ความสำคัญของอะคูสติกในสถานพยาบาล
อะคูสติกในสถานพยาบาล
ความสำคัญของอะคูสติกในสถานพยาบาล
เสียงรบกวนในลักษณะการดูแลสุขภาพมีผลต่อผู้ป่วย, ผู้ดูแล, และผู้มาเยี่ยม การรบกวนการนอนหลับ และความดันเลือดสูง ทั้ง 2 ตัวอย่างนี้ เกิดขึ้นในผู้ป่วย, ในผู้ดูแลบางคน, ความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ และความเหนื่อยหน่ายเป็นผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางเสียงที่ไม่ดี
มีหลักฐานบางอย่างที่แสดงออกมาเป็นเสียงรบกวนในแง่ลบต่อผู้ป่วยทางสรีรวิทยา หรือต่อสุขภาพนั้นเอง ยกตัวอย่างในกรณีศึกษา ผู้ป่วยท่านหนึ่งอยู่ในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานานขึ้นหลังจากการผ่าตัดต้อกระจกในช่วงระยะเวลาหนึ่งเมื่อมีเสียงรบกวนระดับสูงเนื่องจากการก่อสร้าง และอีกหนึ่งตัวอย่างที่พบเจอได้เมื่อระดับเสียงรบกวนเพิ่มขึ้นกว่า 60 dBA ผู้ป่วยจากการผ่าตัดจะมีการใช้ยามากขึ้น
นอกจากจะมีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วย สภาพแวดล้อมทางเสียงที่ไม่ดีสามารถมีผลกระทบต่อการรับรู้ความเป็นส่วนตัว, ความสะดวกสบาย, ความปลอดภัย และ การรักษาความปลอดภัย สำหรับผู้ป่วยและครอบครัวของพวกเขา โดยทั่วไปผู้ป่วยพอใจมากขึ้นกับการดูแลของเจ้าหน้าที่เมื่ออยู่ภายใต้การดูแลในสภาพแวดล้อมเสียงที่ดี
เสียงรบกวนยังคงมีผลที่ตามมาสำหรับผู้ดูแล ซึ่งเป็นสาเหตุในการกำเนิดความเครียดให้กับผู้ดูแล เหล่าพนักงานในโรงพยาบาล และอาจรบกวนความสามารถในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการศึกษาแสดงให้เห็นว่าความเครียดที่เกิดจากเสียงนั้นเกี่ยวข้องกับความเครียด และการรบกวนในเหล่าพยาบาล ในขณะที่การศึกษาอื่น ๆ พบว่ากรณีส่วนใหญ่ เสียงรบกวนไม่ได้ทำให้ประสิทธิภาพของวิสัญญีแพทย์ และศัลยแพทย์แย่ลงอย่างเห็นได้ชัด ผู้ตรวจสอบพบว่าเมื่อเสียงที่มากกว่า 77 dBA การสื่อสารด้วยคำพูดที่เป้นไปได้จะเพิ่มขึ้นเสียงของคนเดียว และในเวลาเดียวกัน การสื่อสารด้วยคำพูดจะลดลงถึง 23 เปอร์เซ็นต์
ประเด็นหลักของอะคูสติกที่ต้องการดูแลในโรงพยาบาล
ประเด็นหลักที่ต้องการให้ความสนใจในสถานพยาบาลมีดังนี้ :
- ระดับเสียงรบกวน : ค่าเฉลี่ยระดับเสียงรบกวนภายในโรงพยาบาล รายงานการศึกษาแสดงให้เห็นในปี ค.ศ. 2005 พบว่าระดับเสียงรบกวนในโรงพยาบาลอยู่ที่ประมาน 72 dBA ในเวลากลางวัน และ 60 dBA ในเวลากลางคืน สิ่งนี้อยู่เหนือคำแนะนำที่กำหนดโดย World health Organization (WHO) กำหนดค่าที่ 35 dBA ระหว่างวัน และ 30 dBA ในตอนกลางคืน โดยค่าสูงสุดในช่วงเวลากลางคืนไม่ถึง 40 dBA
ทราบไว้ว่ามี 2 ปัญหาซึ่งแตกต่างกันที่เกี่ยวข้องกับระดับเสียง อย่างแรก คือ Background noise level จากระบบปรับอากาศต่างๆ, อุปกรณ์ทางการแพทย์, และแหล่งกำเนิดเสียงอื่นๆ อย่างที่สอง คือ ความไม่ต่อเนื่องอย่างเสียงพูด, เสียงเตือน, โทรศัพท์ และอีกมากมาย
ระดับเสียงรบกวนในห้องสามารถอธิบายได้ด้วยเป็นระดับ อย่างเช่น NC (เกณฑ์เสียงรบกวน) และ RC (เกณฑ์ของห้อง) หรือ ระดับเสียงเฉลี่ย (LAeq) ในหน่วย dBA
- การพูดที่เข้าใจได้ : การสื่อสารในโรงพยาบาลนั่นสำคัญมากระหว่างพนักงานในโรงพยาบาล รวมทั้งผู้ป่วย และพนักงานในโรงพยาบาล ระหว่างพยาบาล และแพทย์ที่จำเป็นต้องมีการสื่อสารให้เข้าใจตลอดเวลา และดำเนินการกับข้อมูลหลายรูแปบบที่ได้ยินในสภาพแวดล้อมที่มีความเครียดสูง การพูดให้เข้าใจจะอธิบายด้วยมาตรกาการวัดรหลายประเภท เช่น STI (ดัชนีการส่งผ่านเสียงพูด) และ %ALC (Percentage Articulation Loss of Consonants)
- การพูดแบบเป็นส่วนตัว : แม้ว่าสิ่งสำคัญคือต้องเพิ่มข้อมูลทางการได้ยินให้มากที่สุดเพื่อส่งต่อระหว่างผู้ที่ต้องการสื่อสารกัน นอกจากนี้มีสิ่งสำคัญคือจะต้องลดการได้ยิน และความเข้าใจในการสนทนาของพวกเขาให้น้อยที่สุดสำหรับผู้ฟังที่ไม่ได้ตั้งใจจะฟัง ทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ป่วยสามารถตัดสินใจในเรื่องปัญหาสุขภาพของพวกเขากับแพทย์ได้อย่างไม่ต้องกังวลว่าบทสนทนาจะถูกได้ยินโดยผู้อื่น
การพูดแบบเป็นส่วนตัวที่ได้ผลจะถูกระบุโดย ดัชนีความเป็นส่วนตัว (PI) ซึ่งโดยทั่วไปจะแบ่งระดับของการพูดแบบเป็นส่วนตัวเป็น 4 แบบ ซึ่งมีดังนี้ :
- แบบเป็นความลับ : การสนทนาอาจได้ยิน แต่ไม่สามารถเข้าใจหากอยู่นอกขอบเขตพื้นที่
- ปกติ : การสนทนาอาจได้ยิน และเข้าใจได้บางส่วน
- ไม่ดี หรือ ค่อนข้างแย่ : การสนทนาส่วนใหญ่จะถูกได้ยิน และผู้ฟังบางคนอาจได้ยินโดยที่ไม่ได้ตั้งใจจะฟัง
- ไม่มีความเป็นส่วนตัว : การสนทนาทั้งหมดสามารถได้ยินได้อย่างชัดเจน และเข้าใจได้ทั้งหมด
ตัวอย่างวิธีการออกแบบในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางอะคูสติก
วิธีการออกแบบบางแบบนั้นแสดงให้เห็นการออกแบบในสภาพแวดล้อมทางอะคูสติกของโรงพยาบาลได้ดังนี้
- การใช้งานวัสดุที่ดูดซับเสียงภายในห้อง : เงื่อนไขหนึ่งที่สังเกตได้ว่ามีส่วนทำให้สภาพเสียงไม่ดีในโรงพยาบาล คือ พื้นผิวส่วนใหญ่ในโรงพยาบาลเป็นแบบสะท้อนเสียง วิธีแก้ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดคือการใช้ฝ้าเพดานที่ดูดซับเสียงแทนฝ้าเพดานที่สะท้อนเสียง ยกตัวอย่างในกรณีศึกษาประเทศสวีเดนแสดงให้เห็นว่าการใช้กระเบื้องเพดานที่ดูดซับเสียง ผู้ป่วยที่เกี่ยวกับหลอดเลือด และหัวใจ (CCU) มีสภาพร่างกายที่ดีขึ้น
ความสามารถในการดูดซับเสียงของวัสดุที่ใช้วัดกันโดยทั่วไป คือ NRC (ค่าสัมประสิทธิ์การดูดกลืนคลื่นเสียง)
- การวางแผนพื้นที่ : เพื่อทำให้สภาพแวดล้อมภาพแวดล้อมภายโรงพยาบาลดีขึ้น การวางแผนพื้นที่มีผลที่สำคัญมาก รวมถึงการกำหนดในความเหมาะสมของห้อง พิจารณาในการใช้งานของห้องให้อย่างรอบคอบ, ระดับความเป็นส่วนตัวที่ต้องการ และความต้องการระดับของ background noise ในแต่ละปัจจัยต่างๆ การพิจารณาโดยทั่วไปในการวางแผนจัดพื้นที่ คือ การจัดห้องผู้ป่วยเดี่ยวแทนที่จะเป็นห้องผู้ป่วยรวม ห้องแบบส่วนตัวจะมีระดับเสียงรบกวนน้อยกว่า, มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น และทำให้มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ, เป็นความลับมากขึ้นระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้ป่วย
จากมุมมองในการออกแบบฉนวนกันเสียง ห้องจะต้องแยกออกจากกันด้วยกำแพงที่มีฉนวนกันเสียงที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ โดยให้ความสำคัญกับเสียงที่ลอดผ่านกำแพงกั้น การวัดระดับการกั้นเสียงของวัสดุโดยจะใช้ STC (ความสามารถในการลดสียงผ่านผนัง) หรือ Rw (ความสามารถในการลดเสียงโดยเฉลี่ย)
- การกำจัด หรือ การลดแหล่งกำเนิดเสียงรบกวน : โดยทั่วไปแหล่งกำเนิดเสียงรบกวนในโรงพยาบาล คือระบบเสียงตามสาย, อุปกรณ์เครื่องมือ และบทสนทนาของพนักงาน เสียงรบกวนเหล่านี้สามารถลดลงได้โดยการเปลี่ยนระบบเสียงตามสายเป็นโทรศัพท์ หรือ อุปกรณ์สื่อสารไร้สายโดยพนักงานเอง, การลบแหล่งกำเนิดเสียงเหล่านี้คือต้องปิดเครื่องมือเมื่อไม่ได้ใช้, มีการสนทนาแบบกลุ่มในที่ปิดมิดชิด, ให้พนักงานได้เรียนรู้เข้าใจในเรื่องความสำคัญของเสียงรบกวน และแนะนำให้พูดคุยกันอย่างเบาเสียง
- ใช้ระบบ sound-masking : ขณะที่ยังบกพร่องในทางวิทยาศาสตร์ในการพิสูจน์ประสิทธิภาพ ระบบ sound-masking มีศักยภาพในการเพิ่มความเป็นส่วนตัวในการพูดคุยสำหรับผู้ป่วย ระบบ sound-masking สามารถลดการรรบกวนของผู้ป่วยต่อเหล่าเสียงรบกวนที่ไม่ต่อเนื่อง ถึงอย่างไรก็ตาม การใช้ sound-masking ต้องพิจารณาด้านอื่น ๆ อย่างรอบคอบ เช่น ความเข้าใจในการพูดระหว่างผู้ป่วย และพนักงาน หรือ ในหมู่พนักงานกันเอง และไม่รบกวนการตรวจสอบกับผู้ป่วย
ระเบียบข้อบังคับในอินโดนีเซียที่เกี่ยวข้องกับเสียงรบกวนในสถานพยาบาล
ในอินโดนีเซีย ระดับเสียงรบกวนภายในโรงพยาบาลมีระเบียบข้อบังคับผ่านกฤษฎีกากระทรวงสาธารณสุข หมายเลข 7 ในปี ค.ศ. 2019 ระดับเสียงรบกวนภายในโรงพยาบาลจะมีดังนี้ :
เลขที่ | ห้อง | ระดับเสียงรบกวน (dBA) |
1 | ห้องพักผู้ป่วย | 45 |
– เมื่อนอนหลับ | ||
– เมื่อตื่น | 40 | |
2 | ห้องผ่าตัด | 45 |
3 | ห้องทั่วไป | 45 |
4 | ห้องให้ยา, ห้องพักฟื้น | 50 |
5 | ห้องส่องกล้อง, ห้องแลป | 65 |
6 | ห้องเอกซเรย์ | 40 |
7 | ทางเดิน | 45 |
8 | ทางบันได | 65 |
9 | ออฟฟิศ และ ห้องรับรอง | 65 |
10 | ห้องเก็บอุปกรณ์ | 65 |
11 | ห้องจ่ายยา | 65 |
12 | ห้องครัว | 70 |
13 | ห้องซักล้าง | 80 |
14 | ห้องแยกโรค | 20 |
15 | ห้องทันตกรรม | 65 |
16 | ห้องฉุกเฉิน | 65 |
17 | รถพยาบาล | 40 |
Reference
A Joseph and R Ulrich. Sound Control for Improved Outcomes in Healthcare Settings. The Center for health Design. 2007
Fife, D., and E. Rappaport. 1976. Noise and hospital stay. American Journal of Public Health 66(7):680–81. Minckley (1968)
Murthy, V. S., K. L. Malhotra, I. Bala, and M. Raghunathan. 1995. Detrimental effects of noise on anesthetists. Canadian Journal of Anaesthesia 42:608–11.
Berglund, B., T. Lindvall, D. H. Schwelaand, and T.K. Goh. 1999. Guidelines for community noise. In Protection of the human environment. Geneva, Switzerland: World Health Organization.
Hagerman, I., G. Rasmanis, V. Blomkvist, R. S. Ulrich, C. A. Eriksen, and T. Theorell. 2005. Influence of coronary intensive care acoustics on the quality of care and physiological states of patients. International Journal of Cardiology 98:267–270
Peraturan Menteri Kesehatan Republik Indonesia No 7 Tahun 2019