มลพิษทางเสียง


มลพิษทางเสียง ถือเป็นสิ่งที่คุกคามต่อคุณภาพชีวิต ไม่เพียงแต่เฉพาะผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนใกล้กับศาสนสถาน อย่างเช่นวัด หรือมัสยิด แต่ยังรวมไปถึงผู้อาศัยในส่วนอื่นๆ ที่ต้องได้รับผลกระทบจากเสียงต่างๆ ทั้งจากสภาพแวดล้อมธรรมชาติ และกิจกรรมของมนุษย์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรม สถานบันเทิง ร้านค้า หรือแม้แต่เพื่อนบ้านสร้างความรำคาญใจให้บ่อยครั้ง
.
โดยตามประกาศของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2550) เรื่อง กำหนดมาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป ของ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กำหนดให้ ค่ามาตรฐานเสียงทั่วไปเฉลี่ย 24 ชั่วโมงไว้ ไม่เกิน 70 เดซิเบลเอ และค่าระดับเสียงสูงสุด ไม่เกิน 115 เดซิเบลเอ
.
ขณะที่ระดับเสียงดังทั่วไปโดยไม่กระทบต่อสุขภาพ ขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้กำหนดไว้ที่ 80 เดซิเบลเอ
.
ในส่วนของนิยาม เสียงรบกวน นั้น ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 29 (พ.ศ. 2550) เรื่อง ค่าระดับเสียงรบกวน หมายถึง ระดับเสียงจากแหล่งกาเนิดในขณะมีการบกวนที่มีระดับเสียง สูงกว่าระดับเสียงพื้นฐาน โดยมีระดับการเกิน 10 เดซิเบลเอ
.
ซึ่งการจะระบุว่าเสียงใดนั้นเป็นเสียงรบกวนหรือไม่ จะมีการใช้ เครื่องตรวจวัดระดับเสียง ตามมาตรฐาน IEC 60804 หรือ IEC 61672 ของคณะกรรมาธิการระหวางประเทศว่าด้วยเทคนิคไฟฟ้า โดยตั้งไมค์โครโฟนในพื้นๆ ที่มีการบกวน หรือมีผู้ร้องเรียน ผ่าน 3 ตัวแปรคือ
1.) ระดับเสียงของแหล่งกำเนิด
– คือ ระดับเสียงที่ ได้จากการตรวจวัดและจากการคํานวณระดับเสียงในขณะเกิดเสียงของแหล่งกำเนิด ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดที่ประชาชนร้องเรียนหรือแหล่งกำเนิดที่คาดว่าประชาชนจะได้รับการรบกวน
2.) ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน
– คือ ระดับเสียงที่ตรวจวัดในสิ่งแวดล้อมในขณะยังไม่เกิดเสียง หรือไม่ได้รับเสียงจากแห่งกำเนิดที่ประชาชนร้องเรียน หรือแหล่งกำหนดที่คาดว่าประชาชนจะได้รับการบกวน เป็นระดับเสียงเฉลี่ย
3.) ระดับเสียงพื้นฐาน
– คือ ระดับเสียงที่ตรวจวัดในสิ่งแวดล้อมในขณะยังไม่เกิดเสียง หรือไม่ได้รับเสียงจากแห่งกำเนิดที่ประชาชนร้องเรียน หรือแหล่งกำหนดที่คาดว่าประชาชนจะได้รับการบกวน
หลังจากนั้นจะนำค่าต่างๆ ที่วัดได้มาคำนวณตามสูตรของกรมอนามัยเพื่อให้ได้ผลออกมาเป็น ค่าระดับการรบกวน ซึ่งหากมีค่ามากกว่า 10 เดซิเบลเอ จะถือว่าสิ่งนั้นถือเป็น เหตุรำคาญ ตามกฏหมายว่าด้วยการสาธารณสุขได้ โดยแบ่งการตรวจวัดและคำนวณระดับเสียงขณะมีการรบกวนออกเป็น 5 กรณีคือ
.
1.) มีเสียงเกิดต่อเนื่องตั้งแต่ 1 ชั่วโมงขึ้นไป
2.) มีเสียงต่อเนื่อง แต่ไม่ถึง 1 ชั่วโมง
3.) มีเสียง “ไม่ต่อเนื่อง” เกิดขึ้นมากกว่า 1 ช่วงเวลา แต่ละช่วงเวลา เกิดขึ้นไม่ถึง 1 ชั่วโมง
4.) มีเสียงในพื้นที่ๆ ที่ต้องการความเงียบสงบ หรือเกิดในช่วงเวลา 22.00-6.00 น.
5.) เป็นเสียงกระแทก แหลมดัง ก่อให้เกิดความสะเทือน
.
โดยแต่กรณีก็จะมีการคำนวณเพื่อให้ผลของระดับการรบกวนที่แตกต่างกันออกไป
ตัวอย่าง (กรณีสมมติ)
มีประชาชนที่อาศัยในคอนโดแห่งหนึ่ง ร้องเรียนเสียงระฆังจากวัดใกล้เคียงว่า รบกวนการนอนหลับในช่วงเวลา 22.00-6.00 น. (กรณีที่ 4)
สมมติว่าได้ค่าออกมาดังนี้
1. ระดับเสียงของแหล่งกำเนิด (เสียงระฆัง โดยการวัดค่าจากห้องนอนผู้ร้องเรียน) = 60 dBA (เดซิเบลเอ)
2. ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน (จากห้องนอนผู้ร้องเรียน) = 52 dBA
3. ระดับเสียงพื้นฐาน (จากห้องนอนผู้ร้องเรียน) = 55 dBA
คำนวณ
ขั้นที่ 1 
นำระดับเสียงของแหล่งกำเนิด “ลบ” ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน
ได้ 60 – 52 = 8 (ผลต่างค่าระดับเสียง)
ขั้นที่ 2 
นำระดับเสียงของแหล่งกำเนิด “ลบ” ตัวปรับแก้ค่า (เทียบบัญญติไตรยางค์ ผลต่างค่าระดับเสียงตามประกาศกรมอนามัย) “บวก” 3 dBA (เกิดในเวลา 22.00-6.00 น.)
ได้ 60 – 0.5 = 59.5 + 3 = 62.5 dBa (ระดับเสียงขณะมีการรบกวน)
ขั้นที่ 3
นำระดับเสียงขณะมีการรบกวน “ลบ” ระดับเสียงพื้นฐาน
62.5 – 55 = 7.5 dBA (ระดับการรบกวน)
.
ระดับการรวบกวน 7.5 dBa ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานเสียงรบกวนของประกาศของกรมอนามัยที่ 10 dBA ดังนั้นในกรณีนี้จึงไม่ถือเสียงรบกวนที่เป็นเหตุรำคาญ ตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารสุข เป็นต้น
ขอบคุณสาระดีๆจาก :: https://www.facebook.com/…/a.20421469593…/2679485628944257/… ด้วยค่ะ
————————————————————————————
————————————————————————————
สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราได้ที่ 
http://www.geonoise.co.th/ 
https://www.geonoise.com/
สามารถติดต่อเราได้ที่
Tel Office : 02-003-5904,02-1214399
Line : @geonoise
————————————————————————————
————————————————————————————
#Geonoise #GeonoiseThailand #Norsonic #Impedancetube #ตรวจวัดเสียง #เสียงรบกวน #เครื่องวัดเสียง #จำหน่ายเครื่องวัดเสียง #รับปรึกษาปัญหาเรื่องเสียง #ควบคุมเสียง #SoundSource #BuildingAcoustics#เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือน 
#โปรแกรมเสียง #บริการสอบเทียบ #Calibration #NoiseAlarm#SoundPLAN #NoiseAtWork #Noisecontour #มลพิษทางเสียง#Acoustic #เครื่องวัดฝุ่น #Dustmate #หาแหล่งกำเนิดเสียง #วิเคราะห์เสียง #Measurement #Microphone #NoiseTraining #เครื่องแกะสลักแผงวงจร

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *