนการทำมาหากินและธุรกิจของเขา มีวิธีไหนที่แต่ละฝ่ายสามารถอยู่ด้วยกันอย่างสันติ
———————————————————-
ตอบ
เทศบาลนครสมุทรสาคร ชี้แจงว่า ภาพรวมผู้ดูแลพื้นที่ในส่วนนี้ รวมถึงปัญหาส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครเท่านั้น ที่เป็นผู้ดูแล ควบคุม และแก้ไขปัญหา
ส่วนเรื่องเสียงดังสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ชาวบ้านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ เทศบาลนครสมุทรสาคร ที่เข้ามาดูแลและแก้ไขปัญหาในเรื่องเวลาเปิด-ปิดนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือตำรวจ โดยหน่วยงานทุกฝ่ายต้องมีการบูรณาการรวมกันในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น แต่หากตำรวจมีการตักเตือนแล้วไม่ฟังก็สามารถจับกุมได้ทันที หรือทางอำเภอสามารถสั่งปิดได้ โดยได้มีคำสั่งจากผู้ว่าราชการจังหวัด
ด้าน สภ.เมืองสมุทรสาคร ชี้แจงว่า ให้มีการปิดบริการในแต่ละวันไม่เกิน 01.00 น. เพราะสายตรวจลงตรวจพื้นที่ประจำ กรณีเสียงดังต้องดูก่อนว่าเสียงดังแค่ไหนที่เรียกว่ารบกวน เพราะร้านเป็นร้านอาหารเปิดโล่ง มีการแสดงดนตรีสด ที่เป็นแนวเพลงอะคูสติกเบาๆ แต่หากมีเสียงดังมากเกินไป ก็ต้องไปตักเตือนให้ทางร้านปรับปรุงและแก้ไขต่อไป
———————————————————————-

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: http://www.komchadluek.net/news/unclecham/248216

 

 

ค่า sound pressure levels สูงสุดที่เราแนะนำในห้องในขณะที่กำลังทำกิจกรรม 0

ค่า sound pressure levels สูงสุดที่เราแนะนำในห้องในขณะที่กำลังทำกิจกรรมตามอรรถยาศัย

(ค่าตัวเลขของ sound pressure levels จะแสดงให้เห็นดังตัวอย่างในรูปภาพ)

a

การประยุกต์ความรู้เรื่องเสียง 0

นอกจากเราจะใช้เสียงในการสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยกันและกับสัตว์อื่น ๆ ยังมีการประยุกต์เอาเสียงไปใช้ในลักษณะต่างๆมากมาย เช่น

 

  1. เสียงด้านวิศวกรรมและอุตสาหกรรม

วิศวกรใช้คลื่นเหนือเสียงในการตรวจสอบรอยร้าวหรือรอยตำหนิในโลหะ แก้วหรือ เซรามิก โดยการส่งคลื่นเสียงที่มีความถี่ในช่วง 500 กิโลเฮิรตซ์ ถึง 15เมกะเฮิรตซ์ ผ่านเข้าไปในชิ้นงาน ที่ต้องการตรวจสอบ แล้ววิเคราะห์ลักษณะของคลื่นสะท้อน หรือวิเคราะห์ลักษณะคลื่นที่รบกวนในคลื่นที่ผ่านออกไป วิธีนี้นอกจากจะใช้ตรวจสอบชิ้นงานประเภทโลหะหล่อ หรือเซรามิกแล้ว ยังถูกนำไปใช้ตรวจสอบยางรถยนต์ที่ผลิตใหม่ด้วย  เครื่องมือวัดความหนาของแผ่นโลหะ หรือวัสดุที่มีความแข็งอื่นๆ สามารถทำได้โดย ใช้คลื่นเหนือเสียง แม้คลื่นจะไม่สามารถทะลุถึงอีกด้านหนึ่ง ของผิวหน้าแผ่นโลหะนั้นได้ก็ตาม เช่น การตรวจสอบความหนาของหม้อต้มน้ำความดันสูงสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมเป็นต้น
คลื่นเหนือเสียงพลังงานสูงยังถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในการทำความสะอาดผิวของเครื่องใช้ขนาดเล็ก เช่น ชิ้นส่วนในนาฬิกาข้อมือและแว่นตา เป็นต้น เพื่อให้อนุภาคสกปรกที่จับเกาะผิวสั่นด้วยพลังงานของคลื่นเหนือเสียง เพราะความถี่ธรรมชาติของอนุภาคสกปรกตรงกันกับความถี่ธรรมชาติคลื่นเหนือเสียง  คลื่นจึงทำให้อนุภาคสกปรกเหล่านั้นหลุดจากผิวโลหะไปลอยปะปนไปในของเหลวที่โลหะแช่อยู่

 

  1. ด้านการแพทย์

การใช้เสียงย่านความถี่อุลตราโซนิค(เกิน 20,000 Hz) ในการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์  โดยอาศัยหลักการส่งคลื่นเข้าไปกระทบกับอวัยวะภายใน แล้อาศัยคุณสมบัติการสะท้อนของเสียงออกมา แล้วไปแปลงสัณญาณด้วยความพิวเตอร์เป็นภาพให้เห็นได้ เช่น การตรวจหาเนื้องอกในร่างกาย , ตรวจลักษณะความสมบูรณ์และเพศของทารกในครรภ์การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง(Echocardiography)
เป็นการตรวจหัวใจโดยใช้เครื่องมือที่มี ประสิทธิภาพสูง ทำงานโดยอาศัยหลัก การส่งคลื่นเสียงความถี่สูงซึ่งส่งออก มาจาก ผลึกแร่ชนิดพิเศษ และเมื่อรับสัญญานคลื่นเสียงที่ส่งออกไป นำมาแปรสัณญาน เป็นภาพขึ้น จะทำให้สามารถเห็นการทำงาน ของหัวใจ ขณะกำลังบีบตัว และคลายตัว และโดยการใช้เทคโนโลยีอันทันสมัย ทำให้ เราสามารถเห็น การไหลเวียนของเลือดผ่านช่องหัวใจ ห้องต่างๆเป็นภาพสี และเห็นการทำงาน ปิด-เปิด ของลิ้นหัวใจทั้งสี่ลิ้นได้

 

  1. ด้านการประมงค์และสำรวจใต้น้ำ

ส่งคลื่นเสียง ลงไปใต้น้ำเพื่อการตรวจหาฝูงปลา และสิ่งแปลกปลอมกีดขวางภายใต้ทะเลลึกและการวัดความลึกของท้องทะเลโดยใช้หลักการของการสะท้อนเสียง ซึ่งเรียกกันว่า “ระบบโซนาร์”

หลักการทำงาน
คลื่นเสียงความถี่สูงจะถูกส่งผ่านออกจากหัวตรวจที่เราเรียกว่า transducer ส่งไปที่หัวใจ ทำให้เกิดคลื่นเสียงสะท้อนกลับ เรียกว่า echo และระยะเวลา ที่ใช้ในการเดินทางของคลื่นเสียงสะท้อนกลับ จะแปรเปลี่ยนตามระยะทางที่ใช้ซึ่งก็คือ ระยะห่างของโครงสร้าง ต่างๆใน หัวใจ นั่นเอง แล้วคอมพิวเตอร์ในเครื่องจะทำการประมวลผลแปลสัญญาณออกมาเป็นภาพ
ความถี่ที่ใช้ในการทำส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงประมาณ 2-10 MHz แต่ที่ใช้บ่อยที่สุดคือประมาณ 2.5-5MHz ซึ่งจะเห็นว่าเป็นย่านความถี่สูงกว่าความถี่เสียงที่คนเราได้ยินคือ 2-18KHz
การใช้ความถี่ต่างกัน จะมีผลต่อความละเอียดของภาพและความสามารถในการส่งผ่านทะลุเข้าไปในเนื้อเยื่อ กล่าวคือ คลื่นความถี่ที่สูงกว่าจะให้ความละเอียดของภาพได้มากกว่า แต่ความสามารถในการทะลุเข้าเนื้อเยื่อจะได้น้อยกว่า ยกตัวอย่างเช่น ถ้าใช้คลื่นความถี่ 5MHz จะสามารถเห็นรายละเอียดของภาพได้ถึง 2 มิลลิเมตร ขณะที่คลื่นความถี่ 3MHz จะเห็นรายละเอียด ของภาพ ได้ในระดับ 3มิลลิเมตร แต่ขณะเดียวกันถ้าผู้ป่วยที่มีลักษณะอ้วนหรือตัวใหญ่          คลื่นที่มีความถี่สูงซึ่งทะลุเข้าเนี้อเยื่อได้น้อยกว่าคลื่นความถี่ต่ำกว่าก็อาจจะไม่สามารถมองเห็นภาพบางส่วนที่อยู่ลึกๆได้

 

 

4. ด้านสถาปัตยกรรม    

   ดังที่กล่าวมาแล้วในเรื่องการสะท้อนของเสียงว่า เสียงสะท้อนจากผนัง พื้น เพดาน ทำให้เกิดเสียงก้อง ดังเช่นการร้องเพลงในห้องน้ำที่มีผนังและพื้นมีกระเบื้องปู จะมีเสียงก้องจึงเหมาะกับการร้องเพลง เพราะทำให้ผู้ร้องเกิดความรู้สึกว่าการร้องเพลงในห้องน้ำเพราะกว่าการร้องใน ห้องธรรมดา ดังนั้น ห้องสำหรับฟังเพลงหรือร้องเพลงต้องมีการให้เสียงก้องเกิดขึ้นมากกว่าห้อง ทั่วไป แต่ก็ต้องมีค่าพอเหมาะสมไม่มากเกินไปจนฟังเพลงไม่รู้เรื่อง หรือเกิดความรำคาญ การออกแบบอาคาร ห้องประชุม  ทั้งสถาปนิกและวิศวกรก็ต้องคำนวณล่วงหน้าว่าให้มีเสียงก้องมากหรือน้อยเพียง ใด โดยการใช้วัสดุเก็บเสียง เช่น พรม ม่าน แผ่นกระดาษเก็บเสียง ฯลฯ เพื่อช่วยทำให้เวลาที่เกิดเสียงก้องพอเหมาะก่อนที่เสียงก้องจะจางหายไป
   ปัจจุบันสถาปนิกมีปัญหาน้อยลง เพราะสามารถออกแบบให้ห้องมีเสียงก้องน้อยที่สุด เพื่อใช้ในการประชุม และเมื่อใดที่ต้องใช้ห้องเดิมในการแสดงดนตรีก็สามารถใช้เครื่องขยายเสียงที่ มีวงจรสำหรับสร้างเสียงก้องขึ้นมา ทำให้เสียงเพลง และเสียงดนตรีมีความไพเราะอย่างที่ควรจะเป็นคือมีเวลาก้องเสียงพอสมควร
5. ด้านธรณีวิทยา
   ในการสำรวจแหล่งแร่ด้วยการวิเคราะห์ชั้นหินต่างๆ นักธรณีวิทยาใช้วิธีการส่งคลื่นเสียงที่มีพลังงานสูงซึ่งได้จากการระเบิดของ ลูกระเบิดขนาดเล็กที่บริเวณผิวโลก คลื่นเสียงที่เกิดจากการระเบิดนี้จะทะลุผ่านชั้นต่างๆ ของเปลือกโลกลงไป เพราะเปลือกโลกประกอบด้วยชั้นหินที่มีลักษณะและความหนาแน่นแตกต่างกัน ทำให้คลื่นสะท้อนที่แต่ละชั้นของเปลือกโลกมีลักษณะแตกต่างกัน คลื่นเสียงสะท้อนนี้เมื่อกลับถึงผิวโลกจะเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าเข้าสู่ อุปกรณ์เพื่อวิเคราะห์ต่อไป และผลที่ได้จะถูกนำมาเป็นข้อมูลหนึ่งของลักษณะชั้นหินต่างๆ ใต้ผิวโลก
——————————————————————————————————-
Bibliography:sukkhun, natthiyaphon (no date) การประยุกต์ความรู้เรื่องเสียง. Available at: http://doraemonjupjup.blogspot.com/2014/09/blog-post_84.html (Accessed: 4 November 2016).In-line Citation:(sukkhun, no date)

การเดินทางของเสียงภายในหูของเรา 0

การเดินทางของเสียงภายในหูของเรา

กว่าเราจะได้ยินเสียงต่างๆนั้น รู้หรือไม่ว่าแรงสั่นสะเทือนนั้นจะต้องเข้าไปในส่วนใดของหูเราและทำการประมวลผลอย่างไรบ้าง เราลองมาชมกันเลย

เสียงที่เกิดขึ้นทุกชนิดมีลักษณะเป็นคลื่นเสียง: ใบหูรับคลื่นเสียงเข้าสู่รูหู — ไปกระทบเยื่อแก้วหู — เยื่อแก้วหูถ่ายทอดความสั่นสะเทือนของคลื่นเสียงไปยังกระดูกค้อน, กระดูกทั่งและกระดูกโกลน ซึ่งอยู่ในหูชั้นกลางและเลย ไปยังท่อรูปครึ่งวงกลม แล้วต่อไปยังของเหลวในท่อรูปหอยโข่ง และประสาทรับเสียงในหูชั้นในตามลำดับ ประสาทรับเสียงถูกกระตุ้นแล้วส่งความรู้สึกไปสู่สมองเพื่อแปลความหมายของเสียงที่ได้ยิน

.

Bibliography:WordPสร้างเว็บไซต์หรือบล็อกฟรีที่ (2012) Amfinewell. Available at: https://amfinewell.wordpress.com/2013/01/22/ (Accessed: 3 November 2016).

 

วิ้ง วิ้ง……เสียงอะไรในหู 0

         เสียงดังในหู เป็นความผิดปกติทางหูที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ เพราะกลัวว่าจะเป็นอันตรายกับผู้ป่วยหรือไม่ หรือเพราะรำคาญทำให้นอนหลับยาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะได้ยินเสียงดังนี้ เฉพาะตัวผู้ป่วยเอง ผู้อื่นไม่ได้ยินเสียงนี้ด้วย ผู้ป่วยมักบอกว่าเสียงดังในหูนั้นคล้ายเสียงจักจั่น หรือจิ้งหรีดร้องอยู่ภายใน อาจเป็นเสียงหึ่งๆ วิ้งๆ ซ่าๆ ไม่เฉพาะข้างใดข้างหนึ่งแต่เกิดทั้ง 2 ข้างได้ มักได้ยินชัดขึ้นในเวลากลางคืน ในที่เงียบๆ ผู้ป่วยอาจมีเสียงดังในหูอย่างเดียวหรือมีอาการอื่นร่วมด้วยๆ เช่น หูอื้อ ปวดหู เวียนศีรษะ บ้านหมุ

เสียงดังในหู แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
              1. เสียงดังในหูชนิดที่ได้ยินเฉพาะตัวผู้ป่วย หรือเสียงที่มีการรับรู้ผิดปกติ โดยที่ไม่มีเสียงเกิดขึ้นจริง (subjective tinnitus) เป็นเสียงดังในหูประเภทที่พบบ่อยที่สุด สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของ
–  หูชั้นนอก เช่น ขี้หูอุดตัน, เยื่อแก้วหูทะลุ, หูชั้นนอกอักเสบ, เนื้องอกของหูชั้นนอก
–  หูชั้นกลาง เช่น หูชั้นกลางอักเสบ,น้ำขังอยู่ในหูชั้นกลาง  เนื่องจากท่อยูสเตเชี่ยน (ท่อที่เชื่อมต่อระหว่างหูชั้นกลางและโพรงหลังจมูก)ทำงานผิดปกติ,โรคหินปูนในหูชั้นกลาง
–  หูชั้นใน สาเหตุที่พบได้บ่อยสุด คือประสาทหูเสื่อมจากอายุ นอกจากนั้นการเสื่อมของเส้นประสาทหู อาจเกิดจาก การได้รับเสียงที่ดังมากในระยะเวลาสั้น ๆ ทำให้เส้นประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน (acoustic trauma)เช่น ได้ยินเสียงปืน เสียงระเบิด เสียงประทัด, การได้รับเสียงที่ดังปานกลางในระยะเวลานาน ๆ ทำให้ประสาทหูเสื่อมแบบค่อยเป็นค่อยไป (noise-induced hearing loss)เช่น อยู่ในโรงงาน หรือยู่ในคอนเสิร์ตที่มีเสียงดังมาก ๆ,การใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทหู (ototoxic drug)เป็นระยะเวลานาน เช่น salicylate, aminoglycoside, quinine, aspirin, การบาดเจ็บของกะโหลกศีรษะแล้วมีผลกระทบกระเทือนต่อหูชั้นใน (labyrinthine concussion), การติดเชื้อของหูชั้นใน (labyrinthitis) เช่น ซิฟิลิส ไวรัสเอดส์, การผ่าตัดหูแล้วมีการกระทบกระเทือนต่อหูชั้นใน, มีรูรั่วติดต่อระหว่างหูชั้นกลางและหูชั้นใน, โรคมีเนียหรือน้ำในหูไม่เท่ากัน
–  สมอง  โรคของเส้นเลือด เช่น เส้นเลือดในสมองตีบ,เลือดออกในสมอง,ไขมันในเลือดสูงความดันโลหิตสูง,เนื้องอกในสมอง เช่น เนื้องอกของเส้นประสาทหู และ/หรือประสาทการทรงตัว(acoustic neuroma)
–  สาเหตุอื่น ๆ เช่น โรคโลหิตจาง,โรคแพ้ภูมิตัวเอง,โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว,โรคเกล็ดเลือดสูงผิดปกติ,โรคที่มีระดับยูริกในเลือดสูง, โรคไต, โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตต่ำ,โรคไขมันในเลือดสูง, โรคความดันโลหิตสูง โรคต่าง ๆ เหล่านี้สามารถทำให้เกิดเสียงดังในหูได้

2. เสียงดังในหูชนิดที่บุคคลภายนอกสามารถได้ยิน หรือเสียงที่มีแหล่งกำเนิดเสียงจริงอยู่ภายในร่างกายของผู้ที่ได้ยิน (objective tinnitus) เสียงดังในหูชนิดนี้ ได้แก่
–  ความผิดปกติของหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดแดงมีการเชื่อมต่อที่ผิดปกติกับหลอดเลือดดำ (arteriovenous malformation)
–  เส้นเลือดวางอยู่ในตำแหน่งผิดปกติ เส้นเลือดแดงโป่งพอง (aneurysm)
–  บริเวณศีรษะและคอที่อยู่ใกล้ชิดกับหูชั้นนอก หูชั้นกลาง หูชั้นใน แม้แต่ในสมองเอง
–  เสียงที่เกิดขึ้นอาจเกิดพร้อมจังหวะการเต้นของหัวใจ หรือดังขึ้นตอนออกกำลังกาย อาจได้ยินเมื่ออยู่ใกล้ผู้ป่วย หรือใช้เครื่องมือช่วยฟัง
–  เสียงดังในหูที่เกิดจากการหายใจเข้าหรือออก อาจเกิดจากความผิดปกติของท่อยูสเตเชี่ยน ซึ่งเป็นท่อที่เชื่อมระหว่างหูชั้นกลาง และโพรงหลังจมูก

การวินิจฉัย
                  อาศัยการซักประวัติ สาเหตุต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ที่ทำให้เกิดเสียงดังในหู, การตรวจหูบริเวณรอบหู, การวัดความดัน ท่านอน ท่านั่ง และท่ายืน, การตรวจเลือด เพื่อหาความผิดปกติของเคมีในเลือด, การตรวจปัสสาวะ, การตรวจการได้ยิน, การตรวจคลื่นสมองระดับก้านสมอง และการถ่ายภาพรังสี เช่น เอ็กซเรย์ คอมพิวเตอร์สมองหรือกระดูกหลังหู ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ฉีดสารรังสีเข้าหลอดเลือด

 

           ดังนั้น เสียงดังในหูอาจมีสาเหตุจากประสาทหูเสื่อม ซึ่งไม่มีอันตรายร้ายแรงใดๆ หายได้เองหรืออยู่กับผู้ป่วยตลอดชีวิตก็ได้ และอาจมีสาเหตุโรคที่อันตราย เช่น เนื้องอกของสมอง เส้นประสาท เส้นเลือดแดงโป่งพองก็ได้ ดังนั้นอย่านิ่งนอนใจดีกว่าครับ เมื่อพบเสียงดังในหู ควรปรึกษาแพทย์ หู คอ จมูกเพื่อหาสาเหตุแต่เนิ่น ๆ

 

Special thanks: Faculty of Medicine Siriraj Hospital