มลพิษทางเสียง

ปัญหาเสียง นอกจากจะก่อให้เกิดความรำคาญแล้ว ยังก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ในปัจจุบันทลพิษทางเสียง ได้ทวีความรุนแรง และกระจายไปตามจุดต่างๆ ของ กทม. และเมืองใหญ่ทั่วไปในต่างจังหวัด สาเหตุประการสำคัญ เกิดจากการคมนาคมขนส่ง การจราจรที่แออัดหนาแน่นสำคัญ เกิดจากการคมนาคมขนส่ง การจราจรที่แออัดหนาแน่น ตลอดจนการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ทีกระทำอย่างต่อเนื่อง มีเพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อประชาชน ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง หรือผู้ที่สัญจรไปมายังนำไปสู่ผลเสียหาย ต่อระบบเศรษฐกิจอีกด้วย สถานการณ์มลพิษทางเสียงใน กทม. และต่างจังหวัดมีดังนี้1. ในเขต กทม.จากข้อมูลการเฝ้าระวังมลพิษทางเสียง ของกรมควบคุมมลพิษ ในบริเวณริมถนน ใน กทม. ในช่วงปี พ.ศ.2539-2540 ณ จุดตรวจวัดต่างๆ พบว่า มลพิษทางเสียงยังคงเป็นปัญหาที่มีแนวโน้ม เป็นอันตรายต่อการได้ยินอย่างต่อเนื่อง ทุกจุดที่ตรวจวัดมีระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง เกินค่ามาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป(1,2,3) 
จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า ฝุ่นละอองรวมเฉลี่ย 1 ปี บริเวณทั่วไปใน กทม. ในช่วงปี พ.ศ.2537-2539 มีปริมาณเพิ่มขึ้นโดยตลอด และในปี พ.ศ.2540 เริ่มมีปริมาณลดลงเล็กน้อย (กราฟ 2.2) หากพิจารณาฝุ่นละอองรวมในแต่ละสถานีตรวจในปี พ.ศ.2540 พบว่า ทุกแห่งไม่เกินมาตรฐานค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง แต่ค่าสูงสุดเฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีบางบริเวณที่เกินมาตรฐาน ได้แก่ บริเวณสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม ซอยอารีย์สัมพันธ์ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สนามกีฬาเคหะชุมชนห้วยขวาง โรงเรียนนนทรีวิทยา ยานนาวา และโรงเรียนสิงหราชวิทยาคม บางขุนเทียน(4)

สำหรับบริเวณริมคลองที่มีเรือสัญจรไปมา กรมควบคุมมลพิษได้ดำเนินการตรวจวัดความดังเสียง ณ จุดตรวจต่างๆ ของคลองแสนแสบ คลองลาดพร้าว คลองผดุงกรุงเกษม คลองเปรมประชากร ระหว่างปี พ.ศ.2538-2540 ค่าสูงสุดเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ส่วนใหญ่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานเล็กน้อย มีเพียงบางจุดบริเวณริมคลองแสนแสบ ที่มีค่าสูงสุดเกินค่ามาตรฐาน โดยภาพรวมแล้ว มีแนวโน้มดีขึ้นเล็กน้อย
 
2. ในส่วนภูมิภาค
ปี พ.ศ.2539 กรมอนามัย ได้ทำการเฝ้าระวังความดังเสียง ในพื้นที่เขตเมือง ย่านการจราจรคับคั่ง ชุมชนหนาแน่น ตลอดจนบริเวณที่มีกลุ่มประชากรที่มีควาไวรับสูงทั้งหมด 7 จังหวัด คือ ในภาคกลาง (นนทบุรี) ภาคตะวันออก (ระยอง) ภาคเหนือ (สุโขทัย กำแพงเพชร) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (นครราชสีมา ขอนแก่น) และภาคใต้ (สงขลา) ซึ่งมีการตรวจวัด 2 แบบ คือ สถานีตรวจวัดแบบประจำ และสถานีตรวจวัดเป็นครั้งคราว ผลการตรวจวัดพบว่า ทุกสถานีที่ตรวจวัด ยกเว้นสถานีจังหวัดระยอง มีค่าระดับเสียงเกินมาตรฐาน ที่กำหนดในบางช่วงเวลา หรือตลอดช่วงเวลาที่ทำการตรวจวัด คิดเป็นร้อยละ 20-100 ของจำนวนตัวอย่าง(4)
สำหรับในปี พ.ศ.2540 กรมอนามัยได้เปลี่ยนจุดเฝ้าระวัง ึความดังเสียง ทำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบแนวโน้ม ปัญหาความดังเสียงในพื้นที่เดิมได้ทั้งหมด แต่จะสังเกตเห็นว่า ในจังหวัดขอนแก่น บริเวณสถานีจนส่งมีระดับความดังเสียง ดีขึ้นเล็กน้อย โดยที่ระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมงสูงสุด ลดลงจาก 77 เดซิเบล เหลือ 72 เดซิเบล เมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ.2539 สำหรับสถานีอื่นๆ ที่เป็นจุดเฝ้าระวัง ใน จ.นครสวรรค์ สระบุรี เมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ.2539 พบมีค่าระดับเสียงเกินมาตรฐาน ที่กำหนดในบางช่วง คิดเป็นร้อยละ 38-69 ของจำนวนตัวอย่าง แต่ที่น่าเป็นห่วงยิ่ง คือ สถานีเฝ้าระวัง ใน จ.สุโขทัย กำแพงเพชร อุทัยธานี อุบลราชธานีบางจุด บริเวณดังกล่าวเป็นสถานศึกษา ของเด็กนักเรียน พบว่า ทุกตัวอย่างที่เก็บตรวจมีระดับเสียง เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด
สำหรับสถานีตรวจวัดความดังเสียง ในส่วนภูมิภาคของกรมควบคุมมลพิษ ในระหว่างปี พ.ศ.2539 และ 2540 ซึ่งได้ทำการตรวจวัด ในเขตจังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม ส่วนใหญ่มีระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ต่ำกว่าค่ามาตรฐาน มีจำนวนตัวอย่างที่เกินค่ามาตรฐาน เฉลี่ย 24 ชั่วโมง เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในปี พ.ศ.2540 มีเพียงสถานีตรวจวัดของ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อ.เมือง จ.นนทบุรี ที่มีจำนวนตัวอย่างเกินค่ามาตรฐาน สูงผิดปกติ เมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ.2539 เนื่องจากมีกิจกรรมก่อสร้างบริวณใกล้สถานีตรวจวัด
ตารางที่ 3.1 กลุ่มผู้ทำงานในสถานประกอบการ และโรงงานอุตสาหกรรม
โรงงาน
ระดับเสียง แบบพื้นที่ dB(A) เฉลี่ย 8 ซม.
จำนวนพนักงานที่ศึกษา (คน)
อาการผิดปกติทางการได้ยิน จากการรับเสียงดังมากเกินไป (NLHL) (คน)
– ประกอบเครื่องยนต์
81.2-88.0
7
1 (14.3%)
– ผลิตเบียร์, น้ำดื่ม และโซดา
84.8-97.5
176
104 (59.1%)
– ห้างสรรพสินค้า
73.3-89.4
76
19 (25.0%)
รวม
 
259
124 (47.9%)

ตารางที่ 3.2 กลุ่มผู้ที่ทำงานในกิจกรรมการก่อสร้าง
สถานที่ทำการตอกเสาเข็ม
ระดับเสียง แบบพื้นที่ db(A) เฉลี่ย 8 ชม.
จำนวนพนักงานที่ศึกษา (คน)
อาการผิดปกติทางการได้ยิน จากการรับเสียงดังมากเกินไป (NLHL) (คน)
– โครงการก่อสร้างทางด่วน
93.4-93.8
86
24 (27.4%)
– โครงการหมู่บ้านจัดสรร
87.2
– โครงการส่วนราชการ
91.5
รวม
 
86
24 (27.4%)

ตารางที่ 3.3 กลุ่มผู้ที่ทำงานในเส้นทางจราจร
ผู้ที่ทำงานในเส้นทางจราจร
ระดับเสียง แบบพื้นที่ db(A) เฉลี่ย 8 ชม.
จำนวนพนักงานที่ศึกษา (คน)
อาการผิดปกติทางการได้ยิน จากการรับเสียงดังมากเกินไป (NLHL) (คน)
พนักงานกวาดถนน ของ กทม.
72.7-92.7
64
7 (10.9%)

ตารางที่ 3.4 กลุ่มผู้ที่อาศัยอยู่ริมเส้นทางจราจร
– เสียงรบกวนจากการจราจร
พื้นที่ศึกษา
ระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชม.
ชุมชนที่ศึกษา (แห่ง)
ความรู้สึกต่อเสียงรบกวน ของผู้ที่อยู่อาศัย
– เส้นทางจราจรสายหลัก 3 เส้น ทางถนนสุขุมวิท, ถนนพหลโยธิน, ถนนรามอินทรา-สุวินทวงศ์
57.5-81.0 (ค่ามาตรฐาน 70 db(A))
16
– บริเวณรามอินทรา กม.8 (69%)
– ชุมชนใกล้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (67.6%)
– ชุมชนบ้านคลองหนึ่ง (60.4%)
– เสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ
พื้นที่ศึกษา
ระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชม.
กลุ่มเป้าหมาย (คน)
อาการผิดปกติทางการได้ยิน จากการรับเสียงมากเกินไป (คน)
ผู้สูญเสียการได้ยิน อายุเฉลี่ย (ปี) / ระยะเวลาของผู้อยู่อาศัย (ปี)
– ชุมชนริมเส้นทางเยาวราช
71.4-83.0 (83)
33
7 (21.2%)
33/16
– ชุมชนย่านสะพานควาย
78.5-83.4 (75)
73
14 (19.2%)
42/24

ตารางที่ 3.5 กลุ่มผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรม
พื้นที่ศึกษา
ค่าระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชม.
กลุ่มเป้าหมาย (คน)
ความรู้สึกรบกวนจากเสียง (%)
มาก
ปานกลาง
น้อย
ไม่รู้สึก
– บริเวณริมรั้ว รง. ผลิตเบียร์
61.0
พระภิกษุสงฆ์ใกล้ รง.รวมทั้งสิ้น 58 คน
12.5
37.5

50
– บริเวณชุมชนใกล้ รง.
70.9
ครู / เจ้าหน้าที่โรงเรียน

6.0
6.0
88
 
 
รวมทั้งสิ้น 58 คน
 
 
 
 
ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ โครงการศึกษาผลกระทบมลพิษทางเสียง และความสั่นสะเทือนต่อสุขภาพ สิงหาคม พ.ศ.2541
 กรอบที่ 3.1
ผลกระทบมลพิษทางเสียงต่อสุขภาพ
อันตรายของเสียง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้เด่นชัดที่สุด จากอาการประสาทหูเสื่อม หรือการเสื่อมของการได้ยิน ซึ่งองค์ประกอบที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว ได้แก่
ความเข้มของเสียง (Intensity) เสียงที่มีความเข้มสูง หรือเสียงที่ดังมาก จะทำลายประสาทหูได้มาก
ความถี่ของเสียง (Frequency) เสียงที่มีความถี่สูง หรือเสียงแหลม จะทำลายประสาทหูได้มากกว่า เสียงที่มีความถี่ต่ำ
ระยะเวลาที่ได้ยินเสียง (Duration) การสัมผัสเสียงเป็นเวลานาน จะทำให้ประสาทหูเสื่อมได้มากขึ้น
ลักษณะของเสียง (Nature of Sound) เสียงที่ดังติดต่อกันไป (Continuous Noise) จะทำลายประสาทหูน้อยกว่า เสียงที่กระแทกไม่เป็นจังหวัดหวะ (Impulse Noise)
ความไวต่อการเสื่อมของหู (Individual Susceptability) เป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคน ซึ่งไม่เหมือนกัน บางคนเสื่อมง่าย บางคนเสื่อมยาก
ในปี พ.ศ.2541 กรมควบคุมมลพิษได้รายงานการศึกษา ผลกระทบมลพิษทางเสียงต่อสุขภาพ ซึ่งดำเนินการศึกษาในพื้นที่ กทม. และ ปริมณฑล ใน 5 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มผู้ทำงานในสถานประกอบการ และโรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มผู้ที่ทำงานในกิจกรรมก่อสร้าง กลุ่มผู้ที่ทำงานในเส้นทางจราจร กลุ่มผู้ที่อยู่อาศัยริมเส้นทางสัญจร และกลุ่มผู้ที่อยู่อาศัยอยู่ริมเส้นทางจราจร ผลการศึกษาระดับเสียง และตรวจสมรรถภาพการได้ยิน ดังข้อมูลในตารางที่ 3.1-3.5 และสรุปผลได้ดังนี้
กลุ่มผู้ที่ทำงานในสถานประกอบการ และโรงงานอุตสาหกรรม ระยะเวลาการสัมผัสเสียง 8 ชั่วโมงต่อวัน ที่ยาวนานต่อเนื่องกว่า 5 ปี ส่งผลให้จำนวนผู้ที่มีอาการผิดปกติดังกล่าว ในกลุ่มนี้สูงสุดถึงร้อยละ 47.9 ต่างจากกลุ่มผู้ที่ทำงานในกิจกรรม การก่อสร้างในช่วงตอกเสาเข็ม เนื่องจากมีอายุงานที่น้อย และมีระยะเวลาการสัมผัสที่ไม่แน่นอน
ส่วนกลุ่มที่ทำงานในเส้นทางจราจรนั้น ร้อยละของอาการผิดปกติของการได้ยิน จากการรับเสียงดัง มีค่าต่ำสุดในจำนวน 4 กลุ่มที่ศึกษา ระดับเสียงที่ได้รับส่วนใหญ่เป็นเสียงจากจราจร ซึ่งต่ำกว่าระดับเสียง ในสถานประกอบการ และโรงงานอุตสาหกรรม
ผู้ที่อยู่อาศัยริมเส้นทางจราจร พบว่า จะเกิดอาการผิดปกติของการได้ยิน สูงกว่ากลุ่มอื่นๆ ทั้งนี้เนื่องจากระยะเวลาการสัมผัสต่อวัน ที่มากกว่า และระยะเวลาที่อยู่อาศัยนานกว่านั่นเอง

ขอขอบคุณสาระดีๆจาก
http://advisor.anamai.moph.go.th/main.php?filename=env203 ด้วยค่ะ

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *