Monthly Archives: June 2016

“มลพิษทางเสียง – อันตรายจากเสียงรบกวนที่เราคาดไม่ถึง” 0

“มลพิษทางเสียง – อันตรายจากเสียงรบกวนที่เราคาดไม่ถึง”

เสียงรบกวนนั้นมีอยู่ในทุกที่ซึ่งแทรกซึมอยู่ในการใช้ชีวิตประจำวันของเรา ซึ่งรวมไปถึงเสียงรบกวนที่เกิดจากรถบนท้องถนน, โรงงานและเสียงที่เกิดจากสภาพแวดล้อมจากรอบๆตัวเรา, มีการวิจัยมาแล้วว่า เสียงรบกวนขณะที่เรานอนหลับนั้นจะรบกวนการนอนหลับ ทำให้นอนหลับไม่เต็มอิ่มและเกิดผลเสียตามมา ดังนั้นการนอนหลับในที่ๆสงบๆไม่มีเสียบงรบกวนนั้นสำคัญมาก และถือเป็นเรื่องเล็กน้อยที่ไม่ควรมองข้ามไปเลย

การคำนวณระดับเสียงรบกวนโดยการใช้หูนั้นยากที่ทำได้. เพื่อป้องกันไม่ให้สูญเสียการได้ยิน, ควรมั่นใจว่าเสียงที่เราได้ยินนั้นไม่อยู่ในระดับที่อันตรายต่อสุขภาพ(เสียงที่สูงกว่า90เดซิเบล(A), การป้องกันไม่ให้เกิดการสูญเสียการได้ยินนั้นทำได้ง่าย แต่การทำให้หูกลับมาดีเหมือนเดิมนั้นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ดังเช่นคำกล่าวที่ว่า “กันไว้ดีกว่าแก้”

และแน่นอนว่ามลพิษทางเสียงเป็นภัยเงียบที่เกิดจากสิ่งรอบตัวขอบเรา และมันทำให้สุขภาพของเราถดถอยลง, รวมถึงการเป็นโรคหัวใจ และได้มีการเปิดเผยว่า ระดับเสียงรบกวนที่ก่อให้ร่างกายถดถอยลง มาจากชีวิตประจำวันของเรา เช่น จากรถมอเตอร์ไซและเสียงเครื่องบินอีกทั้งยังรวมถึง เครื่องเป่าใบไม้,เครื่องตัดหญ้า,เสียเพลงดังๆ ที่สามารถทำให้เกิดคลื่นเสียงในระดับอันตรายได้

ดังนั้นเราจะทำอะไรได้บ้างเกี่ยวกับเรื่องมลพิษทางเสียงที่เกิดจากรอบๆบ้าน เพื่อป้องกันการสูญเสียสมรรถภาพทางร่างกายของเราก่อนที่จะสายไป? ถ้าคุณอาศัยอยู่ในพื้นที่ๆมีเสียงรบกวนมากๆ เช่น บ้านของคุณใกล้กับสนามบิน, คุณก็ควรที่จะย้ายออกไป เพื่อแลกกับสุขภาพที่ดีของคุณเอง. หรือไม่ คุณควรแปะรอยรั่วรอบบ้านเพื่อป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก หรือซื้อหน้าต่างกันเสียงมาติดตั้งก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีเลยหล่ะ นำพรหม หรือผ้าใหญ่ๆมาวางไว้ที่พื้นก็สามารถลดเสียงดังได้ด้วยเช่นกัน. ถ้าคุณทำงานในที่ๆมีเสียงดัง คุณควรหาที่ปิดหูมาใช้ในระหว่างทำงานก็ถือเป็นเรื่องดี

อย่างไรก็ดี การอยู่กับเสียงดังติดต่อกันมากกว่า8ชั่วโมง ในระดับ85เดซิเบล ก็จะก่อให้เกิดอันตรายต่อการได้ยินได้; ทั้งนี้รวมไปถึง เสียง85เดซิเบล บนท้องถนนที่ดังต่อเนื่องตลอดเวลาก็ยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพอีกด้วยphoto-1456419410527-58a934a42494

ความแตกต่างระหว่าง “ระดับเสียง” กับ “ความดัง” 0

ในปัจจุบัน ผมพูดภาษาไทยกันจนลืมไปเลยว่าคำไหนที่มีความแตกต่างกันบ้างหรือเปล่า เรามักจะเหมารวมคำที่คล้ายๆกัน แล้วนำมาพูดมาในความหมายที่เหมือนกัน ซึ่ง มีอยู่วันหนึ่งผมก็เกิดสงสัยว่า กลุ่มคำเหล่าที่ ที่จะกล่าวมาทางด้านล่างนี้ มันมีความหมายเหมือนกันซะเหลือเกิน จนผมไม่รู้สึกว่ามันแตกต่างอะไรกัน ผมจึงเกิดความคิดที่จะหาข้อมูลในส่วนนี้ จึงได้ข้อสรุปที่ว่า

คำว่า”ระดับเสียง” Pitch มีหน่วยเป็น dB (decibel)

คำว่า”ระดับความดันเสียง” Sound Pressure Level มีหน่วยเป็น dB (decibel)

คำว่า “ความดัง” Loudness มีหน่วยเป็น โซน (Sone)

คำว่า “ระดับความดัง” Loudness Level มีหน่วยเป็น โฟน (Phon)

ผมจึงขอหยิบยกคำพูดจาก อาจารย์ปราโมช เชี่ยวชาญ ที่ว่า (ให้สังเกตจากกฏหมายฉบับใหม่ ๆ จะพบว่า การกำหนดมาตรฐานเสียงตามกฎหมายต่าง ๆ ของประเทศไทยจะใช้คำว่า ค่าระดับเสียง โดยไม่ใช้คำว่าความดัง เพราะอาจทำให้สับสนกับคำว่า Loudness หรือ Loudness Level)

ขอขอบคุณที่ไดรับฟังและรับชมนะครับ

……………………………………………
เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมมลพิษ . (2544). มลพิษทางเสียง. กรุงเทพมหานคร: บริษัทซิลค์คลับ จำกัด.
ปราโมช เชี่ยวชาญฬ. (2551). เอกสารการสอนชุดวิชาสุขศาสตร์อุตสาหกรรม: การประเมิน. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สราวุธ สุธรรมาสา. (2547). การจัดการมลพิษทางเสียงจากอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร: บริษัทซีแอนด์ เอส พริ้นติ้ง จำกัด
Cyril, M. Harris. (eds.). (1991). Handbook of Acoustical Measurements and Noise Control. 3rd ed. New York : McGraw Hill Inc.
John, E.K. Foreman. (1990). Sound Analysis and Noise Control. New York: Van Nostrand Reinhold.
Lawrence, K. Wang, Norman, C. Pereira and Yung-Tse, Hung (eds). (2005). Advanced Air and Noise Pollution Control. New Jersy: Humana Press Inc.
WHO. (2001). Occupational Exposure to Noise: Evaluation, Prevention and Control. ค้นคืนเมื่อ พฤษภาคม 2555 จาก http//www.mne.psu.edu/lamancusa/me458/

ขอขอบคุณ : http://www.stou.ac.th/Schools/Shs/booklet/book55_3/sanitation.html