ปฏิเสธไม่ได้ว่า นอกจากกาขยายตัวของ “ความเป็นเมือง” แบบไร้ระเบียบจะสร้างสิ่งสกปรกทางสายตาแล้ว ท้องถนนตามเมืองใหญ่ที่คลาคลั่งด้วย ‘วัฒนธรรมรถยนต์’ ยังเพิ่มปริมาณปัญหามลพิษทางอากาศ และมลพิษทางเสียงให้มากขึ้นด้วย ดังนั้น ในอนาคตประชากรเกือบครึ่งโลกต้องทนทุกข์กับเสียงแตร เสียงไซเรน เสียงกรีดร้อง และเสียงขุดเจาะแบบไม่เคยเป็นมาก่อน
อินโฟกราฟิกชิ้นหนึ่งบนเว็บไซต์เอนเซีย (Ensia) นำเสนอมุมมองใหม่ๆ เกี่ยวกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมระบุว่า ในปี 2100 ประชากรโลก 84 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 10.8 พันล้านคน จะเป็น ‘คนเมือง’ นั่นหมายความว่า พวกเขาต้องอาศัยอยู่ท่ามกลางมลพิษทางเสียงที่กำลังบานสะพรั่ง ทั้งที่จริงๆ แล้วธรรมชาติของมนุษย์มักเลือกฟังเฉพาะเสียงอบอุ่น ละมุนละไม มากกว่าสัมผัสกับเสียงหยาบกระด้าง หรือดังเกินไป ซึ่งส่งผลเสียต่อสมดุลร่างกาย และสภาพจิตใจ
เมื่อลองจิตนาการถึงอนาคตของโลกอันเงียบสงบ แต่อยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยเสียงอึกทึกก็อาจจะพบว่า ความเงียบแท้จริงนั้นกลับกลายเป็นสิ่งหายาก
อย่างไรก็ตาม นวัตกรรมใหม่ๆ อาจจะเข้ามาช่วยให้มนุษย์สามารถผ่านเสียงอึกทึกครึกโครมบนโลกได้ง่ายขึ้น
สุดท้าย อีกหนึ่งเรื่องจริงที่น่าเศร้าคือ นก และสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด กำลังถูกโจมตีจากมลพิษทางเสียงด้วยเช่นกัน เพราะพวกมันต่างพึ่งพาการเปล่งคลื่นเสียงในการหาเหยื่อ หรือผสมพันธุ์ แต่มลพิษทางเสียงสามารถทำลายพฤติกรรมเหล่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ค้างคาว ที่อาศัยกระบวนการบอกระยะทาง และทิศทางด้วยเสียง (Echolocation) เพื่อย้ายถิ่นฐาน และออกหาอาหาร ทว่าระดับเสียงรบกวนสูงจะทำให้ความสามารถของพวกมันด้อยลง หรือกรณีเสียงดังตามแนวชายฝั่งที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของหอยนางรม ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการรักษาคุณภาพน้ำทะเลให้คงอยู่ในระดับยั่งยืน
——————————-
อ้างอิงข้อมูลจาก – Futurism
Topic
ภัยคุกคามสุขภาพ,มลพิษทางเสียง,ความเป็นเมือง,ปัญหาสุขภาพ,เสียงรบกวน,คนเมือง
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก https://voicetv.co.th/read/Hy74AZ4QM ด้วยค่ะ