การควบคุมเสียงจากอาคารที่ใช้แสดงดนตรีเต้นรำ รำวงรองเง็ง ดิสโก้เทค คาราโอเกะ หรือการแสดงอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบกิจการ ต้องให้ความสำคัญ ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบด้านระดับเสียงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้พักอาศัยในอาคารข้างเคียง และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการรับฟังเสียงให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในอาคารนั้น
การควบคุมเสียงจากอาคารที่ใช้แสดงดนตรี
1.การลดระดับเสียง ทำได้หลายวิธี ทั้งนี้ ต้องพิจารณาจากแหล่งกำเนิดเสียงว่าอยู่ภายในหรือภายนอกอาคาร ดังนี้
1.1.การลดเสียงจากภายในอาคาร
• การลดเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงโดยตรง สามารถใช้แผงกั้นระหว่างต้นกำเนิดเสียงกับผู้ฟัง เช่น ห้องที่มีผนังหนาทึบส่วนเสียงสะท้อนสามารถลดโดยการใช้วัสดุดูดซับเสียงที่ผนังโดยเฉพาะด้านที่ทำให้เกิดเสียงสะท้อนมาก
• การลดเสียงที่มาตกกระทบ โดยใช้วัสดุดูดซับเสียงและวัสดุป้องกันเสียง เช่น การใช้แผ่นฉนวนใยแก้วบุเสริมตรงผนังด้านที่เป็นทางต้นกำเนิดเสียง
• การวางผังอาคาร โดยการแยกบริเวณที่มีเสียงดังออกจากบริเวณที่ต้องการความเงียบหรือกั้นพื้นที่สองส่วนนี้ด้วยห้องอื่น ๆ
1.2.การลดเสียงจากภายนอกอาคาร
• ควบคุมด้วยระยะทาง ทุกระยะห่างจากต้นกำเนิดเสียงความดังของเสียงจะลดลง เช่น หากที่ดินเราอยู่ติดถนนอาจจะวางตำแหน่งของบ้านให้ไกลออกจากถนนให้มากที่สุด
• หลีกเลี่ยงบริเวณที่เสียงกระทบโดยตรง เช่น การทำแผ่นหรือผนังกันเสียง ที่จะช่วยกั้นเสียงและลดความเข้มของเสียงโดยตรงก่อนที่จะถึงตัวอาคาร
• วางผังอาคาร โดยให้พื้นที่ใช้สอยส่วนที่ไม่ต้องการความเงียบมากเป็นตัวป้องกันเสียง หรือกำหนดตำแหน่งช่องเปิดของอาคารหลีกเลี่ยงแนวทางของเสียง
• เลือกใช้วัสดุกันเสียงให้กับกรอบอาคาร เช่น การบุฉนวนใยแก้วให้กับผนังกรอบอาคาร เลือกใช้กระจกสองชั้น หรือใส่ฉนวนกันเสียงให้กับส่วนหลังคาอาคาร
2.การเลือกวัสดุโครงสร้างอาคารและวัสดุดูดซับเสียงวัสดุโครงสร้างอาคาร หรือวัสดุที่เป็นองค์ประกอบของอาคารมีคุณสมบัติในการลดระดับเสียงได้ โดยมีหลักการคือ วัสดุนั้นจะทำการดูดซับพลังงานเสียงเอาไว้ แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์โดยการหักเหหรือการกระจายภายใน ทั้งนี้ วัสดุแต่ละชนิดจะมีความสามารถในการลดระดับเสียงไม่เท่ากัน ดังนั้น
Federal Highway Administration (FHWA) ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงได้ทำการศึกษา โดยความสามารถลดระดับเสียงที่ทะลุผ่านของวัสดุต่างๆ เช่น คอนกรีตบล๊อก ขนาด 200x200x405 มิลลิเมตร ชนิดน้ำหนักเบา หนา 200 มิลลิเมตร มีความสามารถลดระดับเสียงที่ทะลุผ่านได้ 34 เดซิเบลเอ เป็นต้น วัสดุดูดซับเสียง สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรับฟังเสียงให้แก่ผู้อยู่ในอาคารที่มีการแสดงดนตรีได้นอกเหนือจากการลดผลกระทบด้านระดับเสียง กล่าวคือ
ช่วยลดเสียงสะท้อน และทำให้เสียงมีการกระจายไป
ในทิศทางที่เหมาะสม วัสดุดูดซับเสียง ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมีหลาย
ลักษณะ สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ
• วัสดุดูดซับเสียงที่โปร่งเบาเป็นฝอย หรือรูพรุน เช่น
ฉนวนเยื่อกระดาษเซลลูโลส ฉนวนใยหิน ฉนวนใยแก้ว ฉนวน
โฟมโพลียูรีเทน เหมาะสำหรับดูดซับเสียงที่มีความถี่สูง
• วัสดุดูดซับเสียงที่มีผิวปรุเป็นรู จะเพิ่มพื้นที่ผิวในการ
รับเสียง เช่น แผ่นดูดซับเสียงยิบซับบอร์ดที่มีรู แผ่นชานอ้อย
แผ่นไม้กอร์ก
• วัสดุดูดซับเสียงที่เป็นเยื่อแผ่น เช่น ผนังที่มีหลายชั้น
กระจกสองชั้น หรือการติดผ้าม่านให้กับผนังหรือช่องเปิด
เหมาะสำหรับดูดซับเสียงที่มีความถี่ต่ำ
• วัสดุดูดซับเสียงที่มีพื้นผิวมาก จะช่วยลดเสียงสะท้อน
เช่น ผนังที่มีการออกแบบ เป็นช่องๆ รูปแบบต่างๆ
————————————————————————————
————————————————————————————
ขอขอบคุณสาระดีๆจาก http://www.pcd.go.th/public/Publications/print_journal.cfm… ด้วยค่ะ
————————————————————————————
————————————————————————————
สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราได้ที่
http://www.geonoise.co.th/
https://www.geonoise.com/
สามารถติดต่อเราได้ที่
Tel Office : 02-003-5904,02-1214399
Line : @geonoise
————————————————————————————
————————————————————————————
#Geonoise #GeonoiseThailand #Norsonic #Impedancetube #ตรวจวัดเสียง #เสียงรบกวน #เครื่องวัดเสียง #จำหน่ายเครื่องวัดเสียง #รับปรึกษาปัญหาเรื่องเสียง #ควบคุมเสียง #SoundSource #BuildingAcoustics#เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือน
#โปรแกรมเสียง #บริการสอบเทียบ #Calibration #NoiseAlarm#SoundPLAN #NoiseAtWork #Noisecontour #มลพิษทางเสียง#Acoustic #เครื่องวัดฝุ่น #Dustmate #หาแหล่งกำเนิดเสียง #วิเคราะห์เสียง #Measurement #Microphone #NoiseTraining #เครื่องแกะสลักแผงวงจร