ลักษณะของเสียงที่ได้ยิน แบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ / เสียงและความรู้ทั่วไป, เสียงและสุขภาพ / By Webmaster ลักษณะของเสียงที่ได้ยิน แบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ.1. เสียงดัง-ค่อย• เสียงดัง-ค่อย ขึ้นอยู่กับแอมพลิจูดของคลื่นเสียง• ถ้าคลื่นเสียงมีแอมพลิจูดมาก เสียงดังมาก• ถ้าคลื่นเสียงมีแอมพลิจูดน้อย เสียงจะดังน้อย.2. เสียงแหลม-ทุ้มเสียงแหลม-ทุ้ม (หรือระดับเสียง) ขึ้นกับความถี่ของเสียงถ้าคลื่นเสียงมีความถี่สูง เสียงจะแหลมถ้าคลื่นเสียงมีความถี่ต่ำ เสียงจะทุ้มความถี่ต่ำสุด และ ความถี่สูงสุดที่หูคนปกติได้ยิน = 20 ถึง 20,000 Hz– คลื่นเสียงที่มีความถี่ต่ำกว่า ช่วงคลื่นที่เราได้ยิน เรียกว่า Infrasonic– คลื่นเสียงที่มีความถี่สูงกว่า ช่วงคลื่นที่เราได้ยิน เรียกว่า Ultrasonicการจัดระดับเสียง มีหลายวิธี เช่น1. การแบ่งระดับเสียงดนตรีทางวิทยาศาสตร์2. การแบ่งระดับเสียงของเครื่องดนตรีสากลที่นิยมในปัจจุบันเสียงคู่แปด (Octave)เสียงคู่แปด คือ เสียงดนตรีในทางวิทยาศาสตร์คู่หนึ่งที่มีขนาดความถี่หนึ่งเป็น 2 เท่าของอีกขนาดความถี่หนึ่ง.3. คุณภาพของเสียง (Quality)คุณภาพของเสียง หมายถึงเอกลักษณ์ของเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงต่างชนิดกัน ขึ้นอยู่กับจำนวนฮาร์มอนิกของเสียงจากแหล่งกำเนิดนั้นเสียงดนตรีเป็นเสียงที่น่าฟัง จะน่าฟังหรือไม่ต้องประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้– ระดับเสียง– ความดัง– คุณภาพระดับเสียงขึ้นอยู่กับความถี่ ความถี่สูงเสียงจะแหลม ความถี่ต่ำเสียงจะทุ้ม คนธรรมดาฟังเสียงที่มีคลื่นความถี่จาก 20 ถึง 20,000 Hz ได้ หรือความยาวคลื่น 17 ถึง 0.017 เมตรความดังของเสียงขึ้นอยู่กับความเข้มของเสียงหรือแอมพลิจูด แอมพลิจูดมากเสียงจะดัง แอมพลิจูดน้อยเสียงจะมีเสียงค่อยคุณภาพของเสียงขึ้นอยู่กับจำนวนฮาร์มอนิกของคลื่นเสียงจากแหล่งกำเนิด คุณภาพของเสียงทำให้เราแยกได้ว่าเสียงดังกล่าวมาจากเครื่องดนตรีชนิดใดเครื่องดนตรีแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ1. เครื่องดนตรีประเภทสาย2. เครื่องดนตรีประเภทเคาะหรือตี3. เครื่องดนตรีประเภทเป่า————————————————————————————————————————————————————————ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆจาก >> http://force8949.blogspot.com/2015/07/blog-post_30.html << ด้วยค่ะ————————————————————————————————————————————————————————#Geonoise #GeonoiseThailand #Norsonic #PLACID #PLACIDThailand #เครื่องวัดความสั่นสะเทือน #VIBRA #ตรวจวัดเสียง #เสียงรบกวน #เครื่องวัดเสียง #จำหน่ายเครื่องวัดเสียง #รับปรึกษาปัญหาเรื่องเสียง #ควบคุมเสียง #เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือน #บริการสอบเทียบ #Calibration #NoiseAlarm #SoundPLAN #NoiseAtWork #Noisecontour #มลพิษทางเสียง #Acoustic #เครื่องวัดฝุ่น #Dustmate #หาแหล่งกำเนิดเสียง #วิเคราะห์เสียง #Measurement #Microphone #NoiseTraining