ซาวด์สเคป หรือ ทัศนียภาพทางเสียง หมายถึงการสร้างการรับรู้ ความรู้สึกของสถานที่หรือสภาพแวดล้อมผ่านเสียงต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในพื้นที่นั้น อันที่จริงมันคือเรื่องที่กว้างมากๆ ซึ่งรวมไปถึงเสียงใต้น้ำที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิต เสียงในบรรยากาศ ซึ่งอาจประกอบไปด้วยเสียงของธรรมชาติ เช่น เสียงฝนตก นกร้อง ลมพัด หรือเสียงที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ เช่น เสียงการจรจร เสียงจากการก่อสร้าง เสียงมหรสพ เสียงดนตรี Pop ในย่าน community และเสียงดนตรีรถแห่ในพื้นที่ต่างจังหวัด
การสร้าง SoundScape นั้นสามารถออกแบบได้ตั้งแต่การเริ่มต้นสร้างผังเมือง ใช้เพื่อสร้างความรู้สึกในเชิงศิลปะ การท่องเที่ยว การพักผ่อน หรือแม้แต่ใช้เพื่อการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ด้วยการใช้เสียงเป็นเครื่องมือในการรักษาโรคหรือลดความเครียดและความเจ็บป่วยในผู้ป่วย นอกจากนั้นการศึกษาเรื่อง Soundscape อาจจะให้ความสนใจในการวิเคราะห์ว่าเสียงที่มีอยู่ในสถานที่ที่มีผลกระทบต่อความรู้สึก อารมณ์ และพฤติกรรมของบุคคลในสถานที่นั้นๆ และวิเคราะห์ว่าเสียงเหล่านั้นมีความสำคัญอย่างไรต่อสภาพแวดล้อมและชุมชนที่เกี่ยวข้อง ในการวิเคราะห์อาจเน้นไปที่การสร้างความเข้าใจในหลักการพื้นฐานของเสียงการรับรู้การได้ยินที่ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมของสังคมที่มีอยู่ การวิเคราะห์เสียงจะต้องใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ตรวจวัดและอาจจะต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการเก็บตัวอย่าง
ยกตัวอย่าง เมื่อเราให้คนที่ใช้ชีวิตในเมืองที่มีความจอแจมาทั้งชีวิตไปอาศัยอยู่ในชุมชนแถบชนบท เขาจะเกิดอาการที่รู้สึกว่าผิดแปลกไปจากเดิม เช่นเสียงไก่ขันในตอนเช้า เสียงรถกับข้าวในตอนสายๆ และเสียงตามสายจากประกาศผู้ใหญ่บ้าน หรือในทางกลับกันใหัคนที่ใช้ชีวิตในชนบทไปอาศัยในย่านชุมชนเมือง เค้าก็จะได้รับความรู้สึกผิดแปลกไปเช่นกัน
การศึกษาเรื่อง Soundscape นั้นหากว่าเราได้มีการเก็บข้อมูลที่มากพอ เราจะสามารถเห็นได้ถึง Time line การเปลี่ยนแปลงของเสียง หรือกิจกรรมของเสียงที่เกิดในแต่ละเดือนที่มีเหตุการณ์ซ้ำๆ กัน ดังภาพตัวอย่าง
หรือถ้าหากเป็นชุมชนเมืองที่มีความจอแจ ก็จะเกิดเหตุการณ์ของเสียงในรูปแบบที่ซ้ำๆกันในแต่ละวันเช่นเสียงที่เริ่มดังในตอนเช้าเมื่อมีการสัญจรโดยยานพาหนะ และเสียงจะเริ่มสงบลงหลังจากช่วงเวลาในยามวิกาลเมื่อผู้คนกลับถึงบ้านพักผ่อน
ในการศึกษา SoundScape มักจะนำเสนอให้ผู้ศึกษาสำรวจและบันทึกเสียงที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมือการบันทึกเสียง เช่น ไมโครโฟนหรือเครื่องบันทึกเสียง เพื่อทำความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของ SoundScape ตลอดเวลา และความสัมพันธ์ระหว่างเสียงกับสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมมนุษย์
การศึกษา SoundScape มีการนำไปใช้ในหลายด้าน เช่น การวางแผนการพัฒนาที่เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน การสร้างพื้นที่สาธารณะที่มีคุณภาพชีวิต และการพัฒนานโยบายที่เกี่ยวกับการควบคุมเสียงในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการใช้ชีวิตของคนในสังคมและนิสัยการใช้ชีวิตของผู้คนตามพื้นที่ต่างๆ
แต่ในบ้านเราต้องยอมรับว่ายังมีการศึกษาในเรื่องของ SoundScape อยู่น้อยมากๆ อาจจะตั้งแต่รากฐานการออกแบบผังเมือง ซึ่งปัญหาที่ตามมาก็คือมลภาวะทางเสียงรบกวน และการร้องเรียนที่ไม่รู้จักจบสิ้น และในปัจจุบันนี้การจะมีโครการใหม่ๆผุดขึ้นมาในเมือง หรือในชนบท ถ้าทางเจ้าของโครงการหรือนักพัฒนาโครงการเห็นความสำคัญและใส่ใจในเรื่องมลภาวะทางเสียงก็จะมีการศึกษาผลกระทบทางเสียงก่อนการดำเนินการสร้างโครงการ (ไม่รวมถึงโครงการที่ต้องทำ EHIA ซึ่งทางกฎหมายบังคับให้ทำอยู่แล้ว) อาจจะเป็นการ Prediction โดยใช้สมการทางคณิตศาสตร์ทางเสียง SoundPLAN ในการคำนวณ Sound propagation เพื่อหาวิธีการป้องกันก่อนก่อนการร้องเรียน
ในแบบที่แย่ที่สุดในการจัดการมลภาวะทางเสียงคือการแก้ปัญหาเรื่องเสียงดังเมื่อเหตุเกิดไปแล้วซึ่งในความเลวร้ายสุดๆก็คือ งานแก้ปัญหานั้นตามมาด้วยค่าใช้จ่ายที่มากมาย ตั้งแต่การจ้างผู้เชี่ยวชาญวิเคาะห์ ตรวจวัด หาโซลูชั่นที่เหมาะสม จนถึงการดำเนินการแก้ไขหากต้องมีการปรับปรุง หรือก่อสร้างใดๆ เพิ่มเติม
ถ้าเราศึกษาเรื่อง Soundscape ได้อย่างลึกซึ้งเราจะสามารถออกแบบเมืองที่ลดมลพิษทางเสียงและสร้างความสุขลดเรื่องร้องเรียนเรื่องเสียงรบกวนได้อีกด้วย