ใส่เสื้อซ้ำหมักหมมในห้องที่มีโอโซน ก่อ “หมอกมลพิษ” ล้อมรอบตัวได้

คนที่ไม่ชอบอาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย ทั้งยังชอบใส่เสื้อผ้าตัวเก่าซ้ำเดิมหลายครั้งโดยไม่ซัก นอกจากจะมีกลิ่นไม่พึงประสงค์แล้ว ยังอาจจะสร้าง “หมอกมลพิษ” ขึ้นมาล้อมรอบตัวเองโดยไม่ได้ตั้งใจอีกด้วย หากเข้าไปอยู่ในห้องที่มีก๊าซโอโซน (Ozone) ปะปนอยู่
ทีมนักวิจัยด้านวิศวกรรมโครงสร้างและสถาปัตยกรรมจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียของสหรัฐฯ ค้นพบว่าบางครั้งมลภาวะภายในตัวอาคารนั้น สามารถมีที่มาจากนิสัยการรักษาสุขอนามัยของผู้อยู่อาศัยแต่ละคนที่แตกต่างกัน
ผลการศึกษาข้างต้นซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Communications Chemistry ชี้ว่าน้ำมันที่ร่างกายผลิตขึ้นมาเคลือบผิวหนังมนุษย์ สามารถจะทำปฏิกิริยากับโอโซนที่ปะปนอยู่ในอากาศของห้องหับต่าง ๆ ซึ่งแม้ปฏิกิริยานี้จะช่วยขจัดโอโซนที่เป็นพิษต่อคนเราให้หมดไปได้ก็จริง แต่ผลข้างเคียงที่ตามมาคือมีสารก่อมลภาวะที่ทำให้คุณภาพอากาศในตัวอาคารแย่ลงเกิดขึ้นด้วย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อิม ดงฮุน ผู้นำทีมวิจัยบอกว่า “ปฏิกิริยาทางเคมีที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้มีหมอกของมลภาวะก่อตัวขึ้นห่อหุ้มร่างกายคนเรา ซึ่งมันมีความเข้มข้นพอจะทำให้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ของมนุษย์เกิดการระคายเคืองได้ จะว่าไปก็คล้ายกับปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้เกิดอากาศเสียในคอกหมู”
สารก่อมลภาวะที่เกิดจากปฏิกิริยาดังกล่าว ได้แก่ไขมันสควาลีน (Squalene) รวมถึงกรดไขมันอีกหลายชนิดและสารอินทรีย์จำพวกคาร์บอนิล (Carbonyls) ที่ทำให้ผิวหนังและปอดระคายเคือง ซึ่งอาจเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยอธิบายได้ว่า เหตุใดคนที่เป็นโรคหอบหืดจึงแพ้โอโซนและผลิตภัณฑ์ที่ทำปฏิกิริยากับโอโซน
ทีมผู้วิจัยระบุว่า การใส่เสื้อผ้าที่สกปรกซ้ำกันหลายครั้ง ทำให้เส้นใยผ้าอิ่มตัวไปด้วยน้ำมันจากผิวหนังของมนุษย์ ซึ่งจะเร่งให้มันมีโอกาสทำปฏิกิริยากับโอโซนได้มากยิ่งขึ้น


ผู้ช่วยศาสตราจารย์อิม ดงฮุน ผู้นำทีมวิจัยบอกว่า “ปฏิกิริยาทางเคมีที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้มีหมอกของมลภาวะก่อตัวขึ้นห่อหุ้มร่างกายคนเรา ซึ่งมันมีความเข้มข้นพอจะทำให้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ของมนุษย์เกิดการระคายเคืองได้ จะว่าไปก็คล้ายกับปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้เกิดอากาศเสียในคอกหมู”
สารก่อมลภาวะที่เกิดจากปฏิกิริยาดังกล่าว ได้แก่ไขมันสควาลีน (Squalene) รวมถึงกรดไขมันอีกหลายชนิดและสารอินทรีย์จำพวกคาร์บอนิล (Carbonyls) ที่ทำให้ผิวหนังและปอดระคายเคือง ซึ่งอาจเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยอธิบายได้ว่า เหตุใดคนที่เป็นโรคหอบหืดจึงแพ้โอโซนและผลิตภัณฑ์ที่ทำปฏิกิริยากับโอโซน
ทีมผู้วิจัยระบุว่า การใส่เสื้อผ้าที่สกปรกซ้ำกันหลายครั้ง ทำให้เส้นใยผ้าอิ่มตัวไปด้วยน้ำมันจากผิวหนังของมนุษย์ ซึ่งจะเร่งให้มันมีโอกาสทำปฏิกิริยากับโอโซนได้มากยิ่งขึ้น
ส่วนปริมาณของโอโซนที่ปะปนอยู่ในห้องหับและตัวอาคารต่าง ๆ นั้น มีได้ตั้งแต่ 5-25 ส่วนในพันล้านส่วน (ppb) ขึ้นอยู่กับลักษณะการไหลเวียนของอากาศภายนอกเข้าสู่ตัวอาคาร รวมทั้งชนิดของสารเคมีและวัสดุพื้นผิวที่ใช้ในการก่อสร้าง โดยในเมืองที่มีมลพิษทางอากาศสูง ก็จะมีปริมาณโอโซนในตัวอาคารมากตามไปด้วย
แม้จะดูเหมือนว่าผลวิจัยได้ชี้ให้เราหมั่นรักษาความสะอาดของร่างกายและเสื้อผ้าให้ดี แต่ในกรณีนี้ ผศ. อิม กลับบอกว่า “เราไม่ได้แนะนำให้ผู้คนเลือกสวมเสื้อผ้าที่สะอาดหรือสกปรก เพราะหากพิจารณาในอีกแง่หนึ่ง ความสะอาดกลับทำให้เราไม่มีน้ำมันเคลือบผิวตามธรรมชาติ ซึ่งตามปกติมันจะช่วยขจัดโอโซนที่เป็นพิษในห้องออกไปได้ 30-70%”
“ดังนั้น วิธีแก้ไขปัญหามลพิษในตัวอาคารเช่นนี้ จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล แต่ควรเน้นที่การควบคุมปริมาณโอโซนในห้องให้ลดลง ผ่านการออกแบบตัวอาคารและระบบระบายอากาศที่ดีขึ้น” ผศ. อิม กล่าว

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.bbc.com/thai/features-48809821 ด้วยค่ะ

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *