ภัยเสียงดังร้ายกว่าที่คุณคิด

อันตรายจากเสียงดัง
“ทุกวันนี้จะมีเสียงประสานของจักจั่นเรไรหลายพันตัวดังระงมในหูของฉันตลอดวันตลอดคืน” แต่ทราบไหม อันตรายจากเสียงดัง มีภัยร้ายซ่อนอยู่มากกว่าที่คิด
หากฟังเผินๆ คุณอาจนึกถึงความสุขสงบท่ามกลางธรรมชาติของพื้นป่าสีเขียวแต่สำหรับ คุณปานชลี สถิรศาสตร์ ศิลปินเซรามิก ผู้ก่อตั้ง ชมรมหรี่เสียงกรุงเทพฯ เสียงเหล่านี้กลับสร้างความทุกข์ทรมานให้เธอเป็นอย่างมาก
เรามาค้นหาคำตอบเรื่องนี้พร้อมๆ กันค่ะเสียงดังใช่ว่าจะเสียงดี
มลพิษจากเสียงรอบตัวเราอาจเป็นเรื่องใกล้ๆ ตัวที่หลายคนมักมองข้ามรวมถึงคุณปานชลี
“เมื่อหลายปีก่อน บ้านใกล้ๆ พากันซ่อมแซมต่อเติมบ้าน เสียงตัดเหล็ก เจาะพื้นและผนังรอบด้าน เป็นเสียงที่ได้ยินแล้วทั้งปวดหูและปวดหัวมาก แม้จะปิดหน้าต่างและเปิดเครื่องปรับอากาศ เสียงก็ยังดังมาก
“พอดีเป็นช่วงที่ต้องเร่งทำงานปั้นเพื่อจัดนิทรรศการ จึงหนีไปไหนไม่ได้เพราะต้องทำงานอยู่ที่บ้านทั้งวัน แถมเสียงเจาะพื้นผนังเป็นเสียงสั่นสะเทือนที่เดินทางเข้าสมองมาโดยผ่านกะโหลกศีรษะ ไม่มีเทคโนโลยีอะไรที่ป้องกันได้
“อยู่มาคืนหนึ่งก็มีอาการหูดับ คือไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย เหมือนตกลงไปในหลุมดำ ดิ่งลงไปในเหว อยู่ในถ้ำมืดที่ไม่มีอากาศหายใจ และรู้สึกหายใจไม่ออก คล้ายกับคนใกล้ตาย เป็นภาวะที่น่ากลัวและทรมานมาก
เสียงร้ายทำลายสุขภาพ
ป้องกันไว้ก่อนหูเสื่อม
เราจะป้องกันตัวเองอย่างไรให้ปลอดภัยจากอันตรายของเสียงดัง และไม่เป็นผู้สร้างมลพิษทางเสียง เริ่มต้นง่ายๆ ดังนี้
1.รู้จักความพอดีและมีกาลเทศะเช่น ไม่ฟังเพลงหรือเปิดโทรทัศน์ดังเกินไป ไม่พูดโทรศัพท์หรือส่งเสียงดังรบกวนความสงบของผู้อื่น ทั้งในบ้านและที่สาธารณะ
2.หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีเสียงดังหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรออกจากสถานที่แห่งนั้นให้เร็วที่สุด
3.ใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงดังทุกครั้งที่ต้องอยู่ในที่ที่มีเสียงดัง เช่น ที่ครอบหู (Ear Muffs) ลดระดับความดังได้ 20 – 40 เดซิเบลเอ และปลั๊กอุดหู (Ear Plugs) ลดระดับความดังได้ 10 – 20 เดซิเบลเอ
4.ใช้หูฟังแบบครอบหูแทนหูฟังแบบเสียบในหู
5.สังเกตเสียงต่างๆ รอบตัว หากไม่สามารถพูดคุยด้วยระดับเสียงปกติในระยะห่าง 1 ช่วงแขน แสดงว่าเสียงที่นั่นดังเกินไป
6.ตรวจความสามารถการได้ยินเป็นประจำทุกปี สำหรับผู้ที่ต้องทำงานในสถานที่ที่มีเสียงดัง
7.ช่วยกันดูแลสถานที่ทำงานและสถานที่สาธารณะ ให้ควบคุมเสียงไม่ให้ดังเกินมาตรฐาน
8.ร้องเรียนเหตุเสียงดังกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร หรือกรมควบคุมมลพิษ
สุดท้าย สิ่งที่คุณปานชลีฝากไว้ก็คือ“เสียงดังทำให้คนมีจิตใจหยาบกระด้างขาดรสนิยมที่ดีงาม ขาดมารยาท ไม่เคารพสิทธิ์ของคนอื่น ทำให้สังคมขาดความสงบสุข และทำให้ประเทศย่อยยับได้ ซึ่งอาจยังมองกันไม่เห็น พอถึงเวลานั้นแล้วไม่มีใครฟังใคร ก็จะกลายเป็นสังคมที่ไม่รักกันค่ะ”
หยุดสร้างมลพิษทางเสียงกันเถอะค่ะเพื่อสุขภาพหูและคุณภาพชีวิตที่ดีของคนทุกคนในสังคม
เมืองไทยเสียงดังแค่ไหน
แม้ในยุโรปซึ่งเป็นประเทศที่เงียบสงบ?ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีกฎหมายลงโทษผู้ส่งเสียงดังอย่างเข้มงวดมลพิษทางเสียงก็ยังเป็นสิ่งที่ชาวยุโรปให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง
ขณะที่ในประเทศไทยพบว่าตามสถานที่ต่างๆ เช่น สี่แยกไฟแดง ป้ายรถเมล์ โรงภาพยนตร์ ศูนย์การค้าร้านอาหาร สวนสนุก ส่งเสียงดังเท่าใดก็ได้โดยไม่มีการควบคุม
สวนสาธารณะทุกแห่งในกรุงเทพฯ กระจายเสียงเกินกว่า 70 เดซิเบลเอ ทั้งที่มาตรฐานควรจะมีเสียงรบกวนไม่เกิน 50 เดซิเบลเอ และถนนสายหลักในเมืองซึ่งไม่ควรมีเสียงดังเกิน 70 เดซิเบลเอก็มีเสียงดังเกิน 85 เดซิเบลเอทั้งสิ้น
เสียงตัวร้ายควรระวัง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสุวัจนา อธิภาส อาจารย์ประจำภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อธิบายถึงลักษณะเสียงที่เป็นภัยต่อสุขภาพว่า?
“นอกจากระดับ ความดังของเสียง ซึ่งเสียงยิ่งดังมากความเสี่ยงต่อการหูตึงยิ่งมีมากขึ้นแล้ว ลักษณะของเสียง อย่างเสียงกระแทก เช่น เสียงสว่านเจาะพื้นจะทำลายเซลล์ประสาทรับเสียงมากกว่าเสียงดังต่อเนื่องรวมถึง ความถี่ของเสียง อย่างเสียงความถี่สูงหรือเสียงแหลมของเครื่องสว่าน ยังจะทำลายเซลล์ประสาทรับเสียงได้มากกว่าเสียงความถี่ต่ำหรือเสียงทุ้ม”
นอกจากนี้คุณหมอยังย้ำว่า “ระยะเวลาการได้ยินเสียง ที่ต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนาน อย่างที่คุณปานชลีได้ยินเสียงซ่อมแซมบ้านต่อเนื่องกันเป็นเวลานานเกือบสองปี ย่อมมีความเสี่ยงของการได้ยินเสื่อมเพิ่มขึ้น”
เมื่อร่างกายมีอาการผิดปกติมากขึ้นมีอาการทนเสียงดังๆ แทบไม่ได้ แม้แต่เสียงปิดเปิดประตูดังๆ หรือเสียงสุนัขเห่าก็รบกวนเธอมาก เธอจึงไปพบคุณหมอซึ่งตรวจพบว่าเธอป่วยด้วย “โรคประสาทหูเสื่อมและมีเสียงกริ่งในหู” หรือ “หูอึง”
คุณหมออธิบายกับเธอว่า หูอึง เป็นอาการได้ยินเสียงรบกวนในหูผิดปกติซึ่งมีอาการแตกต่างกันกว่าสองพันชนิดเช่น เสียงจิ้งหรีด เสียงจักจั่น เสียงระฆัง เสียงลม กระทั่งดังมากเหมือนเสียงกลอง เป็นต้น เสียงดังในหูอาจเป็นตลอดเวลา ซึ่งสร้างความรำคาญและรบกวนอย่างมาก จนผู้ป่วยบางรายนอน
ไม่หลับหรือป่วยเป็นโรคประสาทได้เช่นเดียวกับอาการที่เกิดขึ้นกับเธอ
นอกจากนี้ คุณหมอเสริมต่อว่าเสียงที่ดังมากเกินไปยัง ส่งผลกระทบต่อระบบการได้ยินอื่นๆ ได้แก่ หูตึงหมายถึงการได้ยินไม่ชัดหรือสมรรถภาพการได้ยินลดลง จนถึงขั้นสูญเสียการได้ยิน เราอาจแบ่งระดับความรุนแรงของการสูญเสียการได้ยินเป็นหูตึงน้อยหูตึงปานกลาง หูตึงมาก หูตึงรุนแรงและหูหนวก โดยใช้หน่วยวัดมาตรฐานที่เรียกว่า เดซิเบล เป็นตัวกำหนด
คนปกติจะมีระดับการได้ยินไม่เกิน 25 เดซิเบล ผู้ที่มีปัญหาหูตึงจะมีค่าระดับเสียงที่เริ่มได้ยินเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ และคนหูหนวกจะมีระดับการได้ยินที่มากกว่า 90 เดซิเบล
เวียนหัว เกิดจากความผิดปกติของระบบการทรงตัว ซึ่งเป็นการทำงานของหูชั้นในร่วมกับการทำงานของระบบประสาทและสมอง ถ้าหากได้ยินเสียงดังมากๆ ก็อาจกระทบกระเทือนอวัยวะควบคุมการทรงตัวในหูชั้นใน ทำให้เราเวียนหัวทรงตัวไม่อยู่ บ้านหมุน หรือคลื่นไส้ได้ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นกับคุณปานชลี
คุณปานชลีเล่าถึงฝันร้ายของเธอต่อว่า “นอกจากจะเดินไม่ตรงทาง กะระยะไม่ถูกจนเดินชนโต๊ะเก้าอี้ทั้งวันแล้วยังทนเสียงทุ้มของกลองและเบสไม่ได้เลย เพราะรู้สึกว่ามีแรงกระแทกที่หน้าอก ทำให้เจ็บหัวใจจนน้ำตาร่วง ต้องเที่ยวขอให้คนที่เปิดเพลงเผื่อแผ่ให้คนอื่นช่วยหรี่เสียงลงเสมอ ที่สำคัญ ไม่สามารถเข้าโรงหนังและร้านอาหารที่เปิดเพลงดัง จนต้องงดเดินศูนย์การค้าและต้องใช้ปลั๊กอุดหูหรือเอียร์ปลั๊กตลอดเวลาที่อยู่นอกบ้าน”
คุณปานชลีเคยมีประสบการณ์เลวร้ายจากอาการนอนไม่ได้ติดกันหลายคืนเพราะฟังเสียงดนตรีกระหึ่มจากเทศกาลเฉลิมฉลองใกล้บ้าน?จนมีอาการคลุ้มคลั่งและต้องเข้าบำบัดรักษาโรคประสาทอย่างต่อเนื่องมานานกว่า 3 ปีแล้วและยังต้องกินยาปรับสารสื่อสมองไตลอดชีวิต
เหมือนเช่นที่คุณหมออธิบายกับเธอในวันนั้นว่า “อันตรายของเสียงยัง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั่วไปและจิตใจ ได้แก่ทำให้มีอาการปวดศีรษะ หงุดหงิด ไม่สบายใจ เกิดความเครียด และอาจเป็นโรคประสาทได้” อาการทางประสาทที่เธอเคยเป็นคือบุคลิกภาพเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เธอบอกว่า “จากคนที่มีความสุขมากกลายเป็นมีอาการซึมเศร้า หวาดกลัวเสียงดังสมองเหมือนหัวผักกาด มีอาการเหมือนเด็กเล็กๆ ที่ช่วยตัวเองไม่ได้แม้แต่การกินอาหารและติดกระดุมเสื้อผ้า ไม่สามารถเขียนหนังสือได้จบประโยคสูญเสียทักษะในการสื่อสาร ฟังอะไรไม่เข้าใจ และสูญเสียความทรงจำระยะหนึ่ง
“เป็นอาการที่จิตแพทย์อธิบายว่าสารสื่อประสาทลัดวงจรจากความเครียดและกว่าจะพบจิตแพทย์ที่มีความเข้าใจโรค รวมถึงใช้ยาที่เหมาะกับอาการ ก็ต้องทุกข์ทรมานอยู่นานหลายเดือน”
นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ยังมีผลต่อระบบต่างๆ ในร่างกายเช่น โรคกระเพาะอาหาร ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจบางชนิด?และทำให้ชีพจรเต้นเร็ว
อีกทั้ง ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เสียงที่ดังมากๆ จะรบกวนการทำงานและทำให้เสียสมาธิ เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้ และยังลดประสิทธิภาพการทำงานอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม เราคงไม่ต้องรอให้เกิดฝันร้ายเช่นเดียวกับคุณปานชลีขึ้นกับใครอีกต่อไป เพราะผลกระทบจากพิษภัยเสียงดังที่กล่าวมาข้างต้นถือเป็นเรื่องที่เราสามารถป้องกันได้
แต่จะมีส่วนร่วมอย่างไรได้บ้างนั้นเรามาดูกันค่ะ
“สักพักก็มีเสียงดังวิ้งๆ ในหู ทีแรกเหมือนจิ้งหรีดร้องในหูตลอดเวลา เป็นกลางดึกจึงไม่ได้ไปหาหมอทันที คิดว่าจะใช้วิธีนั่งสมาธิเยียวยาตัวเอง ตอนนั้นยังไม่มีความรู้เรื่องหูอึง ว่าถ้าเกิดอาการเช่นนี้ต้องรีบไปหาหมอทันทีภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง
“ยิ่งตอนเข้านอน เสียงรบกวนในหูก็จะดังมากขึ้น ถึงแม้จะง่วงนอนมากแต่นอนไม่ได้ ทั้งๆ ที่เคยเป็นคนหลับง่ายเสียงในหูดังขึ้นทุกวัน และกลายเป็นเสียงจักจั่นมาเป็นกองทัพ บางวันก็เหมือนเสียงกลอง นอนไม่หลับอยู่สองอาทิตย์” คุณปานชลีสาธยายสารพัดอาการที่เกิดขึ้นให้ฟัง
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก https://goodlifeupdate.com/healthy-body/health-education/63659.html ด้วยค่ะ

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *