แผ่นซับเสียง (Absorption panel) / ไม่มีหมวดหมู่ / By Webmaster สวัสดีค่ะ วันนี้แอดมินมีสาระดีๆเกี่ยวกับแผ่นซับเสียงมาฝากให้ทุกท่านได้อ่านและศึกษากันนะคะ และแอดมินยังมีรูปภาพตัวอย่าง “ห้องไร้เสียงสะท้อน” ที่มีอยู่ในบริษัท จีโอนอยซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด. ให้ทุกท่านได้ดูกันด้วยนะคะ ว่าแล้วเราก็ไปดูกันเลยค่ะ 😊😊“แผ่นซับเสียง” (Absorption panel)หน้าที่ของแผ่นซับเสียงคือ ดูดกลืนคลื่นเสียงไว้ภายใน และคุณสมบัตินึงของแผ่นซับเสียงคือ มีคุณสมบัติที่เป็นรูพรุน ที่อากาศสามารถแทรกตัวผ่านเข้าไปได้ เมื่ออากาศแทรกตัวเข้าไปได้ คลื่นเสียงก็จะแทรกตัวเข้าไปได้เช่นกัน และเมื่อคลื่นเสียงแทรกตัวเข้าไปในวัสดุที่มีความพรุนคลื่นเสียงก็จะถูกวัสดุดูดกลืนไว้ และช่วยไม่ให้เสียงสะท้อนกลับออกมา ยิ่งวัสดุที่มีความพรุนสูงก็จะสามารถดูดกลืนคลื่นเสียงได้มากและการสะท้อนก็จะยิ่งต่ำ ถ้าหากเจาะลึกลงไปถึงคุณสมบัติเฉพาะของแผ่นซับเสียง อาจจะต้องดูถึงย่านความถี่ที่สามารถดูดกลืนคลื่นเสียงได้ ซึ่งประเภทของการดูดกลืนคลื่นเสียงของวัสดุคร่าวๆคือ ชนิดที่เป็นพวกฟองน้ำ (Cellular) เหมาะสำหรับการดูดกลืนคลื่นเสียงในช่วงความถี่สูง ชนิดเยื่อแผ่นหรือเส้นใย (Fibrous) เหมาะสำหรับดูดกลืนคลื่นเสียงในช่วงความถี่กลางถึงต่ำ วัสดุที่มีความพรุนในลักษณะที่เป็นเมล็ด (Granular) เหมาะสำหรับดูดกลืนคลื่นเสียงในช่วงความถี่กลางถึงต่ำ และมีวัสดุดูดกลืนคลื่นเสียงที่สามารถออกแบบความกว้างขนาดของช่องว่างได้ตามย่านความถี่ที่ต้องการการดูกลืนคลื่นเสียงทุกท่านสามารถศึกษาคุณสมบัติและประโยชน์ของแผ่นซับเสียงได้ที่ : http://wow.in.th/JmXFหากท่านใดสนใจหรืออยากปรึกษาปัญหาด้านเสียงทางบริษัทมีผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงยินดีให้คำปรึกษา สามารถทักแชท แอดไลน์ : @geonoise Tel : 02-1214399 ค่ะ 😊😊————————————————————————————————————————————————————————#Geonoise #GeonoiseThailand #Norsonic #เครื่องวัดความสั่นสะเทือน #VIBRA #ตรวจวัดเสียง #เสียงรบกวน #เครื่องวัดเสียง #จำหน่ายเครื่องวัดเสียง #รับปรึกษาปัญหาเรื่องเสียง #ควบคุมเสียง #เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือน #บริการสอบเทียบ #Calibration #NoiseAlarm #SoundPLAN #NoiseAtWork #Noisecontour #มลพิษทางเสียง #Acoustic #เครื่องวัดฝุ่น #Dustmate #หาแหล่งกำเนิดเสียง #วิเคราะห์เสียง #Measurement #Microphone #NoiseTraining**รูปภาพ** ห้องซับเสียง ของ บริษัท จีโอนอยซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด.